เรื่อง: ค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ : ปัญหา และทิศทางในอนาคต, (วปอ.9977)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำ, (วปอ.9977)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมด า หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์๑. เพื่อศึกษาสภาพปัญหา/อุปสรรคในการบังคับใช้ประกาศ
บังคับใช้อัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ ๒.เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวก/ลบ ที่มีต่อนายจ้าง/
ลูกจ้าง หลังประกาศบังคับใช้อัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ และ ๓. เพื่อจัดท าข้อเสนอเชิงนโยบาย
เกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมให้ลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ โดยใช้รูปแบบการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ศึกษาจากเอกสารและภาคสนามผ่านการสัมภาษณ์ประชากร
กลุ่มเป้าหมายในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ เจ้าหน้าที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมจังหวัด หอการค้า
จังหวัดและสภาอุตสาหกรรรมท่องเที่ยวจังหวัด จากนั้นน าผลสรุปที่ได้มาจัดประชุมกลุ่มย่อย (Focus
group) เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้แทนคณะอนุกรรมการก าหนดอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. ปัญหา/อุปสรรคการบังคับใช้ประกาศอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ :
เกิดจากนายจ้างไม่สนับสนุนให้ลูกจ้างทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน มาตรฐานฝีมือแรงงานแตกต่าง
กับการปฏิบัติงานจริง การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การอบรม และการทดสอบฯ ยังไม่ทั่วถึง
พนักงานตรวจแรงงานไม่มีข้อมูลสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างผ่านการทดสอบฯ หรือข้อมูล
ไม่ถูกต้องและเปลี่ยนแปลงบ่อย นายจ้างไม่ให้ข้อเท็จจริงว่ามีลูกจ้างผ่านการทดสอบฯ ลูกจ้างบางส่วน
ไม่น าใบรับรองมายื่นต่อนายจ้าง ไม่กล้าเรียกร้องสิทธิของตนเอง และไม่ทราบข้อกฎหมาย
๒.วิเคราะห์ผลกระทบเชิงบวก/ลบ ที่มีต่อนายจ้าง/ลูกจ้าง หลังประกาศบังคับใช้อัตรา
ค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือ : ผลกระทบเชิงบวก ท าให้นายจ้างได้ลูกจ้างที่มีฝีมือเข้ามาท างาน
ลดการสูญเสียของนายจ้าง ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือ มีความรับผิดชอบ และมีเจตนคติที่ดีต่อการ
ท างานต่อองค์กร มีความมั่นคงด้านรายได้ สามารถดูแลครอบครัวได้ ส่วนผลกระทบเชิงลบ นายจ้าง
ไม่ต้องการจ้างลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบฯ ระดับสูง ๆ โดยมองว่าเป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายและ
ไม่มีความจ าเป็น ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบฯ ไม่แจ้งให้นายจ้างทราบ หรือลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบฯ
แต่มีประสิทธิภาพการท างานไม่ได้มาตรฐานที่นายจ้างต้องการหรือประสงค์ ลูกจ้างไม่กล้าเรียกร้อง
สิทธิที่พึงได้ของตนเอง เพราะเกรงว่าจะได้รับผลกระทบต่อการจ้างงานหากใช้สิทธิเรียกร้อง
และต้องการมีงานท ามากกว่าสิทธิที่ควรจะได้รับ
๓.ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
๓.๑ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานควรจัดท าโครงการขับเคลื่อนระบบมาตรฐานฝีมือ
แรงงานแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ ข
๓.๒ ส านักงานปลัดกระทรวงแรงงาน ควรจัดท าโครงการขับเคลื่อน/ส่งเสริมระบบ
ค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ
๓.๓ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ควรก าหนดแนวทางการตรวจแรงงาน
ในสถานประกอบกิจการเพื่อบังคับใช้อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
สนับสนุนฐานข้อมูลผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ จัดท าระบบติดตามหรือระบบ
ขึ้นทะเบียนผู้ผ่านการทดสอบฯ
๓.๔ ภาครัฐโดยกระทรวงแรงงาน ควรก าหนดนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้
สถานประกอบกิจการที่จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยรับสิทธิประโยชน์อื่น ๆ เช่น สิทธิประโยชน์
ด้านภาษีหรือเงินอุดหนุนแก่สถานประกอบกิจการที่จ่ายค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือแรงงาน รวมถึง
การมอบรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านการบริหารและการจ่ายค่าจ้างค
abstract:
Title Guidelines for Supporting Employees to Earn Fair Wages According
to Skill Standards
Field Social - Psychology
Name Act. Sub Lt. Somsak Promdum Course NDC Class 65
The objectives of this research are (1) to study conditions/obstacles in
enforcing the wage rate enforcement notice according to skill standards, (2) to
analyze the positive/negative impacts on employers/employees after the
announcement of the enforcement of wage rates according to skill standards, and
(3) to provide policy recommendations regarding guidelines for supporting employees
to earn fair wages according to their skill standards. By using the Qualitative Research
model, this study collected data through document analysis and interviews. In terms
of conducting interview, the target population in this research consists of several
groups from every part of the country, including the Department of Skill
Development officials, the Department of Labor Protection and Welfare Officers, and
representatives of employers and employees who are members of the Federation of
Provincial Industries Provincial Chamber of Commerce and Provincial Tourism
Industry Council. The collected data was then used for conducting a focus group
in order to brainstorm and form opinions among representatives of
the Subcommittee on Wage Rates According to Skill Standards, the Executives and
officials of the Ministry of Labour concerned.
The results of the research showed that:
1. The obstacle to the enforcement of wage rate announcements
according to skill standards is due to employers not encouraging their employees to
test for skill standards. Moreover, the requested skill standards are inconsistent with
the actual practice. The skills standards and training and testing programs are also
under communicated to the public. Labour inspectors might not have information
about the establishment where employees have passed the tests. Not only is that
information incorrect, but it is also changed frequently. It is possible that the
employers might not intend to notify the information of the employee who has
passed the test. On the one hand, employees do not present their certificates to
their employers, while some do not dare to claim their rights — and others do not
have legal knowledge.ง
2. When it comes to analyzing positive/negative impacts on employers/
employees, there are both positive and negative impacts of the announcement of
the enforcement of wage rates according to skill standards. In terms of advantages,
the employers can attract and retain more skilled employees; It leads to reducing
the employer’s costs. Employees also gain several benefits: developing their skills,
taking more responsibility at work, and having a positive attitude towards working for
the organization. They also gain income securities, which is crucial for taking care of
their families. However, the employers are not likely to hire workers who passed high
level because they might see that hiring the high-skilled workers might increase the
employer’ cost burden — and it is not necessary. Employees who passed the test or
the ones whose performance do not meet the standards required by the employers
are not likely to notify the employers. In addition, Employees do not dare to claim
their rights because they are concerned that their employment contracts will be
affected if they exercise their rights. To a certain extent, they would rather maintain
their employment than protect their rights.
3. The policy recommendations include:
3.1 The Department of Skill Development should establish a strategic
project to drive the national skill standards system.
3.2 The Office of the Permanent Secretary, Ministry of Labour should
create a project to drive/promote the wage system according to skill standards.
3.3 The Department of Labor Protection and Welfare should
establish guidelines for labor inspection in workplaces in order to enforce wage rates
according to skill standards. Meanwhile, the Department of Skill Development should
give support by creating the database of the employees, who passed the test, as
well as the tracking and registration system for test takers.
3.4 The Ministry of Labour, the government sector, should initiate
policies to promote and support establishments that pay wages according to skill
standards by providing the benefits such as tax benefits, subsidies to establishments
that pay wages according to skill standards, — and awarding the outstanding
establishments in administration and the payment of wages.จ