Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดการพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย, (วปอ.9972)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายสมประสงค์ ปัญจะลักษณ์, (วปอ.9972)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การจัดการพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกัน จากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายสมประสงค์ ปัจจะลักษณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็นประเด็นสำคัญที่กระทบต่อการ ดำรงชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ สาเหตุหลักของปัญหา คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจาก กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจาก การผลิตพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อน การผลิตของมนุษย์ การตัดไม้ทำลายป่า การคมนาคมขนส่ง และการใช้พลังงานในอาคารบ้านเรือน อาคารพาณิชย์ หรือที่พักอาศัย ซึ่งทางขอบเขตด้านการวิจัยในครั้งนี้จะศึกษาในส่วนการจัด การพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพ ภูมิอากาศ โดยประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคือคนที่เกิด ปี พ.ศ.๒๕o๙ – ๒๕๑๘ กลุ่มคนที่เกิดปี พ.ศ.๒๕๑๙ – ๒๕๓๓ และกลุ่มคนที่เกิดปี พ.ศ.๒๕๓๔ – ๒๕๔๒ ในพื้นที่เป้าหมาย ๕ ภูมิภาคของ ประเทศไทย เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างแต่ละพื้นที่ จากการวิจัยพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยต้อง เผชิญกับวิกฤตหลายประการ อันมีสาเหตุมาจาก ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมทำให้ เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งประเทศไทยรับรู้ถึงผลกระทบดังกล่าวได้จากปัญหาภัยแล้ง อุณหภูมิสูงขึ้น ขาดน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค พืชผลทางการเกษตรเกิดความเสียหาย ดังนั้น การเลือกใช้และพัฒนาแหล่ง พลังงานทดแทนที่มีผลกระทบต่ำต่อสิ่งแวดล้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในประเทศไทย อีกทั้งปัญหา อุปสรรค และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องต่อกับการจัดการพลังงานทดแทนมี ข้อจำกัด ไม่ว่าจะเป็นทางเทคนิคปัญหาการเงิน นโยบายและกฎหมาย ความต้องการสำหรับการ พัฒนาพื้นที่ การเผชิญกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจ การสร้างความตระหนักรู้และเปลี่ยนแปลงทาง วัฒนธรรม ความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีการลงทุน การบริหารจัดการและนโยบาย ฉะนั้น แนวทางการจัดการพลังงานทดแทนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยจึงมีการ ตั้งเป้าหมายเพื่อลดก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานและภาคคมนาคมขนส่ง ซึ่งมีความสอดคล้องกับ แผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีรูปแบบการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่ เฉพาะเจาะจงกับ สถานการณ์ของแต่ละประเทศ รวมทั้งสร้างผลประโยชน์ร่วม (Co-Benefits) ใน ด้านความมั่นคงทางอาหาร จากผลการวิจัยในครั้งนี้ ทางผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกและป้องกันการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ไว้หลายประการเช่น ส่งเสริมและสนับสนุนแหล่งพลังงานทดแทน ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน เพิ่มความมั่นคงในระบบ พลังงาน และส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นส่วนช่วยในการลดก๊าซเรือน กระจกในประเทศไทยได้ข

abstract:

Title Renewable energy management to reduce greenhouse gas emissions and prevent climate change in Thailand Field Science and Technology Name Mr. Somprasong Panjalak Course NDC Class 65 The issue of climate change is a crucial concern that significantly impacts human life and existence. The main cause of this problem is the excessive release of greenhouse gases from various human activities. Major contributors to this problem include the production of electricity and heat, industrial manufacturing, deforestation, transportation, and energy usage in buildings and residences. This research focuses on energy management alternatives to reduce greenhouse gas emissions and mitigate climate change impacts in Thailand. The study targets three generations of people born in specific periods to assess the differences in each region of Thailand. The current situation in Thailand faces various crises due to the increasing levels of greenhouse gases causing global warming. The country is experiencing problems like droughts, rising temperatures, water shortages, and agricultural damage. The research highlights that Thailand must address several obstacles and factors associated with energy management alternatives. These include technical limitations, financial challenges, policy and legal issues, land development requirements, economic constraints, raising awareness, cultural changes, access to technology, investment, management, and policies. Therefore, a comprehensive approach to energy management must be adopted, setting targets to reduce greenhouse gas emissions in the energy and transportation sectors. Overall, promoting and supporting renewable energy sources, energy conservation, and enhancing energy security are vital steps to reduce greenhouse gas emissions and combat climate change in Thailand. This research offers recommendations to address these issues effectively and create co-benefits, such as enhancing food security and sustainable development.ค