เรื่อง: การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ, (วปอ.9966)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายศุภชัย ปทุมนากุล, (วปอ.9966)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เพื่อส่งเสริมความมั่นคงและความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันของ
ประเทศไทย ที่ระบบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมยังเป็น อุตสาหกรรม ๒.๐ ที่พึ่งพาแรงงานเป็นหลัก
ทำให้สูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนค่าแรง
ที่ถูกกว่า เช่น เวียดนาม กัมพูชา เป็นที่ชัดเจนว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยต้องมีการ
เปลี่ยนแปลงจากที่ต้องอาศัยแรงงานเข้มข้นเป็นระบบเศรษฐกิจที่อาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม มากขึ้น ซึ่งหมายถึงต้องมีการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศให้เป็นธุรกิจอุตสาหกรรม
สมัยใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ธุรกิจอุตสาหกรรมบนฐานความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม การดึงดูด
อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep technology industry) จากต่างประเทศเข้ามาลงทุนใน
ประเทศมากขึ้น และหมายรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ (Start-up) ใน
ประเทศไทย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ต้องการกำลังคนที่มีคุณภาพด้าน วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
เพื่อรองรับการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในประเทศ
ในงานวิจัยนี้ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาทรัพยากรบุคคลทักษะสูงของประเทศด้าน
วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ว่าจะต้องมีการกำหนดแนวทางที่ต้องบูรณาการในหลายส่วน
มุ่งเน้นการพัฒนาคนผ่านการศึกษาบน ๒ หลักการที่สำคัญคือ การศึกษาผ่านประสบการณ์จริง
(Experiential learning) และการศึกษาตลอดชีวิต (Lifelong learning) โดยการศึกษาผ่าน
ประสบการณ์ (Experiential Learning) นั้นเป็นการจัดการศึกษาที่ผู้เรียนจะต้องได้รับการเรียนรู้นอก
ห้องเรียน โดยต้องมีโอกาสในการฝึกประสบการณ์ทำงานที่ใช้ความรู้ที่เรียนมาทางทฤษฎีมา
ประยุกต์ใช้ในระหว่างที่เรียน การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) เป็นการพัฒนากำลังคนต้อง
มีการทำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงวัยทำงานและวัยสูงอายุ ที่จะต้องมีการส่งเสริมสนับสนุนให้มี
โอกาสในการพัฒนาตนเอง พัฒนาทักษะให้ก้าวทันกับองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆตลอดเวลา
เพื่อให้สามารถอยู่ในระบบการทำงาน และสร้างศักยภาพการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมในประเทศ
ไทยได้อย่างยั่งยืน แนวทางการพัฒนาบุคลากรที่นำเสนอนั้น ต้องเป็นแบบบูรณาการในรูปแบบ
จตุภาคี (Quadruple helix) ที่ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และภาคชุมชน
นอกจากนี้ ในงานวิจัยนี้ ได้จัดทำข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนและผลักดันแนวทาง
ดังกล่าว โดยแบ่งเป็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ข้อเสนอแนะเชิงดำเนินการ รวมถึงการกำหนด
เป้าหมายในระยะสั้น ทุกๆ ๑ ปี และเป้าหมายที่เป็นผลกระทบต่อประเทศที่ต้องมีการติดตามประเมิน
ในทุกๆ ๓ ปี ข ข
abstract:
Title Human resource development of the country science technology and
innovation to promote stability and competitiveness of the country
Field Social Psychology
Name Prof. Supachai Pathumnakul, Ph.D. Course NDC Class 65
The economic competitiveness of Thailand has been significantly
impacted by technological disruption. This is primarily due to the majority of
production systems in the industrial sector being stuck in the labor-intensive stage of
industry 2.0. As a result, Thailand has suffered a loss of competitiveness compared to
neighboring countries like Vietnam and Cambodia, where labor costs are considerably
lower. It is evident that Thailand must transition its economic system from laborintensive industries to a more knowledge-based economy that thrives on technology
and innovation.
In order to achieve this transformation, Thailand should focus on
developing businesses that are driven by knowledge, technology, and innovation.
Additionally, the country should actively work towards attracting deep technology
industries from abroad to establish a presence in Thailand. Furthermore, supporting
the creation of technology start-ups will be crucial in fostering an ecosystem
conducive to innovation. To effectively respond to and facilitate the growth of these
industries and businesses, Thailand needs to nurture and attract more talented
individuals in the fields of science, technology, and innovation.
This research proposes guidelines for the development of science,
technology, and innovation talents. The focus of this development should be
centered around two principles: experiential learning and lifelong learning.
Experiential learning refers to an educational approach where learners are
given the opportunity to acquire knowledge and gain practical experience outside the
confines of a classroom. It emphasizes the importance of applying learned concepts
in real-world working environments, enabling individuals to enhance their skills
through hands-on practice.
Lifelong learning, on the other hand, is a continuous learning system that
aims to facilitate the acquisition of new knowledge, technology, and skills for all
individuals, particularly those in the workforce and the elderly. By continuously
expanding their knowledge and competencies, individuals can significantly contribute
to the sustained improvement of the country's competitiveness. ค
To effectively implement these guidelines, the research suggests adopting
the Quadruple Helix approach, which involves integrating education institutions,
private sector entities, government agencies, and the community. Collaboration
among these stakeholders is essential for driving the development of science,
technology, and innovation talents.
Additionally, the research provides policy recommendations and
operational strategies to support the implementation of these guidelines. To assess
and monitor the progress of the implementation, a performance index is introduced.
This index consists of two components: the operational index, which should be
assessed annually, and the impact index, which evaluates the effectiveness of the
policies every three years. This evaluation framework enables the measurement of
the outcomes and impact of the implemented policies and initiatives. ง ง