Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางพัฒนาความยั่งยืนของระบบสถาบันการเงิน และความมั่นคงแห่งชาติ ด้านเศรษฐกิจ ด้วยธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน, (วปอ.9959)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวศรียุดา เอกจิตรพันธ์, (วปอ.9959)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง ธรรมาภิบาลจะเสริมสร้างให้เกิดความยั่งยืนได้อย่างไร ภายใต้บริบทของ ธนาคารพาณิชย์ไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นางสาวศรียุดา เอกจิตรพันธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ หลักธรรมาภิบาลองค์กร เข้ามามีบทบาทในภาคเศรษฐกิจ และสถาบันการเงินของ ประเทศไทย ไม่ต่ำกว่าสองทศวรรษ เมื่อวิกฤตการเงิน ปี ๒๕๔๐ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา เศรษฐกิจไทยในเชิงระบบ โดยแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ ๑ (ปี ๒๕๔๗ - ๒๕๕๑) ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหนึ่งในแนวทางปฏิรูประบบสถาบันการเงินไทย ที่ให้ ความสำคัญต่อหลักธรรมาภิบาลของกรรมการในฐานะผู้นำองค์กรที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่าง ยั่งยืน ในปี ๒๕๖๕ ธปท. ออกร่างประกาศเรื่อง “หลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลและการควบคุมภายในของ สถาบันการเงินและกลุ่มธุรกิจทางการเงิน” โดยเน้นการกำกับดูแลเพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดกว่าร้อยละหกสิบของหลักเกณฑ์ดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการกำกับ ดูแลด้วยตนเอง ถึงแม้ว่า หลักการดังกล่าวอาจเหมาะสมในบางสถานการณ์ แต่อาจไม่เหมาะสมกับ บริบทภายใต้โครงสร้างองค์กรในปัจจุบันของธนาคารพาณิชย์ไทย จึงเป็นที่มาของงานวิจัยนี้ ที่ศึกษา บริบทของธนาคารพาณิชย์ไทย วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการนำหลักเกณฑ์ดังกล่าว มาใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยนี้ นอกจากจะทำให้เข้าใจบริบทที่เหมาะสมในการนำหลักธรรมาภิ บาลมาใช้แล้ว ยังเสนอแนวทางพัฒนาความยั่งยืนของระบบสถาบันการเงินด้วยหลักธรรมาภิบาล ซึ่ง เป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ให้สำเร็จได้ยั่งยืนและภาคภูมิข

abstract:

Title How corporate governance contributes to the sustainable banking in the context of Thai commercial banks Field Economics Name Miss Sriyuda Ekjitphant Course NDC Class 65 Corporate governance has played a vital role in the Thai economy for over two decades. In response to the Asian financial crisis that started in 1970, the Bank of Thailand (BOT) issued the Financial Sector Master Plan (2004–2010) to transform Thai financial institutions. The first phase of FSMP focused on the role of the board of directors, mainly accountable for creating firm value. In 2022, the BOT issued a draft of the BOT Notification on Corporate Governance and Internal Controls of Financial Institutions that focuses on the pivotal role of corporate governance in creating sustainable banking through the integration of governance, risk management, and compliance. However, about sixty percent of the BOT’s rules under this draft notification employ a principles-based approach, which may not be suitable for the context of Thai commercial banks. The study examines the suitability of the principles-based rules on corporate governance in the context of Thai commercial banks. Its contributions are two folds. First, it leads to understanding the appropriate context for applying corporate governance rules. Second, it offers a sustainable value framework for Thai financial institutions that supports the achievement of the National Strategy for Building Competitiveness under the Constitution of Thailand.ค