Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การปรับลดข้าราชการทหารของกระทรวงกลาโหม, (วปอ.9956)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการทหาร/Military
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท ศรัณย์ เพชรานนท์, (วปอ.9956)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การปรับลดกำลังพลของกระทรวงกลาโหม ลักษณะวิชา การทหาร ผู้วิจัย พลโท ศรัณย์ เพชรานนท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ กระทรวงกลาโหมได้จัดทำแผนแม่บทการปฏิรูปการบริหารจัดการและการปรับปรุง โครงสร้าง กระทรวงกลาโหม พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๖๙ ซึ่งในแผนแม่บทดังกล่าวได้กำหนดให้มีการปฏิรูป ระบบงานกำลังพล โดยมีเป้าหมายในการลดจำนวนกำลังพลให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับภารกิจ สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร รวมถึงมีการบริหารจัดการ กำลังพลที่มีประสิทธิภาพ เป็นไปตามหลักคุณธรรม ทำให้กำลังพลมีสมรรถนะสูง บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสภาพแวดล้อมด้านกำลังพลของกระทรวงกลาโหม ในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการปรับลดกำลังพลของกระทรวงกลาโหม และแนวทางการปรับลด กำลังพลของกระทรวงกลาโหม ซึ่งผู้เขียนใช้การวิจัยเอกสารและการเก็บข้อมูลจากหน่วยงานด้าน กำลังพลเป็นหลัก ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ ข้อมูล บทความต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ สำหรับการดำเนินการปรับลดกำลังพลของกระทรวงกลาโหมในห้วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับลดกำลังพลในทุกระดับ ตั้งแต่นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตร นายทหารประทวน และพลอาสาสมัคร ซึ่งจะเห็นได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการมุ่งเน้นปรับลดจำนวนกำลังพล โดยตรง อย่างไรก็ตาม หากมีความจำเป็นจะต้องปรับลดกำลังพลในอนาคต ควรจะต้องพิจารณาถึงภัย คุกคามและปัจจัยแวดล้อม เพื่อนำมาสู่การปรับโครงสร้างหน่วยให้เหมาะสมก่อน แล้วจึงพิจารณาถึง อัตรากำลังพลที่จะรองรับต่อภารกิจของแต่ละหน่วยนั้นๆ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องอาศัยความ ร่วมมือจากทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม รวมถึงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ เนื่องจากจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงโครงสร้างการจัดหน่วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกส่วนราชการ ทั้งในด้านกำลังพล ด้านยุทธการ ด้านงบประมาณ ฯลฯ คำสำคัญ : ปรับลด, กำลังพล, กระทรวงกลาโหมข

abstract:

Title The streamlining of military personnel in the Ministry of Defense Academic Subject Military Researcher Lieutenant General Sarun Pecharanond Course National Defence College Class of 65 The Ministry of Defence has initiated a Master Plan of Managerial and Structural Reform, B.E. 2017 – 2026. The plans entail the reformation of personnel management system which aims to streamline the military’s forces to align with the current armed forces’ missions and defense budget. Also, it provides an effective personnel management process with moral principle that prepares its forces with high competency. The purposes of this study are to investigate the current background of personnel in The Ministry of Defence, the problems and obstacles to the downsizing, along with its strategies, of the armed forces in the Ministry of Defence. The data were collected using documentary research and obtaining data from the personnel bureaus. Also, the articles and research concerning the relevant issues were also studied and analyzed in data gathering processes. The reform plan is aimed to compact military forces and up until now, the streamlining of military personnel has already been proceeding, including high-ranking officers-generals, commissioned officers, non-commissioned officers, and volunteer force. However, it should take into account the fact that the plan to reduce number of military forces in the future must conform to the future threats and particular circumstances. The restructuring of forces structure in each unit division is then required to be done properly before preparing military personnel to be able to carry out missions. It is recognized that the plan is time-consuming process as it requires alteration in forces’ structure and collaboration of every unit division. Also, it could affect all military units in the area of personnel affairs, operations, and budgets. Keywords: Streamline, Personnel, The Ministry of Defenceค