เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ แผน ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ 21 อำเภอชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง, (วปอ.9954)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี วีระยุทธ รักศิลป์, (วปอ.9954)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ แผน ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พื้นที่ชายแดน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พล.ต.วีระยุทธ รักศิลป์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยเรื่อง “แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ แผน ตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พื้นที่
ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี”
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อการศึกษาวิเคราะห์บริบทของแผนฯ 2) เพื่อศึกษาปัญหา
อุปสรรค ในการดำเนินการตามแผนฯ 3) เพื่อกำหนดแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของแผนฯ
การวิจัยนี้กำหนดขอบเขต พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในความรับผิดชอบ
ของกองกำลังสุรนารี ครอบคลุมพื้นที่ชายแดน 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์, สุรินทร์, ศรีสะเกษ,
อุบลราชธานีและอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นอำเภอชายแดน 21 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนดินแดง, อำเภอ
ละหานทราย, อำเภอบ้านกรวด, อำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ, อำเภอบัวเชด,
อำเภอภูสิงห์, อำเภอขุนหาญ, อำเภอกันทรลักษณ์, อำเภอน้ำขุ่น, อำเภอน้ำยืน, อำเภอนาจะหลวย,
อำเภอบุณฑริก, อำเภอสิรินธร, อำเภอโขงเจียม, อำเภอศรีเมืองใหม่, อำเภอโพธิ์ไทร, อำเภอนาตาล,
อำเภอเขมราฐ, และอำเภอชานุมาน
เริ่มการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ใช้รูปแบบการ
วิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากการทบทวนวรรณกรรม
เอกสารตำราต่างๆ ข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมมนาเชิงลึก จากเจ้าหน้าที่กองอำนวยการรักษาความ
มั่นคงภายในจังหวัด, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค2 ส่วนแยก 2 และนายอำเภอ
ทั้ง 21 อำเภอชายแดน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) เปรียบเทียบและสังเคราะห์
ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ แล้วนำเสนอข้อมูลแบบรายงานวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)
ผลการวิจัยพบว่า บริบทของแผนตำบล มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนล่างในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารีเป็นแผนฯ ที่มีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนา
อย่างยั่งยืนประชาชนอยู่ดีกินดี ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล อันจะส่งผลถึงระดับประเทศ โดยเฉพาะ
ในพื้นที่ชายแดน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ และเป็นรอยต่อระหว่างประเทศ ปัญหาที่เกิดขึ้น
จึงมีความซับซ้อน และสำคัญต่อการพัฒนาประเทศชาติต่อไป
การบูรณาการร่วมกันของส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต้องมีการประสานสอดคล้อง
ต้องมีการวางแผน ประชุมฯ มีช่องทางการติดต่อ เช่น การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย การจัดทำแผน
แนวทางการพัฒนา การจัดสรรงบประมาณ และบุคลากร ต้องสอดคล้องกัน ทำให้เกิดความคุ้มค่า
และประสิทธิภาพสูงสุด ที่จะดำเนิน การตามแผน ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ชายแดนภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี ให้ไปในแนวทางเดียวกันเป็น
สิ่งสำคัญ ข
รวมถึงการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ของแต่ละพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกัน เพื่อนำไปสู่
การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ไม่ควรนำแผนที่ปฏิบัติจากพื้นที่หนึ่ง
มาใช้แก้ปัญหาอีกพื้นที่หนึ่ง โดยที่ไม่ได้วิเคราะห์สภาพแวดล้อมหรือบริบทของพื้นที่นั้นๆ ก่อน
เพราะสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นแต่ละพื้นที่ก็จะมีความแตกต่างกันออกไป เมื่อวิเคราะห์ปัญหา
ที่เกิดขึ้นได้อย่างถูกต้องก็จะสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด
นอกจากนั้นที่ขาดไม่ได้คือ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ
ภาคเอกชน ภาคประชาชน ในการดำเนินการตามแผน ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ชายแดน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารี ในการมีส่วนร่วมของทุก
ภาคส่วนจะต้องมีทุกขั้นตอนตั้งแต่วางแผนวิเคราะห์สภาพแวดล้อมไปจนถึงขั้นการประเมินผลพร้อมๆ
กันนั้น ต้องมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเท็จจริงให้ทุกภาคส่วนเกิดความเข้าใจเกิดความตระหนักเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกันขอให้เกิดความสามัคคีความร่วมมือในการแก้ปัญหา เพราะทั้งหมดนี้ล้วนเป็น
แนวทางที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับแผน ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในพื้นที่ชายแดนภาคตะวันออก
เฉียงเหนือตอนล่าง ในความรับผิดชอบของกองกำลังสุรนารีสำเร็จตามเป้าประสงค์ต่อไปค
abstract:
Title Guideline for enhancing efficiency of “Stable, Prosperous and Sustainable
Sub-district” Plan in border Areas of Lower Northeastern Region
under the responsibility of Suranaree Task Force
Field Strategy
Name Major general Weerayuth Raksilp Course NDC Class 65
The research titled Guideline for enhancing efficiency of “Stable,
Prosperous and Sustainable Sub-district” Plan in border Areas of Lower Northeastern
Region under the responsibility of Suranaree Task Force had three objectives, which
were 1) to study and analyze the context of the plan, 2) to study problems and
obstacles in the implementation of the plan, 3) to determine guidelines for
increasing the efficiency of the plan
This research studied in Lower Northeast Area, which is in the
responsibility of the Suranaree Task Forces covering border areas in 5 provinces:
Buriram Province, Surin Province, Sisaket Province, Ubon ratchathani Province and
Amnat charoen Province. They contain 21 border districts, including Nondindaeng
District, Lahansai District, Bankruat District, Phanom dongrak District, Kabchoeng
District, Sangkha District, Buachet District, Phusing District, Khunhan District,
Kantharalak District, Namkhun District, Namyuen District, Na chaluai District, Buntharik
District, Sirindhorn District, Khongchiam District, Srimueangmai District, Phosai District,
Natan District, Khemarat District and Chanuman District.
The research had started from December 1, 2022 to June 30, 2023 using
a qualitative research method. Data were gathered from various literature reviews,
primary information from the in-depth seminar from staff of the Provincial Internal
Security Operations Command, Subsection 2 of the second Internal Security
Operations Command Area and the Sheriff of all 21 border districts. This research
used content analysis to compare and synthesize theoretical data, principles, and
present the data in the form of a descriptive research report.
The results showed that the “Stable, Prosperous and Sustainable Subdistrict” Plan in border Areas of Lower Northeastern Region under the responsibility
of Suranaree Task Force, was a plan that aimed to develop sustainably for the wellbeing of people, especially the people in border areas, which are remote areas of
civilization, and they are also border areas between countries with complicated ง
border issues. The better quality of life is important to the development of the
nation.
Government agencies in every sector must be involved to plan meetings,
coordinate, and have channels in communication such as setting target areas, making
plans, developing guidelines, budget and personnel allocation must be consistent for
cost-effectiveness and be the most effective. It is important to ensure the
implementation of the plan in the same direction.
The environment of each specific area must be analyzed to lead to
accurate analysis of actual problems in each area. Plans cannot be taken in one area
used to solve problems in another area without analyzing the environment or
context of that area because the cause of the problems in each area will be
different. When it is analyzed the problem that happened correctly, this will be able
to solve the problem at the root cause.
In addition, it is indispensable. Participation of all sectors, whether
government, private and people's sectors in implementing the “Stable, Prosperous
and Sustainable Sub-district” Plan in border Areas of Lower Northeastern Region
under the responsibility of Suranaree Task Force. In the participation of all sectors,
there must be steps including planning, analyzing the environment to the
assessment stage. At the same time, factual information must be publicized for all
sectors to understand and become aware as one in order to unite in cooperation to
solve problems. Because all of these are Guideline for enhancing efficiency of
“Stable, Prosperous and Sustainable Sub-district” Plan in border Areas of Lower
Northeastern Region under the responsibility of Suranaree Task Force to achieve the
goal.จ