เรื่อง: ยุทธศาสตร์การส่งเสริมธุรกิจการซื้อขายไฟฟ้าแบบ P2P บนระบบสมาร์ทกริด เพื่อความมั่นคงทางพลังงานและความเป็นกลางทางคาร์บอน, (วปอ.9953)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ ดร. วีรกร อ่องสกุล, (วปอ.9953)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริดเพื่อความมั่นคงทาง
พลังงาน
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วัย นายวีรกร อ่องสกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
บทความวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริด เพื่อความมั่นคงทาง
พลังงาน (บทความวิจัยฯ) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อรวบรวมข้อมูล ที่มาและความสำคัญ, เป้าหมายของ
แผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศได้จัดทำไว้ในอดีต อันได้แก่
แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561-2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018
Rev.1), ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา), แผนการปฏิรูปประเทศ
(ฉบับปรับปรุง) (ประกาศ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564), แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่าย
สมาร์ทกริดประเทศไทย (พ.ศ.2558-2579) และแผนการขับเคลื่อนการดำเนินด้านสมาร์ทกริด
ของประเทศไทย ทั้งในระยะสั้น (พ.ศ.2560-2564) และระยะปานกลาง (พ.ศ.2565-2574) ตลอดจน
ศึกษา, วิเคราะห์ และกำหนดรายการปรับปรุงและพัฒนาที่จำเป็นต่อระบบผลิต, ระบบส่ง และระบบ
จำหน่ายไฟฟ้า เพื่อพัฒนาโครงสร้างระบบไฟฟ้าพื้นฐานเดิมของประเทศ ไปสู่โครงสร้างพื้นฐาน
สมาร์ทกริด
ผู้วิจัยใช้การวิจัยลักษณะเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ในการรวบรวม และวิเคราะห์
ข้อมูลจากแผนพัฒนาและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในข้างต้น รวมถึงบทความ และ/หรือ งานวิจัย
ทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัย ร่วมกับการวิจัยลักษณะเชิงพรรณนา (Descriptive
Research) ในการนำเสนอผลการวิจัย โดยผลการวิจัยที่ได้รับคือโครงสร้างของระบบไฟฟ้าเมื่อมีการ
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสมาร์ทกริด ยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระบบได้แก่ ระบบผลิต ระบบส่ง
และระบบจำหน่าย และตั้งอยู่บนพื้นฐานของโครงสร้างแบบ Enhanced Single Buyer (ESB)
เช่นเดียวกับระบบไฟฟ้าในปัจจุบัน หากแต่จะมีความซับซ้อนทั้งด้านการส่งผ่านพลังงาน และด้าน
ระบบสื่อสารมากยิ่งขึ้น รวมถึงพร้อมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมธุรกิจทางไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ ๆ
เช่น Private Load Aggregator, National Energy Trading Platform (NETP) / Energy Trading
Platform (ETP) รวมถึง Third Party Access (TPA) ที่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกระดับแรงดันไฟฟ้า
ของประเทศ รวมถึงยังสามารถรักษาความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ จากการเพิ่มขึ้นของสัดส่วน
พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนตาม PDP2018 Rev.1 โดยการเพิ่มขึ้นของ
สัดส่วนดังกล่าวสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมระหว่าง ปี พ.ศ.2565-2580 เป็น
จำนวน 244 ล้านตันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่
มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
(Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ.2050 และ ค.ศ.2065 ตามลำดับได้อีกด้วยข
abstract:
Title Smart Grid Development for National Energy Security
Field Science and Technology
Name Weerakorn Ongsakul Course NDC Class 65
This research National Smart Grid Development for Energy Security
(Research) is conducted not only to gather information, principles and goals,
regarding all related national strategies and development plans: Power Development
Plan 2018 – 2037 Revision 1 (PDP2018 Rev.1), National Strategy 2018 – 2037, National
Reformation Plan, Thailand’s Short-term (2017 – 2021) & Medium-term (2022 – 2031)
Smart Grid Development Plan, but also to study, analyze in order to purpose
the activities in which are essential to develop national-electrical infrastructure,
consisting of generation, transmission and distribution system from the existing one
to smart grid.
To do so, the researcher applies Qualitative Research to accumulate and
examine any data stated in those national strategies and development plans,
including any related academic papers and researches, which all lead to the results
of this research. Moreover, Descriptive Research is utilized to represent the results
which are that even smart grid is accomplished and established for national-electrical
infrastructure; still, the fundamental system consists of generation, transmission and
distribution based on Enhanced Single Buyer (ESB) structure. However, smart grid
having more complicated energy-transfer and communication system than the
existing one does have is able to bring all stakeholders to participate in newupcoming business models at all voltage level such as Private Load Aggregator,
National Energy Trading Platform (NETP) / Energy Trading Platform (ETP) and Third
Party Access (TPA) for example in which could maintain national energy security,
regardless of how much increasing amount of energy generated by renewables
would be. Additionally, 244 million-tons of carbon dioxide equivalent emitted
between 2022 – 2037 is expected to be abated by the growth of renewable energy
and leads Thailand to be the nation of Carbon Neutrality and Net Zero Emission
within 2050 and 2065 respectively.ค