เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะ เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) อย่างยั่งยืน, (วปอ.9950)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวิทวัต ปัญจมะวัต, (วปอ.9950)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะ
เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)
อย่างยั่งยืน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวิทวัต ปัญจมะวัต หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพและองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพ
นักเรียนอาชีวศึกษา ที่ส่งเสริมการผลิตแรงงานสายอาชีพรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ EEC
อย่างยั่งยืน 2. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและปัจจัยสภาพแวดล้อม
ภายนอกที่มีต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสายอาชีพในโรงเรียนอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ
ภาคตะวันออก (EEC) และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะในโรงเรียน
อาชีวศึกษา เพื่อส่งเสริมการผลิตแรงงานสายอาชีพรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขต EEC อย่างยั่งยืน
โดยผู้วิจัยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารสถาบันอาชีวศึกษาจ านวน 15 คน และผู้ประกอบการและ
โรงงานอุตสาหกรรม 10 คน และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณครูประจ าการในสถานศึกษาอาชีวศึกษา
ใน 3 จังหวัดของเขต EEC โดยใช้แบบสอบถาม จ านวน 358 คน
ผลการศึกษาพบว่า 1. สภาพและองค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวศึกษา
ที่ส่งเสริมการผลิตแรงงานสายอาชีพรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขตพื้นที่ EEC อย่างยั่งยืน ได้แก่
สภาพแวดล้อมภายใน ประกอบด้วย ประกอบด้วย บุคลากร งบประมาณ วัสดุ/อุปกรณ์ และการ
บริหารจัดการ สภาพแวดล้อมภายนอก ประกอบด้วย การเมือง เศรษฐกิจ สังคม/วัฒนธรรม
เทคโนโลยี กฎหมาย และสภาพแวดล้อม องค์ประกอบการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะในเขต
พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ได้แก่ ภาวะผู้น า การเตรียมความพร้อมในการท างานและความ
หลากหลายทางภาษาและการสื่อสาร ส่วนองค์ประกอบด้านการบริหารจัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ประกอบด้วย การ
บริหารเชิงระบบ (IPO) การบริหารจัดการโดยใช้ Business Model Canvas และการประยุกต์ใช้
แนวคิดเชิงระบบของธนาคารโลกในการยกระดับคุณภาพการอาชีวศึกษา 2. ปัจจัยสภาพแวดล้อม
ภายในที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียนสายอาชีพในโรงเรียนอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนา
พิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านวัสดุ/อุปกรณ์ และปัจจัย
ด้านการบริหารจัดการ ในขณะที่ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพนักเรียน
สายอาชีพในโรงเรียนอาชีวศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วย ปัจจัย
ด้านการเมือง ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านกฎหมาย และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม และ
3. แนวทางการพัฒนาศักยภาพนักเรียนอาชีวะในโรงเรียนอาชีวศึกษา เพื่อส่งเสริมการผลิตแรงงาน
สายอาชีพรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจในเขต EEC อย่างยั่งยืน โดยแบ่งบทบาท หน้าที่ของหน่วยงาน
ต่าง ๆ ออกเป็น 3 ส่วน คือ บทบาท รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ส านักงานคณะกรรมการการ
อาชีวศึกษาและสถานศึกษาอาชีวศึกษาข
abstract:
Title The guidelines for driving policy on developing the potential of
vocational students to support sustainable economic development
in the Eastern Economic Corridor (EEC)
Field Economics
Name Mr. Vitwat Panjamawat Course NDC Class 65
The objectives of this research are 1) to study the conditions and
components of developing the potential of vocational education students that
promotes the production of vocational labor to support sustainable economic
development in the EEC area 2) analyze the relationship of internal environmental
factors and external environmental factors towards the development of vocational
student potential in vocational schools in the Eastern Economic Corridor (EEC) and 3)
propose guidelines for developing the potential of vocational students in vocational
schools to promote the production of vocational labor to support sustainable
economic development in the EEC area. The researcher used in-depth interviews
with 15 administrators of vocational education institutions and 10 entrepreneurs and
industrial plants, and using questionnaires to collected quantitative data of 358
teachers in vocational education institutions in 3 provinces in the EEC area.
The results of the study showed that: 1) conditions and components of
potential development of vocational education students that promotes the
production of vocational labor to support sustainable economic development in the
EEC area, including the internal environment, consisting of personnel, budget,
materials/equipment and management. The external environment includes politics,
economics, society/culture, technology, law, and the environment. Components for
developing the potential of vocational students in the EEC include leadership, work
preparation, language and communication diversity. While the organizational
management components related to the development of the potential of vocational
students in the EEC consists of systems management (IPO, Business Model Canvas
and the application of the World Bank's systems concepts to raise Vocational
education quality level. 2) Internal environmental factors that affect the potential
development of vocational students in vocational schools in the EEC include man
factors, material/equipment factors and management factors. Meanwhile, external
environmental factors that affect the potential development of vocational students
in vocational schools in the EEC include political factors, technology factors, legal ค
factors and environmental factors and 3) guidelines for developing the potential of
vocational students in vocational schools to promote the production of vocational
labor to support sustainable economic development in the EEC area by dividing the
roles and responsibilities of various agencies into 3 parts as the role of the
government through the Ministry of Education, Office of the Vocational Education
Commission and Vocational Educational Institutions.ง