เรื่อง: แนวทางการสร้างความสามารถในการแข่งขันของไทยในช่วงหลังโควิดวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19), (วปอ.9944)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล, (วปอ.9944)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการสร้างความสามารถในการแข่งขันของไทยในช่วงหลังวิกฤต
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
“ความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (National Competitiveness)”คือความสามารถ
ในการสร้างและรักษาสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจ ให้เอื้อต่อการเสริมสร้างและพัฒนาความสามารถ
ทางการแข่งขันของภาคธุรกิจทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ และหากประเทศใดมีความสามารถ
ทางการแข่งขันสูง ย่อมเป็นที่น่าสนใจในการเข้ามาลงทุนในประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนจากต่างชาติ
(Foreign Direct Investment: FDI) ดังนั้น การพัฒนาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศให้มี
อันดับสูงขึ้น จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อการรักษาความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศในระยะยาว
งานวิจัยนี้จึงถูกจัดทำขึ้น เพื่อศึกษาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย (ความสามารถฯ)
ตามดัชนี IMD World Competitiveness Ranking ของสถาบันเพื่อการพัฒนาการจัดการ (Institute for
Management Development: IMD) และนำมาวิเคราะห์ข้อจำกัดต่อการพัฒนาขีดความสามารถฯ ในปัจจุบัน
รวมถึงเปรียบเทียบผลการศึกษาขีดความสามารถฯ กับประเทศคู่แข่งขันในภูมิภาค จนนำไปสู่การเสนอแนวทาง
การสร้างความสามารถทางการแข่งขันของไทยในช่วงหลังโควิด-19 โดยกำหนดขอบเขตการศึกษา 3 ด้าน
ได้แก่ ด้านปัจจัยทุนมนุษย์ ด้านประสิทธิภาพของตลาดแรงงาน และด้านการส่งเสริมนวัตกรรม รวบรวม
ข้อมูลจากทั้งเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ นำมาวิเคราะห์ สรุปผลและนำเสนอโดยการพรรณนา
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าไทยยังมีปัญหาอยู่หลายด้าน โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณ
ทั้งด้านการศึกษาและสุขภาพที่ต่ำกว่าหลายประเทศ คุณภาพการศึกษาที่อยู่ในระดับต่ำลงสอดคล้องกับ
ผลิตภาพแรงงานที่พัฒนาได้ช้า จนนำไปสู่การผลิตงานวิจัยคุณภาพและต่อยอดการพัฒนานวัตกรรม
เชิงพาณิชย์ได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้น แนวทางการสร้างขีดความสามารถฯ ภาครัฐควรให้ความสำคัญ
ใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ทบทวนความเพียงพอและปรับปรุงการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งการใช้จ่าย
ด้านการศึกษา สาธารณสุข และการวิจัยและพัฒนา รวมถึงปรับปรุงคุณภาพด้านการศึกษา สุขภาพ
และสิ่งแวดล้อม อันเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาผลิตภาพแรงงานและการพัฒนานวัตกรรม
2) เพิ่มผลิตภาพแรงงาน ผ่านการเพิ่มแรงจูงใจการพัฒนาทักษะแรงงาน และการนำเอาเทคโนโลยี
มาใช้ประโยชน์ และ 3) สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในแต่ละด้าน
ให้มากขึ้นข
abstract:
Title Assessing and Enhancing Thailand's National Competitiveness in the
Post COVID-19 Eras: A Comprehensive Study
Field Economics
Name Warotai Kosolpisitkul Course NDC Class 65
"National Competitiveness" pertains to the capacity to establish and sustain
an economic milieu conducive to enhancing and fostering the competitiveness of the
business sector both at a national and international level. The allure for investment,
notably foreign direct investment (FDI), surges for countries possessing high competitiveness.
Hence, it is imperative to sustain stability, prosperity, and long-term sustainability.
This research was initiated to evaluate Thailand's competitiveness (from IMD
World Competitiveness Ranking Index by the Institute for Management Development) and
to scrutinize the constraints affecting its current competency development. It also
compares these findings with regional competitors, leading to proposed strategies for
bolstering Thailand's competitiveness in the post-Covid-19 era. The research focuses on
three key areas: human capital elements, labor market efficiency, and the encouragement of
innovation. Data was procured from documented sources and expert interviews, subsequently
analyzed, and presented descriptively.
The findings reveal that Thailand continues to grapple with a myriad of
challenges, most notably, underinvestment in education and healthcare compared to
other nations. This has led to subpar educational quality, which subsequently impacts
labor productivity and hinders the generation of quality research and commercial innovation.
Therefore, the public sector needs to prioritize three main issues: 1) Reassess and enhance
budget allocation, including expenditures on education, public health, and research and
development while improving the quality of education, health, and the environment
which are crucial for labor productivity and innovation development. 2 ) Boost labor
productivity via incentivizing skill development and technology utilization, and 3) Cultivate
an environment conducive to fostering more excellent proficiency in each area.ค