Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การแก้ปัญหา ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระยะที่ 2 (พ.ศ.2566-2570), (วปอ.9938)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายรัฐพล นราดิศร, (วปอ.9938)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้านการเจริญเติบโต บนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายรัฐพล นราดิศร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ ๑) เพื่อศึกษาสถานการณ์การเกิดและ การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองระดับชาติและระดับประเทศ ๒) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและปัจจัยในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในจังหวัดเชียงใหม่ และ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการ ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ด้าน การเจริญเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ โดยการศึกษาวิจัย เชิงคุณภาพโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และ ประชาชนที่มีบทบาทและส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน ๑๐ คน รวมถึง การศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารและข้อมูลสารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่น ละอองในพื้นที่โดยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการสั่งการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่าในรูปแบบ การทำงานที่มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ หรือ Single Command เพื่อให้การดำเนินการแก้ไข ปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อสถานการณ์โดยการมุ่งเน้นการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีมาใช้การบริหารบริการจัดการและลดผลกระทบของปัญหา นอกจากนี้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้องพบว่า ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนมีทัศนคติที่สอดคล้องกันที่เห็นว่าการแก้ไขปัญหา ดังกล่าวจะต้องอาศัยความร่วมมือ (Collaboration) เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการขับเคลื่อน ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปีระยะที่ ๒ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความสมดุลกันระหว่างการมุ่งเน้นพัฒนาทางเศรษฐกิจกับ การใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืนในอนาคตข

abstract:

Title Guidelines for resolving forest fires, smog and dust to increase efficiency in driving the 20-yearnational strategy, phase 2, strategy 5thincreasing growth and quality of life that is friendly to the environment Case study in Chiang Mai Field Science and Technology Name Mr. Rattapol Naradisorn Course NDC Class 65 This research study was aimed to 1) study the occurrence and problem solving situations and obstacles, forest fires, smog and dust at national and international, 2) to study and analyze problems and factors in solving forest fire problems. smog and dust to increase efficiency in resolving forest fires, smog, and dust in Chiang Mai, and 3) to propose solutions to forest fires, smog and dust to increase efficiency in driving the 20 – year national strategy, phase 2, strategy 5 th: growth on the quality of life that is friendly to the environment Case study in Chiang Mai A qualitative research study by collecting data from interviews with 10 representatives from government agencies, private sectors, and people who have roles and involvement in solving forest fire, smog, and dust problems in Chiang Mai, including study from secondary data from documents and information. The results of the study found that Chiang Mai Province has taken steps to solve the problems of forest fires, smog, and dust in the area by establishing a command center to solve the problems of smog and forest fires in the form working with unity and efficiency or Single Command in order to solve problems efficiently and in a timely manner by focusing on spatial management and using innovative technology to manage services and reduce the problem impacts. In addition, from collecting data by interviewing target groups, it was found that representatives of government agencies, the private sector, and the public have a consistent attitude that solving such problems will require collaboration to respond to the driving force of the 20-year national strategy, Phase 2 for economic development and sustainable use of environmental natural resources in the future.ค