เรื่อง: แนวทางการใช้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ด้านการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย, (วปอ.9937)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์, (วปอ.9937)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการใช้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์
ด้านการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นายรัชวิชญ์ ปิยะปราโมทย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การค้าระหว่างประเทศเผชิญกับความท้าทายหลายประการ นับแต่สงครามการค้า
การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จนถึงความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศ ส่งผลให้ประเทศต่าง ๆ
เริ่มใช้มาตรการปกป้องทางการค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งหลายมาตรการมีแนวโน้มขัดกับกฎเกณฑ์การค้าระหว่าง
ประเทศขององค์การการค้าโลก (WTO) และส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน
องค์กรอุทธรณ์ภายใต้ WTO ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้นับแต่ปี พ.ศ. 2562 เนื่องจาก สหรัฐฯ มีข้อ
ห่วงกังวลเกี่ยวกับการทำงานขององค์กรอุทธรณ์ที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ WTO และคัดค้านการ
แต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ที่สิ้นสุดวาระ ทำให้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO หยุดชะงักจนถึง
ปัจจุบัน โดยไทยร่วมกับสมาชิก WTO ในการผลักดันการแก้ไขปัญหาการหยุดชะงักการทำงานของ
องค์กรอุทธรณ์ เพื่อฟื้นฟูกลไกระงับข้อพิพาทให้กลับมาทำงานอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการขึ้นภาษีเหล็กและอลูมิเนียมตามมาตรา 232
ของ Trade Expansion Act 1962 และมาตรการปกป้องทางการค้ากับสินค้าเครื่องซักผ้าและ
เซลล์แสงอาทิตย์ของสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา ไทยได้ใช้กลไกระงับข้อพิพาททางการค้าของ WTO เป็น
เครื่องมือหลักในการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของไทย โดยมีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ผ่านกลไกคณะทำงาน อย่างไร
ก็ดี ปัจจุบัน ยังไม่มีการจัดตั้งส่วนงาน/กลุ่มงานที่มีภารกิจหลักด้านการระงับข้อพิพาททางการค้า
ในกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ขณะที่ สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นประเทศหลักที่มี
ส่วนร่วมในกรณีพิพาททางการค้าภายใต้ WTO มีการจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตาม
การปฏิบัติตามพันธกรณีด้านการค้าระหว่างประเทศและการระงับข้อพิพาททางการค้าโดยตรง คือ
หน่วยงานด้านการติดตาม ดำเนินการและบังคับการให้เป็นไปตามพันธกรณีด้านการค้า ซึ่งจะทำงาน
ร่วมกับคณะผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ประจำองค์การการค้าโลก และคณะผู้แทนถาวรประจำองค์การ
การค้าโลกของสหภาพยุโรป ดังนั้น ไทยควรร่วมกับสมาชิก WTO สานต่อการผลักดันการแก้ไขปัญหา
องค์กรอุทธรณ์ เพื่อฟื้นฟูกลไกระงับข้อพิพาทของ WTO ให้กลับมาทำงานอย่างประสิทธิภาพ
ขณะเดียวกัน ควรจัดตั้งกลุ่มงานที่มีภารกิจโดยตรงด้านการระงับข้อพิพาททางการค้าระหว่างประเทศขึ้น
ภายใต้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ประสานงานหลัก เพื่อให้การบริหาร
จัดการกระบวนการระงับข้อพิพาทของไทยใน WTO มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นข
abstract:
Title Utilizing the WTO Dispute Settlement System to protect Thailand's
international trade interest.
Field Politics
Name Mr. Rachavitch Piyapramote Course NDC Class 65
International trade faces many challenges ranging from trade wars, the
covid 19 pandemic, to geopolitical tensions. This has resulted in the increase in the
number of unilateral trade measures applied by various countries. Many trade
measures tend to be WTO inconsistent and create an impediment to international
trade. The World Trade Organization (WTO)'s Appellate Body cannot function due to
the US blocking of the appointment of new Appellate Body members, as the US
views that the Appellate Body has failed to function according to the WTO
agreement. Thailand supports WTO members efforts to resolve the WTO Appellate
Body impasse so that the WTO 's two tier dispute settlement system can once again
function effectively.
Thailand's aluminum and steel exports to the United States has been
affected by additional tariffs imposed under Section 232 of the Trade Expansion.
Washing machines and solar cell panels exports from Thailand to the US have also
faced trade restrictions. In the past, Thailand has relied on the WTO dispute
settlement system to protect its international trade interests from measures
inconsistent with the WTO. The Department of Trade Negotiations, Ministry of
Commerce acts as the lead agency in coordinating with relevant agencies and
stakeholders to handle trade disputes under the WTO through an ad hoc working
group. Unlike the US and EU which have specialized expert units to monitor WTO
compliance and handle trade disputes, the Department of Trade Negotiations lacks a
dedicated expert unit to handle WTO trade disputes. In the case of the US and EU,
these expert units work closely with their WTO missions based in Geneva,
Switzerland to protect their countries' trade interests. Thailand should continue to
work closely with like-minded WTO members to resolve the WTO Appellate Body
impasse and restore its effective functioning as the pillar to the WTO and the
multilateral trading system. Thailand should also establish an expert legal unit at the
Department of Trade Negotiations to specifically handle trade disputes to train
experts in this area and ensure that Thailand's WTO trade disputes are well managed
and thus effectively protecting Thailand's trade interest in the global trade arena.ค