เรื่อง: แนวทางการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงาน, (วปอ.9934)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, รศ.ดร. ร.อ.หญิง ทพญ.หญิง รังสิมา สกุลณะมรรคา, (วปอ.9934)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงาน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย รองศาสตราจารย์ เรือเอกหญิง ทันตแพทย์หญิง รังสิมา สกุลณะมรรคา
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยในครั้งนี้เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากในปัจจุบันและปัญหาในการ
ส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงาน เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริม
ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงาน ทั้งด้านนโยบาย และด้านปฏิบัติโดยการ
สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ รวมจำนวนทั้งสิ้น 15 ท่าน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์– เมษายน 2566
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
สถานการณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากของประชาชนวัยทำงานในปัจจุบันพบว่า
กลุ่มประชาชนวัยทำงานมีปัญหาโรคไม่ติดต่อเพิ่มมากขึ้น เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
หรือเบาหวาน ซึ่งส่งผลต่อการมีปัญหาสุขภาพช่องปากด้วย และทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพส่วนใหญ่
ใช้ไปกับบริการด้านการรักษาพยาบาลมากกว่า ค่าใช้จ่ายสำหรับการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพและ
ถ้าพิจารณาจากค่าสถิติความเจ็บป่วยหรือการเข้าใช้บริการ พบว่าไม่มีความแตกต่างจากผลสำรวจ
ครั้งก่อนๆ มากนัก แนวโน้มสถานการณ์เรื่องความรอบรู้สุขภาพช่องปากในปัจจุบันดีขึ้นเมื่อเทียบกับ
อดีตที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคของสังคมออนไลน์ มีสื่อ โฆษณา social media ต่างๆ ทำให้
เข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ หรือแหล่งข้อมูลได้ง่ายขึ้น ประกอบกับประชาชนวัยทำงานเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่
จะมีความรู้เรื่องทันตสุขภาพดีกว่าคนสูงอายุ และพบว่าประชาชนที่ทำงานในเขตเมืองจะมีความรอบรู้
เรื่องสุขภาพช่องปากมากกว่าส่วนภูมิภาค เนื่องจากสามารถเข้าถึงข้อมูล และบริการทางทันตกรรมได้
มากกว่า ส่วนรูปแบบการสร้างความรอบรู้สุขภาพช่องปาก โดยปกติจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ
การรักษา ส่งเสริม ป้องกัน สอนให้คำแนะนำเมื่อเข้ามารับบริการทางทันตกรรมอยู่แล้ว หรือการมี
หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ออกไปให้บริการประชาชนเป็นครั้งคราวในโอกาสพิเศษต่างๆ เพียงแต่การจะ
เข้าถึงการเข้ารับบริการนั้น อาจจะยังมีจำกัดไม่ทั่วถึง และจะมุ่งเน้นไปที่วัยเด็ก วัยเรียนมากกว่า
วัยทำงาน และยังขาดการเชื่อมโยงระหว่างวัย
ปัญหาความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากประชาชนวัยทำงานแบ่งออกเป็น 2ด้านหลักๆ
คือ ด้านตัวบุคคล และด้านนโยบาย ซึ่งปัญหาด้านตัวบุคคลที่สำคัญ คือ 1) ประชาชนวัยทำงานขาดความรู้
ทักษะ และทัศคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับความรอบรู้สุขภาพช่องปาก ไม่มีเวลาเข้ามารับบริการทางทันตกรรมข
รวมถึงการมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ และการไม่ทราบถึงสิทธิในการรักษาของตนเองด้วย 2) ทันตแพทย์
และบุคลากรทางทันตสุขภาพ ยังขาดตระหนักรู้เรื่องความรอบรู้สุขภาพช่องปาก และมีจำนวนบุคลากร
ทางทันตสุขภาพไม่เพียงพอ ทำให้ไม่มีเวลาในการสร้างเสริมความรอบรู้แก่ประชาชนที่มาใช้บริการได้
อย่างเต็มประสิทธิภาพ ส่วนปัญหาด้านนโยบาย และระบบงานที่สำคัญ คือ 1)การขับเคลื่อนนโยบาย
ลงสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่น นโยบายเรื่องการลดความเหลื่อมล้ำ
ในการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม 2) ปัญหาการเรื่องการรอคิวนาน จำนวนทันตแพทย์ไม่เพียงพอ
ระบบบริการทางทันตกรรมของภาครัฐไม่เอื้อสำหรับคนวัยทำงาน และปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ทำให้
ไม่สามารถให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ครอบคลุมทั่วถึง และเป็นธรรม โดยเฉพาะระหว่างกลุ่ม
ประชาชนต่างเศรษฐสถานะ และต่างสิทธิสวัสดิการ 3) ระบบการสร้างความรอบรู้สุขภาพช่องปาก
ในกลุ่มวัยทำงานยังเป็นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก ขาดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ ทั้งกับหน่วยงานภาครัฐ
เอกชนที่ให้บริการและกับสถานประกอบการต่างๆ รวมถึงการนำเทคโนโลยี สื่อสังคมออนไลน์มาช่วยใน
การสร้างความรอบรู้ให้มีประสิทธิภาพ
แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากประชาชนวัยทำงานแบ่งออกเป็น 2 ด้านหลัก
คือ ด้านนโยบาย และด้านปฏิบัติโดย ด้านนโยบายได้แก่1) กระบวนการจัดทำนโยบายส่งเสริมความรอบรู้
สุขภาพช่องปากวัยทำงานควรมีความชัดเจนเป็นรูปธรรม มีการเชื่อมโยงและบูรณาการตั้งแต่ระดับ
นโยบายจนถึงระดับปฏิบัติ2) การแปลงนโยบายลงสู่การปฏิบัติ ควรมีการศึกษาให้รอบคอบว่านโยบายนั้น
มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือมีความเหมาะสมหรือไม่ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
มีการสื่อสารนโยบายลงสู่การปฏิบัติ และที่สำคัญคือการสนับสนุนงบประมาณ และทรัพยากรต่างๆ
ในการดำเนินงานไว้ด้วย รวมถึงวางระบบกำกับติดตามประเมินผลให้ชัดเจน และ 3) จัดทำนโยบาย
เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม และความเท่าเทียมของประชาชน
วัยทำงาน ส่วนด้านการปฏิบัติได้แก่ 1) พัฒนาประสิทธิภาพระบบการจัดบริการส่งเสริมป้องกันโรค
ในช่องปากเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทางทันตกรรม และให้เกิดความเท่าเทียม 2) ปรับระบบการคิด
ค่าใช้จ่ายในงานบริการทางทันตกรรมให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น 3) สร้างความรอบรู้
สุขภาพช่องปากให้ประชาชนวัยทำงานมีความสามารถดูแลตัวเองได้(Self care) และสามารถเข้าถึง
บริการที่เหมาะสมได้(Access to care) 4) นำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม มาใช้ในการสร้าง
ความรอบรู้สุขภาพช่องปากประชาชนวัยทำงาน
abstract:
ABSTRACT
Title Guidelines on oral health literacy promotion among the working-age
population
Field Social - psychology
Name Associate professor Lieutenant Dr. Rangsima Sakoolnamarka
Course NDC Class 65
This research aims to investigate the current oral health literacy and the challenges in
promoting oral health literacy among the working-age population, in order to propose
strategies to enhance oral health literacy in terms of both policy and practice. In-depth
interviews were conducted with 15 participants from February to April 2023. The research
findings conclude that: The current situation of oral health literacy among the working-age
population reveals an increasing trend in non-communicable diseases, such as high cholesterol,
high blood pressure, obesity, and diabetes. These issues contribute allocated to medical
treatments rather than preventive and health promotion services. By analyzing illness
statistics and healthcare services usage, no significant difference was found compared
to previous surveys. However, there is an improving trend in current oral health literacy
compared to the past. This can be attributed to the digital age, where social media and
various online platforms have made accessing information easier. Additionally, the younger
generation of the working-age population generally possess better oral health knowledge
compared to the elderly. Geographical disparities were also identified, with urban populations
having better access to dental services and information compared to rural areas.
The approach to building oral health literacy typically forms a part of the
treatment, promotion, and prevention process. It involves providing guidance when
individuals seek dental services or when mobile dental units provide public services on
special occasions. However, accessing these services may still have limitations and may
not be universally available, as emphasis is usually placed on children rather than the
working-age population, and there is still a lack of connection between age groups..ง
The challenges in oral health literacy among the working-age population
can be categorized into two main aspects: individual and policy-related challenges.
1) Main individual challenges include lack of knowledge, skills, and the right attitudes
toward oral health literacy, due to time constraints, economic limitations, and lack of
about oral health literacy, and there is an insufficient number of personnel in oral health
This results in a lack of capacity to effectively promote oral health literacy among
dental patients to their fullest potential.
The policy and systemic challenges include:
1.The implementation of policies into practice to achieve effective results is not
yet evident or practical, such as policies regarding reducing disparities in accessing dental services.
2. Problems like long waiting times, insufficient numbers of dentists, inadequate
support from the public dental care system for the working-age population, and financial
concerns are the factors that hinder comprehensive and equitable access to services,
especially among different socioeconomic groups and those with varying entitlements
to welfare benefits.
3. The approach to creating oral health knowledge within the working-age
population remains predominantly passive rather than proactive. There is a lack of systematic
integration between the public sector and private healthcare service providers in the
implementation of oral health literacy. This includes the utilization of technology and
online social media to enhance the efficiency of knowledge dissemination.
The approach to building oral health literacy among the working-age
population can be divided into two main aspects: policy and implementation.
In terms of policy, there are three main aspects:
1. The process of formulating policies to promote oral health literacy among
working-age individuals should be clear and equitable. It should be linked and
integrated from policy levels to practical implementation.
2. The translation of policies into practice should involve a thorough study
to determine their feasibility and appropriateness. Clear assignment of responsibilities,
effective communication of policies to practice, and crucially, the provision of budget and
resources for implementation should beensured. This includes establishing a clear system for
monitoring and evaluation.จ
3. Formulating policies to address issues of disparity, enhance access to
dental services, and promote equity among the working-age population.
In terms of implementation, there are four key actions:
1. Enhancing the efficiency of the preventive oral health service system to
increase access to dental care and promote equality.
2. Adjusting the payment system for dental services to be more reasonable and fair.
3.Promoting oral health awareness among the working-age population, enabling
them to practice self-care and have access to appropriate services.
4) Utilizing information technology and innovation to enhance oral health
knowledge among the working-age population.