เรื่อง: แนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านกับการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดนในมุมมองของกองทัพไทย, (วปอ.9928)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ยุทธภูมิ บุญฤทธิ์, (วปอ.9928)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านกับการบูรณาการ
งานความมั่นคงชายแดนในมุมมองของกองทัพไทย
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย พลตรี ยุทธภูมิ บุญฤทธิ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕
การศึกษาเรื่อง “แนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านกับการบูรณาการ
งานความมั่นคงชายแดนในมุมมองของกองทัพไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทาง วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค
และปัจจัยแห่งความสําเร็จ ในการดําเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้านกับการบูรณาการงานความมั่นคง
ชายแดนในปัจจุบัน รวมทั้งเสนอแนวทางการดําเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้านกับการบูรณาการ
งานความมั่นคงชายแดนในมุมมองของกองทัพไทย ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ในการแก้ไขปัญหา
และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้เหมาะสม โดยขอบเขตของการวิจัยนั้นประกอบด้วย ๑) ขอบเขต
ด้านเนื้อหา ซึ่งเน้นศึกษาในมุมมองของกองทัพไทย ในการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน
๒) ขอบเขตด้านพื้นที่ วิจัยความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ๖ ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว
เมียนมา มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ๓) ขอบเขตด้านประชากร เป็นการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์
ผู้บริหารระดับสูงในกองทัพไทย และฝ่ายอำนวยการหลัก ๔) ขอบเขตด้านเวลา โดยเริ่มศึกษาจากบริบท
ความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงงานความมั่นคงชายแดนภายหลังยุคสงครามเย็น ตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวิธีการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) โดยศึกษาบริบทของการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และศึกษาบริบท
ในการบูรณาการงานความมั่งคงชายแดนที่ผ่านมา นำมาวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ที่มีผลต่อการดำเนิน
ความสัมพันธ์และการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดน รวมถึงค้นหาปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ผลการศึกษา พบว่า บริบทความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านของแต่ละประเทศ มีปัจจัย
หลายประการที่มีผลต่อการบูรณาการงานความมั่นคงชายแดน โดยในเรื่องของนโยบายนั้นมีส่วนสำคัญในการ
กำหนดแนวทางการดำเนินความสัมพันธ์ของไทยต่อประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องมีการทบทวน และ
ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ รวมถึงกำหนดบทบาทในการแก้ไขปัญหาของแต่ละหน่วยงานให้มีความชัดเจน
ส่วนปัญหาอุปสรรคนั้นพบว่าเกิดจากการที่ตั้งเป้าหมายซึ่งจับต้องยาก ขาดการจัดลำดับความสำคัญ และวางแผน
ระยะยาวให้ครบทุกมิติ ขาดความชัดเจนในการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ และขาดความเข้าใจในบริบทการทำงาน
กับประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้บางครั้งประชาชนในพื้นที่ไม่ให้การสนับสนุนเท่าที่ควร โดยปัจจัยความสำเร็จนั้น
เกิดจากการกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน จัดลำดับความสำคัญ วางแผนระยะยาว และมีการกำหนดขั้นตอนการนำ
ยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เน้นสร้างความเข้าใจในบริบทการทำงาน
กับประเทศเพื่อนบ้าน และสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบกับแนวทางการดำเนิน
ความสัมพันธ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศ
เพื่อนบ้านให้เหมาะสมนั้น ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขกลไกการบริหารจัดการชายแดนที่ใช้อยู่ในปัจจุบันให้มีความ
สอดคล้องกับสถานการณ์ เน้นในเรื่องของความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (ความสัมพันธ์ส่วนบุคคล) เพื่อใช้
แก้ไขปัญหา และพัฒนาความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพของกองทัพไทย และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับความท้าทายด้านความมั่นคงชายแดนที่เปลี่ยนแปลงไปข
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัยแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ๑) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การดำเนิน
ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านนั้นควรจะต้องยอมรับสถานะซึ่งกันและกัน ไม่แทรกแซง และต้องเป็นไป
ในทิศทางเดียวกันในทุกระดับ เน้นการช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อป้องกันมิให้ประเทศที่สามเข้ามา
แทรกแซง หรือสร้างความเข้าใจผิด พัฒนา ปรับปรุง กฎระเบียบต่างๆ ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในพื้นที่
เน้นเรื่องการบริหารจัดการชายแดนอย่างครอบคลุม จัดระเบียบช่องทางผ่านแดนต่างๆ เพื่อให้มีความปลอดภัย
สามารถควบคุมพื้นที่และตรวจสอบได้ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย และส่งเสริมการมีบทบาทของจังหวัด ในการ
แก้ไขปัญหาให้เพิ่มมากขึ้น ๒) ข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการ ควรให้ระดับผู้ปฏิบัติมีการพบปะหารือร่วมกัน
บ่อยครั้งมากขึ้น จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ มุ่งพัฒนาขีดความสามารถ
ของเจ้าหน้าที่ โครงสร้างพื้นฐาน กระบวนการทำงานที่เป็นระบบ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และวิสัยทัศน์ในการทำงาน
มีการบูรณาการฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งสร้างความเข้าใจ การมีส่วนร่วมของประชาชน ๓) ข้อเสนอแนะเพื่อการ
วิจัยครั้งต่อไป ควรมีการศึกษา เตรียมความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงในอนาคต จัดทำ
แผนการปฏิบัติ ศึกษาแนวทางการสร้างการรับรู้ การมีส่วนร่วม และผลกระทบต่างๆ ที่มีผลต่อความสัมพันธ์
ในกรณีของการเข้ามามีบทบาทในภูมิภาคของประเทศมหาอำนาจต่อไป ค
abstract:
Title Approaches to Thailand'sRelations with Neighboring Countries andIntegration
of Border Security from the Perspective of the RoyalThai Armed Forces
Field Strategic
Name MAJ GEN YUTTAPOOM BOONYALIT Course NDC Class 65
The research study on "Approaches to Thailand's Relations with Neighboring
Countries and Integration of Border Security from the Perspective of the Royal Thai Armed Forces"
Aims to study approaches, analyses, problems, obstacles, and success factors in relations with
neighboring countries and integration of current border security work as well as proposing
guidelines for implementingThailand'srelations with neighboring countries and integrating border
security from the perspective of the Royal Thai Armed Forces to relevant agencies to solve
problems and develop cooperation with neighboring countriesappropriately.The scope of the
research consists of 1) Content scope: focuses on the perspective of the Royal Thai Armed Forces
in the conduct of Thailand's relations with neighboring countries. 2) Area Scope: focuses on
Thailand's relations with six neighboring countries, namely Cambodia, Lao PDR, Myanmar,
Malaysia, Indonesia, and Vietnam. 3) Demographic Scope: Data from interviews with senior
executives in the Royal Thai Armed Forces and key administrations. 4) Time Scope: starting from
the context of Thailand's relations with neighboring countries, including border security work after
the Cold War era from 1991 to the present.The research was conducted qualitatively by studying
the context of Thailand's relations with neighboring countries and the context of integrating past
border security tasks to analyze the problem obstacles affecting the implementation of relations
and integration of border security work, including finding success factors.
The study results revealed the context of Thailand's relations with neighboring
countries. Several factors affect the integration of border security work. The policy plays a vital
role in setting the guidelines forThailand's relations with neighboring countries, which needs to
be reviewed and adjusted according to the situation. As well as clearly defining the role in solving
problems of each department. As for the obstacles, goal setting was difficult to intangible;
there was a Lack of prioritization and long-term planning in all dimensions, a Lack of clarity in
policy implementation, and a lack of understanding of the context of working with neighboring
countries. As a result, people in the area sometimes do not support as much as they should.
That success factor arises from setting clear goals, prioritizing, long-term planning, and steps for
implementing the strategy, Improve laws, rules, and regulations. Emphasis on building
understanding in the context of working with neighboring countries and creating awareness of
public participation along with the relationship management guidelines of the relevant agencies
for use in problem-solvingand developing cooperation with neighboring countries. The current ง
border management mechanism must be revised to align with the situation; Emphasis on
informal relationships (personal relationships) to solve problems and develop cooperation with
neighboring countries, including increasing the efficiency of the Royal Thai Armed Forces and
related agencies to accommodate the changing border security challenges.
The recommendations obtained from the research were divided into threegroups:
1) Policy recommendations; Relations with neighboring countries should accept each other's
status by not interferingand must be in the same direction at all levels; focuson helping each
other to prevent third countries from intervening or creating misunderstandings, develop and
improve regulations by the operations in the area, Emphasis on comprehensive border
management, Organize channels through different borders to be a safe area and can be
controlled and monitored by using technology to help, promote the role of the province.
2) Operational level recommendations; Practitioners should have more frequent meetings with
each other, Organize activities to strengthen relationships regularly, and focus on developing
competenciesof officers, infrastructure,and systematic work process. Cultivate a good attitude
and vision of work, integrating various databases, including building an understanding of public
participation 3)Further researchrecommendations;should have educationand prepare to face
future security challenges, make an action plan, Study ways to create awareness participation
and effects affecting the relationship in the case of continuing to play a role in the region of the
great powerscountries.จ