Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย, (วปอ.9921)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางมณีสุดา ศิลาอ่อน, (วปอ.9921)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นางมณีสุดา ศิลาอ่อน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษาเรื่อง แนวทางการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของ คนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการรับรู้เกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ 2) ศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง และ 3) เสนอแนะแนวทางการสร้าง การรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์ข้อมูล ทฤษฎี หลักการต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการรับรู้การบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง มีดังนี้ 1) รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย 2) รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับ อาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ 3) กินพืชผักให้มาก และกินผลไม้เป็นประจำ 4) กินปลา เนื้อสัตว์ ไม่ติดมัน ไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ 5) ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย 6) กินอาหารที่มีไขมัน แต่พอควร 7) หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด และเค็มจัด 8) กินอาหารที่สะอาด ปราศจากการ ปนเปื้อนสารเคมี 9) งด หรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ส่วนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้และ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง มีดังนี้ 1) ทัศนคติด้านสุขภาพ 2) การรับรู้ด้านสุขภาพ 3) ความ เชื่อสุขภาพ 4) ปัจจัยทางสังคม และ 5) ปัจจัยด้านจิตวิทยา นอกจากนี้ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสาร จากการเปลี่ยนแปลงของโลกไร้พรหมแดน (Globalization) โลกยุคข้อมูลข่าวสาร (Information Technology) การโฆษณาประชาสัมพันธ์โดยใช้สื่อประเภทต่างๆ ทำให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ ทุกเพศ ทุกวัย และกับทุกท้องถิ่น การโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์จะเป็นช่องทางที่ประสบความสำเร็จ มากที่สุด เพราะเสนอได้อย่างรวดเร็ว และแพร่กระจายทั่วถึงผู้บริโภค สำหรับแนวทางการสร้าง การรับรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของคนไทย มีดังนี้ 1) ส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภค อาหารที่เหมาะสมสำหรับคนไทย 2) แนวทางแก้ไขและส่งเสริมให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมการบริโภค ที่เหมาะสม 3) จัดทำแนวทางการดำเนินงานเมนูชูสุขภาพ 4) ส่งเสริมและสร้างการรับรู้ในการบริโภค อาหาร 5) ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย และ 6) ส่งเสริมการบริโภคอาหาร ในชีวิตประจำวัน (Daily Consumption) ให้ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ข้อเสนอแนะ จัดกิจกรรมรณรงค์สร้างสุขภาพและป้องกันโรคอันเกิดจากวิถีชีวิต เพื่อให้ ประชาชนรับรู้ และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม และ สร้างกระบวนการเรียนรู้ในการสร้างสุขภาพ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนและ ภาคีเครือข่ายข

abstract:

Title Guidelines for Creating Awareness about Healthy Food Consumption of Thai People Field Social - Psychology Name Mrs. Maneesuda Sila-on Couse NDC Class 65 The study of guideline for creating awareness about healthy food consumption of Thai people aimed to 1) study the perception process about healthy food, 2) study factors related to perception and correct food consumption behavior, and 3) propose guideline to create awareness about healthy food consumption of Thai people. The researcher had collected secondary data from research papers, academic documents, and related literature while primary information was collected from interviews with the relevant sample groups. Data was then analyzed by using content analysis including synthesized theories and principles as well. The results of the study could be summarized as follows: The results showed that the process of recognizing correct healthy food consumption were as follows: 1 ) eat a variety of foods from each of the 5 food groups, 2) eat rice as the main meal, interspersed with starchy foods for some meals, 3) eat lots of vegetables and eat fruit regularly, 4) eat fish, lean meat, eggs and legumes regularly, 5 ) drink milk according to age, 6) eat moderately fatty foods, 7) avoid eating sweet and salty foods, 8) eat clean and chemical contamination free food, and 9) abstain or reduce alcoholic beverages. The factors related to awareness and correct food consumption behavior were as follows: 1) health attitudes, 2) health perceptions, 3) health beliefs, 4) social factors, and 5) psychological factors. In addition, Globalization and Information Technology had resulted in access to news sources. Advertising by using different types of media made it accessible to consumers of all genders, ages, and localities. Television advertising was the most successful channel because of offering quickly and spread across consumers. The guidelines for creating awareness about healthy food consumption for Thai people were as follows: 1) promote appropriate food consumption behavior for Thai people, 2) guidelines for correcting and encouraging teenagers to have appropriate consumption behaviors, 3) establishing guidelines for the implementation of healthy menus, 4) promote and create awareness of food consumption, 5) change the food consumption behavior of Thai people and 6) promoting correct daily food consumption according to nutritional principles. Recommendations: there should be activities to promote health and prevent diseases caused by lifestyle for the public to recognize and change health behaviors in the right direction and create a learning process for creating health and the modification of health behaviors of people and network partners.จ