Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศในห้วงปี 2023 - 2028 และแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ทางด้านความมั่นคงที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย, (วปอ.9912)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลเรือตรี ภาณุพันธุ์ ทรัพย์ประเสริฐ, (วปอ.9912)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง วิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านความมั่นคง ระหว่างประเทศ และแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ในห้วง ปี๒๐๒๓ - ๒๐๒๘ ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย พลเรือตรี ภาณุพันธุ์ ทรัพย์ประเสริฐ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ การวิจัยเรื่องวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์ความขัดแย้งทางด้านความมั่นคงระหว่าง ประเทศ และแนวทางในการรับมือกับสถานการณ์ในห้วงปี๒๐๒๓ - ๒๐๒๘ มีวัตถุประสงค์ของการ วิจัยเพื่อศึกษาสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศตั้งแต่หลังสงครามเย็น (ค.ศ.๑๙๙๑) จนถึง ปัจจุบัน (ค.ศ.๒๐๒๒) ทางด้านความมั่นคง ผลกระทบและแนวทางการดำเนินนโยบายด้านการ ต่างประเทศของประเทศไทย กับวิเคราะห์เปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างประเทศในลักษณะต่างๆ ทั้งในทางด้านการเมือง การเศรษฐกิจ การทหาร และการสังคม รวมทั้งศึกษาแนวโน้มสถานการณ์ ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทางด้านความมั่นคงในห้วงปี ๒๐๒๓ – ๒๐๒๘ รวมทั้งผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นต่อประเทศไทย ตลอดจนเสนอแนวทางของประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์ความ ขัดแย้งระหว่างประเทศทางด้านความมั่นคง ที่จะมีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยในห้วงปี ๒๐๒๓ – ๒๐๒๘ โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศตั้งแต่หลังสงครามเย็น (ค.ศ. ๑๙๙๑) จนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.๒๐๒๒) ทางด้านความมั่นคง ในขณะที่ความขัดแย้งในเรื่องผลประโยชน์ แห่งชาติระหว่างประเทศมิได้สิ้นสุดไปตามความขัดแย้งด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ผลประโยชน์ แห่งชาติที่ด้านเศรษฐกิจ และการแข่งขันระหว่างรัฐทางด้านเศรษฐกิจ ชาตินิยม ความแตกต่าง วัฒนธรรม และศาสนา ส่งผลให้เกิดสงครามขนาดเล็ก (small war) หรือความขัดแย้งขนาดเล็ก (low-intensity conflict) ปรากฏการณ์เช่นนี้ส่งผลให้สงครามในอนาคตจะเป็น “สงครามอารย ธรรม” (The Clash of Civilization) ในส่วนของผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกิดขึ้น จะมีผลกระทบที่มีต่อ ประเทศไทยทั้งสิ้นและส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศไทยในด้านต่างๆ นอกจากนี้อาจนำมาสู่การ แพร่เข้ามาของกลุ่มก่อการร้ายเข้ามากบดานและเคลื่อนไหวภายในประเทศ ซึ่งอาจจะเชื่อมโยงกับ กระแสเรียกร้องสิทธิกำหนดใจตนเอง (Self Determination) ในปัตตานีและจังหวัดชายแดน ภาคใต้ของไทย การกำหนดนโยบายด้านการต่างประเทศของประเทศไทย เป็นไปตามแนวทางการทูต 5S ได้แก่ ๑) ความมั่นคง (Security) ๒) ความยั่งยืน (Sustainability) ๓) มาตรฐาน (Standard) ๔) สภานภาพ (Status) และ ๕) บูรณาการ (Synergy) โดยวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อความมั่นคง ผลประโยชน์ของชาติและประชาชน รวมทั้งความยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศข ในส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบความขัดแย้งระหว่างประเทศในลักษณะต่างๆ ทั้ง ในทางด้านการเมือง การเศรษฐกิจ การทหาร และการสังคม พบว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่าง ประเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีสาเหตุ ๕ ประการ ได้แก่ ๑) การขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของชาติ๒) ทัศนคติที่มีต่อกัน ๓) การขัดแย้งทางอุดมการณ์ทางการเมือง ๔) การแข่งขันแสวงหาอำนาจ ๕) การ ขัดแย้งเรื่องดินแดน แนวโน้มสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศทางด้านความมั่นคงในห้วงปี ๒๐๒๓ – ๒๐๒๘ ได้แก่ ๑) ความท้าทายระดับโลก ที่มาจากภัยธรรมชาติวิกฤติการณ์ทางการเงิน เทคโนโลยีใหม่ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและสุขภาพจนก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ๒) ความ แตกแยกระหว่างเชื้อชาติ วัฒนธรรม และอุดมการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะมีมากขึ้นและส่งผลก่อให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ๓) การสูญเสียดุลยภาพ หากความสามารถที่มีอยู่ในปัจจุบันของระบบ โครงสร้าง รัฐตลอดจนสถาบันต่างๆ ไม่เพียงพอต่อการรับมือกับความท้าทาย จนก่อให้เกิดการสูญเสีย ดุลยภาพส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศต่างๆ ได้ ๔) การปรับตัว หากประเทศต่างๆ ขาด ความสามารถในการปรับตัวแล้ว ผลกระทบของความท้าทายในอนาคตย่อมส่งผลกระทบต่อความมั่นคง ของประเทศ ๕) ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจโลก และอาจ ลุกลามไปในมิติมิติทางการทหารไปสู่ประเทศอื่นที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้งโดยตรง ๖) ความขัดแย้งทาง เทคโนโลยี เป็นผลมาจากการแข่งขันและความขัดแย้งทางเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้กับพลเมือง รวมไปถึงเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นคงให้แก่ประเทศได้ ส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างออกนโยบายเพื่อยกระดับการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศจนอาจส่งผล ก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทย จากแนวโน้มสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง ประเทศ ทางด้านความมั่นคงในห้วงปี ๒๐๒๓ – ๒๐๒๘ ประเทศไทยอาจเกิดปัญหาต่อความมั่นคง ของประเทศ การตกต่ำทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขึ้นของปัญหาสังคม มีความเสี่ยงต่อห่วงโซ่อุปทานของ การผลิตและราคาสินค้า ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เกิดกระแสเรียกร้องสิทธิกำหนดใจ ตนเอง (Self Determination) ในปัตตานีราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานสูงขึ้น แนวทางของประเทศไทยในการรับมือกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ ทางด้านความมั่นคง ที่จะมีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประเทศไทยในห้วงปี ๒๐๒๓ – ๒๐๒๘ มีดังนี้ ด้านการต่างประเทศ จำเป็นต้องเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศสมาชิกอาเซียนและกลุ่มประเทศ สำคัญ เช่น EU, BRICS ให้แน่นแฟ้น ถ่วงดุลรักษาความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจได้กับทั้งสอง มหาอำนาจ รวมทั้งสร้างพันธมิตรใหม่กับกลุ่มประเทศที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ตัดสินใจการดำเนินนโยบาย การต่างประเทศอย่างละเอียดรอบคอบ ถูกต้อง และรวดเร็ว ด้านการทหาร เนื่องจากข้อจำกัดในด้าน งบประมาณ จำเป็นต้องเปลี่ยนอาวุธยุทโธปกรณ์จาก Gen 4 ไปเป็น Gen 6 พัฒนากองทัพที่มีอาวุธ ยุทโธปกรณ์ที่มีความทันสมัยและใช้เทคโนโลยี มาช่วยในการปฏิบัติการทดแทนการใช้กำลังพลจำนวน มาก พร้อมทั้งลดจำนวนกำลังรบตามแบบเดิม เน้นการพัฒนาระบบการป้องกันตนเองมากกว่ากำลัง ทางรุก เพิ่มและเน้นการใช้กำลังรบปฏิบัติการพิเศษ รวมทั้งกำลังรบเพื่อการป้องปรามทางยุทธศาสตร์ เน้นการพึงพาตนเองผ่านการวิจัยพัฒนา และมุ่งสู่สายการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าอาวุธ หากมี ความจำเป็นต้องนำเข้าควรจัดหา ควรเน้นจากประเทศที่เป็นกลางที่มิใช่ประเทศคู่ขัดแย้ง รวมทั้งค จำเป็นต้องบังคับให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการลดการพึ่งพาต่างประเทศ ส่งเสริมให้ภาคเอกชนหาตลาดใหม่ และหาแหล่งวัตถุดิบใหม่โดยเฉพาะในทุกประเทศคู่ค้าสำคัญ นอกเหนือจากประเทศคู่ขัดแย้ง ภาครัฐต้องมีความเด็ดขาดในการควบคุมนโยบาย รวมทั้งมีระบบการ ตัดสินใจที่ดีที่สามารถแก้ไข/ยุติปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น (Circuit breaker) ด้านสังคม ควรเสริมสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งและเป็นพลังในการ ขับเคลื่อนนโยบาย รวมทั้งลดช่องว่างรายได้ของประชาชน และกำหนดนโยบายในการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อให้มีสังคมที่เข้มแข็ง ด้านเทคโนโลยีเพิ่มขีดความสามารถในการพึงพาตนเอง เน้นผลิตแรงงาน เพื่อให้มีขีดความสามารถในการป้องกันการโจมตีทาง Cyber attack และ Offensive cyber attack จัดให้มีศูนย์ข้อมูลกลาง (Data Center) ของประเทศ ส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาและให้มี ระบบสื่อสารดาวเทียมของประเทศ พลังงานทดแทน และกำหนดให้มีการควบคุมการใช้ระบบ AI และควบคุมการเสนอข่าวสารใน Social media ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรจัดให้มี National Operation Center : NOC ที่รวม ผู้เชี่ยวชาญชั้นสูงสุด ในแต่ละสาขาอาชีพ ทั้งภาครัฐ และเอกชน เพื่อร่วมกันติดตามสถานการณ์โลก ทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี รวมถึง สถานการณ์ภายในประเทศ เพื่อที่จะนำมา วิเคราะห์ และเสนอท่าที มาตรการ ในการตอบโต้หรือรับมือสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ตลอดจนมีการประสานสอดคล้องพลังอำนาจของชาติในทุกด้าน ทั้งด้านการทูต การเศรษฐกิจ การทหาร การสังคมจิตวิทยา และด้านเทคโนโลยีเพื่อประสานพลังในการตอบโต้ภัยคุกคามที่เกิดขึ้น อย่างเป็นระบบง

abstract:

Title Analyzing the trends of international security conflicts and strategies for dealing with the situations in 2023-2028 Field Palitics Name RADM Bhanuphan Supprasert RTN Course NDC Class 65 The research aims to analyze the trends in international security conflicts between countries and propose strategies for dealing with the situation from 2023 to 2028. The objectives of the research are to study the conflict situation since the post-Cold War era (starting from 1991) until the present (up to 2022) in terms of security, assess the impact, and examine Thailand's foreign policy approaches. Additionally, the research involves comparing various aspects of conflicts, including politics, economy, military, and society, and studying the trends in international security conflicts from 2023 to 2028. The study also aims to explore the potential impact on Thailand and suggest Thailand's strategies for coping with the security conflict situation, which may have consequences for Thailand during the years 2023 to 2028. This research is conducted as a qualitative study. The research findings indicate that the situation of international conflicts since the post-Cold War era (from 1991) up to the present (up to 2022) in terms of security has been characterized by persistent conflicts, particularly in matters related to political ideologies. National interests in economics, economic competition among states, cultural diversity, nationalism, differences in culture and religion, have led to the emergence of small-scale conflicts or low-intensity conflicts. This trend suggests that future conflicts may evolve into a "Clash of Civilizations." Regarding the impacts of the conflicts occurring between countries, it will have comprehensive effects on Thailand, affecting its security and various aspects. Additionally, it could potentially lead to the infiltration of extremist groups, causing unrest and movements within the country. This may be linked to demands for self￾determination, especially in Pattani and the border provinces in the southern region of Thailand. Thailand's foreign policy is guided by the 5S diplomatic approach, which encompasses: 1) Security 2) Sustainability 3) Standard 4) Status and 5) Synergy. The objective is to respond to the national interests and security concerns of both จ the country and its citizens, including economic sustainability and national development. Analyzing and comparing conflicts between countries across various dimensions reveals five main causes: 1) Conflicting national interests 2) Contrasting perspectives 3) Political ideologies in opposition 4.Struggles for power and 5) Territorial disputes. Trends in international conflicts' impact on security for the period 2023- 2028 include: 1) Global challenges from natural disasters, financial crises, and emerging technologies leading to potential conflicts. 2) Increased fragmentation leading to conflicts. 3) Diminishing current capabilities within the system, resulting in loss of stability for various countries. 4) Countries' inability to adapt, leading to security consequences. 5) Geopolitical conflicts affecting global economic security, potentially expanding to non-directly involved countries. And 6) Technological disputes due to economic growth, raising living standards, and enhancing national security. The resulting impact on Thailand from these trends includes threats to national security, economic decline, social problems, risks to supply chains, and issues in the southern border provinces, with potential calls for self-determination in Pattani. Additionally, prices of consumer goods and energy might increase. Thailand's strategies for dealing with the impact of international conflicts from 2023 to 2028 involve: Strengthening cooperation with ASEAN member states and key groups like the EU and BRICS, maintaining balanced relationships with major powers while forming new partnerships outside conflicting countries, and making precise, prompt foreign policy decisions. Adapting the military by transitioning to Generation 6 weaponry, emphasizing modernization and technology to reduce troop numbers, focusing on defense capabilities, special operations, self-reliance through research, and considering arms imports from neutral sources if necessary. Boosting the economy by reducing reliance on foreign countries, promoting new markets for private sectors, seeking alternative sources of raw materials beyond conflicting trade partners, maintaining state control, and implementing effective circuit breakers for potential economic issues. Enhancing social unity to drive policy, closing income gaps, creating a resilient society, and empowering the workforce to defend against cyber and ฉ offensive attacks, establishing central data centers, satellite communication systems, renewable energy, and regulating AI use while monitoring social media content. Recommendation : The government should establish a National Operation Center (NOC) that brings together the highest-level experts from various professions, both from the public and private sectors, to collectively monitor global situations, including security, economy, society, technology, as well as domestic circumstances. This aims to analyze and propose timely measures and responses to various situations, ensuring cohesive national power in all aspects, including diplomacy, economy, military, social psychology, and technology, for coordinated and systematic crisis management.ช