เรื่อง: แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตด้วยารจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน, (วปอ.9910)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางภัทรพร วรทรัพย์, (วปอ.9910)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตด้วยการ
จัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นางภัทรพร วรทรัพย์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
จากการที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ได้
สำรวจระดับปัญหาการคอร์รัปชันประเทศต่าง ๆ เพื่อจัดทำตัวดัชนีวัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน
(Corruption Perceptions Index : CPI) ในปี 2564 ผลปรากฏว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 110
จากการจัดอันดับทั้งหมด 180 ประเทศทั่วโลก โดยได้คะแนนเพียง 35 คะแนน ตามหลังประเทศ
สิงคโปร์ มาเลเซีย ติมอร์-เลสเต เวียดนาม และอินโดนีเซีย ซึ่งถือว่าภาพลักษณ์ด้านปัญหาคอร์รัปชัน
ของประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่รุนแรง ขาดความโปร่งใส กอร์ปกับเงินงบประมาณของภาครัฐในการ
จัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในแต่ละปีมีมูลค่าสูง
ประมาณ 1.2ล้านล้านบาท จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องดำเนินการกำหนดมาตรฐาน เพื่อให้การจัดซื้อ
จัดจ้างภาครัฐมีความโปร่งใส การใช้จ่ายเงินภาครัฐมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อประเทศ
อย่างแท้จริงและนำไปสู่การสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนต่างชาติในการเข้ามาลงทุนในโครงการ
ที่สำคัญของประเทศไทย
ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ
พ.ศ. 2560 หมวด 2 มาตรา 16 มาตรา 17 และมาตรา 18 ได้กำหนดให้ภาคประชาชนและ
ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ โดยนำเครื่องมือมาใช้ใน
กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง คือ โครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) คือ ข้อตกลง
ร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการและผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอ โดยฝ่ายหน่วยงาน
ของรัฐเจ้าของโครงการและฝ่ายผู้ประกอบการที่จะเข้ายื่นข้อเสนอได้ตกลงกันว่าจะไม่กระทำการทุจริต
ในการจัดซื้อจัดจ้างและให้มีผู้สังเกตการณ์ (Observer)ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์
ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างนั้นๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่าง
ขอบเขตของงานหรือรายละเอียดของพัสดุที่จะทำการจัดซื้อจัดจ้างและร่างเอกสารเชิญชวนจนถึงขั้นตอน
สิ้นสุดโครงการ เพื่อสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
ในปัจจุบันการดำเนินโครงการข้อตกลงคุณธรรม มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
ผู้วิจัยจึงได้มีการศึกษาเพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการป้องกันการ
ทุจริตด้วยการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม ผู้วิจัยได้จัดทำเป็นงานวิจัย คือ การพัฒนาแนวทางการมีส่วนร่วม
ของภาคประชาชนในการป้องกันการทุจริตด้วยการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP)
ให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน และจากผลการศึกษาเสนอเป็นแนวทางการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ในการป้องกันการทุจริตด้วยข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact : IP) ได้เป็นทฤษฎีSPEC ดังนี้
S : Structure of IPs ประเด็นที่ 1 โครงสร้างของโครงการข้อตกลงคุณธรรมข
P : Public Participation in IPs such as roles and responsibilities of key
stakeholders, including the independent observer(s). ประเด็นที่ 2 การมีส่วนร่วมของ
สาธารณชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการข้อตกลงคุณธรรม
E : Efficiency and Effective in operational procedures such as workflow,
reporting and the publication or disclosure; ประเด็นที่ 3 ความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการดำเนินโครงการจัดทำข้อตกลงคุณธรรม
C : Costs of IP implementation; ประเด็นที่ 4 งบประมาณในการดำเนินโครงการ
จัดทำข้อตกลงคุณธรรมค
abstract:
Title Guideline for public participation in preventing corruption by forming
an Integrity Pact: IP
Field Social Psychology
Name Mrs.Pattaraporn Vorasaph Couse NDC Class 65
According to Transparency International, the organization has surveyed
the level of corruption problems in various countries to create the Corruption
Perceptions Index (CPI) in 2021. Out of a total of 180 nations, the results indicate that
Thailand is rated 110th in the world. Behind Singapore, Malaysia, Timor-Leste,
Vietnam, and Indonesia, it scored only 35 points. This shows that the absence of
budgetary oversight and transparency in the purchasing of government agencies,
state-owned businesses, and local government agencies contributes to the
perception that Thailand still has a serious corruption problem. The value is almost
1.2 trillion baht per year, thus it is crucial for the Thai government to develop
regulations for public procurement that actually benefit the nation and encourage
foreign companies to participate.
Thus, Section 2 of the Government Procurement and Supplies
Administration Act (B.E. 2017) mentions that the public sector and entrepreneurs
should participate in the prevention of corruption in public procurement, citing
Articles 16–17 and 18. By bringing tools to use in the procurement process which is
Integrity Pact : IP. An integrity pact is made in the form of a mutual agreement
between the State agency initiating the project in question and business operators
intending to tender proposals, wherein the State agency initiating the project and the
business operators intending to tender proposals shall agree to refrain from
corruption in the procurement, and there shall be observers with the knowledge,
expertise, or experience necessary for the procurement project concerned, who shall
observe the procurement from the process involving the drafting of the scope of
work or details of supplies to be procured and the drafting of solicitation documents
through the completion of the project.
At present, the implementation of the Integrity Pact. There are problems
and obstacles in the operation. The researcher therefore has a study to analyzing
ways of participation of the public sector in preventing corruption through the
establishment of an Integrity Pact. The researcher has developed a guideline for ง
public participation in preventing corruption by forming an Integrity Pact: IP is the
SPEC theory as follows:
S : Structure of IPs
P : Public Participation in IPs such as roles and responsibilities of key
stakeholders, including the independent observer(s)
E : Efficiency and Effective in operational procedures such as workflow,
reporting and the publication or disclosure
C : Costs of IP implementationจ