Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏฺบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.), (วปอ.9905)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายพีระพัฒน์ อิงพงษ์พันธ์, (วปอ.9905)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายพีระพัฒน์ อิงพงษ์พันธ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษาเรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา การปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและ ป.ป.ช. ในการดำเนินคดี 2) วิเคราะห์ปัญหาการใช้อำนาจ ในการดำเนินคดีขององค์กรอัยการสูงสุดและ ป.ป.ช. และ 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและ เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและ ป.ป.ช. โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทางวิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ สังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและ ป.ป.ช. ในการ ดำเนินคดีมีดังนี้ 1) ป.ป.ช. ใช้เวลาในการไต่สวนทำสำนวนนานเกินไป และคดีจำนวนมากขาดอายุ ความ 2) การไต่สวนรวบรวมพยานหลักฐานของ ปปช. ในปัจจุบันเป็นไปในลักษณะมุ่งหา พยานหลักฐานพิสูจน์ความผิด มากกว่าจะพิสูจน์หาความจริง 3) การชี้มูลความผิดทางอาญาของ ป.ป.ช. ที่ส่งผลต่อการดำเนินการทางวินัยของข้าราชการในหน่วยงานของรัฐ สำหรับปัญหาการใช้ อำนาจในการดำเนินคดีขององค์กรอัยการสูงสุดและ ป.ป.ช. มีดังนี้ 1) การขาดการถ่วงดุลอำนาจใน กรณีที่ ป.ป.ช. มีมติไม่ชี้มูลผู้ถูกกล่าวหา 2) การใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาของพนักงาน อัยการ 3) การใช้ดุลพินิจในการสั่งถอนฟ้องคดีอาญาของพนักงานอัยการ 4) การใช้ดุลพินิจในการสั่ง ไม่ให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาชั่วคราวในคดีอาญาของพนักงานอัยการ และ 5) บทบาทในการดำเนินคดี อาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของอัยการสูงสุด ส่วนแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการ ปฏิบัติงานระหว่างองค์กรอัยการและ ป.ป.ช. มีดังนี้ 1) ควรแก้ไขกฎหมายให้อัยการเข้าร่วมไต่สวนคดี กับ ปปช. ตั้งแต่ต้น เพื่อตัดปัญหาเรื่องการรวบรวมพยานหลักฐาน และระยะเวลาในการพิจารณา สำนวน 2) ควรแก้ไขกฎหมายกำหนดให้คดีที่มีอัตราโทษสูง คดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชน คดีที่ผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้มีอิทธิพลหรือนักการเมือง ให้อัยการสูงสุดมอบหมายอัยการชั้นผู้ใหญ่ไปร่วม พิจารณากับกรรมการ ปปช. 3) แก้ไขอำนาจในการฟ้องคดีเองของ ปปช. เพราะได้มีการร่วมกันไต่ สวนและพิจารณาสำนวนกับอัยการแล้ว 4) แก้ไขกฎหมายให้เกิดการถ่วงดุลอำนาจของ ปปช. ในการ มีมติไม่ชี้มูลผู้ถูกกล่าวหา และการกันเป็นพยาน และ 5) กำหนดกระบวนการที่ละเอียดรอบคอบ ในการลงโทษทางวินัยแก่ข้าราชการที่ถูก ปปช. ชี้มูลความผิด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับ แก่ข้าราชการข ข้อเสนอแนะ ควรมีการแบ่งแยกอำนาจในการสอบสวนและอำนาจในการฟ้องร้องคดี ออกจากกัน และควรให้อัยการสูงสุดเข้ามามีส่วนร่วมในการไต่สวนกับคณะทำงานโดยให้มีอำนาจ หน้าที่ชี้ขาดค

abstract:

Title Guidelines for Increasing Operational Efficiency between the Public Prosecutor's Organization and Office of the National Anti-Corruption Commission (NACC) Field Politics Name Mr. Peerapat Ingpongpan Couse NDC Class 65 The study of guidelines for increasing operational efficiency between the public prosecutor's organization and office of the National Anti-Corruption Commission (NACC) aims to 1) study the problems of operations between the public prosecutor's organization and the NACC in litigation, 2) analyze the problem of exercising prosecution powers by the Attorney-General and the NACC, and 3) propose guidelines to solve problems and increase operational efficiency between the public prosecutor's organization and the NACC. The researcher has collected secondary data from research papers, academic documents, and related literature while primary information is collected from interviews with the relevant sample groups. Data is then analyzed by using content analysis including synthesized theories and principles as well. The results of the study can be summarized as follows: The results show that the operational problems between the public prosecutor's organization and the NACC in litigation are as follows: 1) the NACC has spent too much time in the investigation so many cases had expired, 2) the NACC's evidence-gathering investigation is currently conducted in a manner aimed at proving evidence of guilt rather than proving the truth, 3) pointing out criminal offenses by the NACC that affects the disciplinary action of civil servants in government agencies. The problems of exercising power in prosecution of the Attorney General and the NACC are as follows: 1 ) lack of checks and balances in the event that the NACC resolves not to identify the accused, 2) the prosecutor's discretion in ordering not to prosecute criminal cases, 3) the prosecutor's discretion in ordering to withdraw criminal charges, 4) the prosecutor's discretion to order a temporary non-release of an accused person in a criminal case, and 5) the Attorney General's role in prosecuting political office holders. As for the guidelines to increase the operational efficiency between the public prosecutor's organization and the NACC are as follows: 1 ) the law should be amended to allow prosecutors to participate in the investigation with the NACC from the beginning in order to eliminate the problem of ง gathering evidence and the period of consideration of the expressions, 2) the law should be amended for cases with high penalties, case in the public interest, cases in which the accused is an influential person or a politician, the Attorney General shall assign senior prosecutors to participate in the hearings with the NACC members, 3) amending the NACC's own authority to prosecute since it has already jointly investigated and reviewed cases with the prosecutor, 4) amend the law to create a balance of power for the NACC in passing a resolution not to identify the accused person and set aside as a witness, and 5) define a prudent procedure for disciplinary action against government officials identified by the NACC to be fair and accepted by civil servants. Recommendations: there should be a separation of investigative and prosecuting powers and the Attorney General should be allowed to participate in the investigation with the working group with jurisdiction.จ