Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน, (วปอ.9902)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายพิศาล รัชกิจประการ, (วปอ.9902)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ สามารถแข่งขันได้ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายพิศาล รัชกิจประการ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การศึกษาเรื่อง แนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้ สามารถแข่งขันได้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการในการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการ โลจิสติกส์ของประเทศไทย 2) ศึกษาปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้ง ภาคเอกชนและภาครัฐของประเทศไทย และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากงานวิจัย เอกสารทาง วิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์นักวิชาการภาครัฐ ผู้ประกอบการ ผู้ใช้บริการระบบขนส่งและโลจิสติกส์ และบุคลากรด้านโลจิสติกส์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการต่างๆ สรุปผล การศึกษาได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ของ ประเทศไทย มีดังนี้ 1) การรับรู้และมุมมองที่เหมือนกัน 2) การมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน 3) มีความสนใจ หรือผลประโยชน์ร่วมกัน 4) การมีส่วนร่วมของสมาชิกทุกคนในเครือข่าย 5) มีการเสริมสร้างซึ่งกัน และกัน 6) มีการเกื้อหนุนพึ่งพากัน 7) มีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงแลกเปลี่ยน และ 8) รูปแบบของรูปแบบ เครือข่ายการให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ส่วนปัญหา อุปสรรคในการพัฒนาศักยภาพ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐของประเทศไทย มีดังนี้1) ปัญหาด้านประสิทธิภาพของ ระบบขนส่งและโลจิสติกส์ 2) ปัญหาผู้ประกอบการโลจิสติกส์ในประเทศไทย 3) สิ่งอำนวยความ สะดวกทางการค้า 4) การปรับปรุงด้านโครงสร้างพื้นฐาน 5) ขาดแหล่งเงินทุน 6) ความมั่นคง ภายในประเทศและการขยายตัวของธุรกิจการให้บริการด้านโลจิสติกส์ 7) ขาดความร่วมมืออย่าง จริงใจขององค์กร 8) การขาดแคลนบุคลากรด้านโลจิสติกส์ 9) การสนับสนุนด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ 10) การสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร 11) อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทยมีการแข่งขัน กันสูง และ 12) ผลกระทบจากโซ่อุปทานสินค้า สำหรับแนวทางการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ของประเทศไทยให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน มีดังนี้1) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน (HW : Hardware) 2) การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ (SW : Software) 3) การพัฒนาบุคลากร (PW : Peopleware) 4) ความร่วมมือกันระหว่างผู้ประกอบการ 5) สนับสนุนการสร้างปัจจัยเพิ่ม ขีดความสามารถการแข่งขัน 6) ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัวโดยการพัฒนาคุณค่าของการให้บริการ (value-added service) และยกระดับเป็น e-logistics 7) การจัดการโลจิสติกส์ 8) ส่งเสริมการ พัฒนาบริการและขยายเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์อย่างมีประสิทธิภาพ 9) พัฒนาระบบอำนวย ความสะดวกทางการค้า 10) ยกระดับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ให้ได้การรับรองคุณภาพระดับข มาตรฐานสากล 11) สนับสนุนการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย และสร้างพันธมิตรกับ ผู้ประกอบการในระดับภูมิภาค และ 12) พัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรส่งเสริมผู้ให้บริการโลจิสติกส์สู่การเป็นผู้ให้บริการแบบครบ วงจร จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษานักลงทุนไทยในประเทศภูมิภาคอาเซียน และส่งเสริมการดำเนินการ ด้านโลจิสติกส์ Green & Safety Logisticsค

abstract:

Title Guidelines for Developing the Potential of Logistics Service Providers in Thailand to be able to Compete Sustainably Field Social - Psychology Name Mr. Pisan Ratchakitprakarn Couse NDC Class 5 The study of guidelines for developing the potential of logistics service providers in Thailand to be able to compete sustainably aimed to: 1) study the needs of Thailand's logistics service provider potential development, 2) study problems and obstacles in developing the potential of logistics service providers, both private and public sectors in Thailand, and 3) propose guidelines for developing the potential of Thailand's logistics service providers to be able to compete sustainably. The researcher had collected secondary data from research papers, academic documents and related literature while primary information was collected from interviews with government academics, entrepreneurs, users of transportation and logistics systems and logistics personnel. Data was then analyzed by using content analysis including synthesized theories and principles as well. The results of the study could be summarized as follows: The results showed that the needs for developing the potential of Thailand's logistics service providers were as follows: 1) having the same perception and perspective, 2) having a common vision, 3) having common interest or benefits, 4) involvement of all members of the network, 5) mutual reinforcement, 6) having interdependent support, 7) having an exchange interaction, and 8) the form of a network of logistics services between countries. As for the problems and obstacles in developing the potential of logistics service providers, both private and public sectors in Thailand, were as follows: 1) transportation and logistics efficiency problems, 2) problems of logistics operators in Thailand, 3) trade facilities, 4) infrastructure improvements, 5) lack of funding sources, 6) domestic security and expansion of the logistics service business, 7) lack of sincere cooperation of the organization, 8) lack of logistics personnel, 9) information technology support, 10) personnel development support, 11) Thailand's logistics industry was highly competitive, and 12) impact from Product Supply Chain. The guidelines for developing the potential of logistics service providers in Thailand to be able to compete sustainably were as follows: 1) development of infrastructure (HW: Hardware), 2) information technology development (SW : Software), 3) personnel ง development (PW : Peopleware), 4) cooperation between entrepreneurs, 5) supporting the creation of factors to increase competitiveness, 6) Thai entrepreneurs must adapt by developing the value of service (value-added service) and upgrading to e-logistics, 7) logistics management, 8) promote service development and expand the network of logistics service providers efficiently, 9) develop trade facilitation system, 10) raise the level of logistics service providers to meet international quality standards, 1 1 ) support the creation of a network of Thai logistics service providers and build alliances with regional entrepreneurs, and 12) developing the potential of Thai logistics service providers. Suggestions: The government should promote logistics service providers to become integrated service providers by establishing Thai Investor Advisory Center in ASEAN countries and promote the implementation of Green & Safety Logistics as well. ฉ