Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก, (วปอ.9881)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์, (วปอ.9881)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายประเสริฐ จึงกิจรุ่งโรจน์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การวิจัยเรื่อง “แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสถานการณ์ศักยภาพของ ผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก น ามาวิเคราะห์2. ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอ 3. แนวทางพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการ การค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร วารสาร งานวิจัย สถิติข้อมูล และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากหอการค้าจังหวัดตากร่วมด้วย เป็นการน าข้อมูล มาตรวจสอบกับแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แล้วน ามาวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและ การสัมภาษณ์ร่วมกับการพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพของผู้ประกอบการการค้าชายแดนไทย - เมียนมา จังหวัดตาก ได้แก่ 1. จุดแข็ง ผู้ประกอบการมีศักยภาพสูงและเลือกธุรกิจที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค เมียนมาส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจการส่งออกสินค้า (อุปโภคบริโภค) สามารถเรียนรู้และเข้าสู่ตลาด ได้อย่างรวดเร็ว สามารถน าเอาจุดแข็งของตนเองไปพัฒนาต่อยอดและมีความสัมพันธ์อันดีกับ ผู้ประกอบการเมียนมา มีการรวมกลุ่มกันอย่างเหนียวแน่น และสามารถยอมรับความเสี่ยงและ ความล้มเหลวที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่าผู้ประกอบอื่น 2. จุดอ่อน ผู้ประกอบการมีงบประมาณและ ความสามารถทางการเงินจ ากัด ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มองว่าภาครัฐไม่มีความจริงใจในการส่งเสริม มีปัญหาอุปสรรคในการค้ามาก มีเครือข่ายจ ากัด และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้จ ากัด 3. โอกาส แม่สอด เป็นเมืองยุทธศาสตร์ที่มีความส าคัญ มีจุดผ่านแดนถาวรและมีสะพานเชื่อมโยงตามกฎหมาย มีวัตถุดิบหลากหลาย มีโครงสร้างพื้นฐานขั้นต่ ารองรับ ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีแหล่ง เรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวสนับสนุน 4. อุปสรรค กฎหมายและระเบียบยังไม่มีความเป็นสากลและ ไม่รองรับการปฏิบัติงาน บุคลากรภาครัฐมีจ านวนไม่เพียงพอ ระบบการเงินในประเทศเมียนมา มีข้อจ ากัดและไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โครงสร้างพื้นฐานจ ากัดและการพัฒนาช้า ผู้ประกอบการขาดการส่งเสริมและพัฒนา และการเสริมสร้างเครือข่ายการค้า เครือข่ายธุรกิจท าได้ จ ากัด ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าชายแดน แบ่งออกเป็นปัจจัยภายใน ได้แก่ กฎหมายและระเบียบ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประสิทธิภาพในการให้บริการ โครงสร้างพื้นฐาน การบริหารจัดการชายแดน การพัฒนาผู้ประกอบการ และการเสริมสร้างเครือข่ายการค้า และ มีปัจจัยภายนอก ได้แก่ ความสงบเรียบร้อยในประเทศเมียนมา ระบบการเงินในประเทศเมียนมา ปัจจัยด้านประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่เมียนมา และคู่แข่งขันจากต่างประเทศ โดยมีแนวทางพัฒนา ขีดความสามารถในการแข่งขัน ได้แก่ ผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบ การสร้างความสัมพันธ์ อันดี การน าเสนอความต้องการข้อมูลเศรษฐกิจ การรวมกลุ่ม และควรน าเอาเทคโนโลยีมาปรับใช้ ข หน่วยงานภาครัฐ และหอการค้าจังหวัด ควรส่งเสริมผู้ประกอบการให้มีความพร้อม ร่วมมือวางแผน และจัดท าโครงการ และควรเสริมขีดความสามารถของผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ความเข้าใจกฎระเบียบการค้าชายแดนและการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่าง ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ค

abstract:

Title The guideline for competitiveness development of Thailand￾Myanmar border trade entrepreneurs, Tak province. Field Economics Name Mr. Prasert Juengkijrungroj Course NDC Class 65 Research on the guideline for develop the competitive Ability of Thailand￾Myanmar border-trade entrepreneurs in Tak province had the objectives to 1. study the potential situation of Thailand-Myanmar border-trade entrepreneurs in Tak Province, to 2. analyze the influencing factors and synthesized data to 3. propose a guideline for improving the competitiveness of trade entrepreneurs. This research involved literature review, journal analysis, research works, statistical data, and interviews with entrepreneurs from the Tak Chamber of Commerce. The data were examined against relevant concepts and theories. Data from documents and interviews were analyzed together with the description. The research reveals the following key points : 1. Strengths of Thailand￾Myanmar Border-trade entrepreneurs in Tak province : High potential and engage in businesses that cater to the demands of Myanmar consumers, mostly in the export of consumer goods. They can adapt quickly to market changes and establish good relationships with Myanmar traders. They exhibit strong unity among themselves and are more willing to take risks and accept failures compared to other traders. 2. Weaknesses; Budget constraints: Traders face budget limitations and financial constraints, resulting in a lack of trust in government support. They encounter challenges in trading and have limited access to information and networks. 3. Opportunities : Mae Sot is a strategically important city with a permanent border crossing and connecting bridges. It offers diverse raw materials, falls within the special economic zone, and has support from educational and tourism sectors. 4. Treats : Inadequate international laws and regulations hinder smooth trading operations, Shortage of government personnel affects service efficiency, Limited infrastructure development and slow progress impact trading activities, Traders' lack of promotion and development and restricted trading networks contribute to their limited capabilities. Factors influencing cross-border traders can be categorized into internal and external factors. Here are the main points : 1. Internal Factors : Laws and regulations, Government personnel, Infrastructure, Border management, Entrepreneur development. External Factors : Political stability in Myanmar, Financial system in Myanmar, Competitors ง from other countries. The guidelines for developing competitiveness include entrepreneurs should Understanding regulations, building relationships, presenting economic requirements, collaborative efforts, technological adaptation, capacity building.จ