Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การส่งเสริมเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ของเยาวชนไทย, (วปอ.9879)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ผศ.ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น, (วปอ.9879)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การส่งเสริมเจตคติต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเยาวชนไทย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประวีนา เอี่ยมยี่สุ่น หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ งานวิจัยเรื่อง การส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเยาวชนไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาเจตติของเยาวชนไทยที่มีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ๒) ศึกษาปัจจัยที่ มีผลต่อการส่งเสริมเจตคติของเยาวชนไทยที่มีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และ ๓) ศึกษาแนวทาง ในการส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเยาวชนไทย กลุ่มเป้าหมาย ที่จะดำเนินการศึกษา ประกอบด้วย เยาวชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่เป็นตัวแทนของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการศึกษา ข้าราชการ สื่อมวลชน ภาคธุรกิจ ผู้ปกครอง ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาแบบ ผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูล จากเยาวชนไทย อายุระหว่าง ๑๕-๒๕ ปี จำนวน ๒๒๓ คน โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน ๑ ฉบับ แบบสอบถามแบ่งออกเป็น ๒ ตอน ตอนที่ ๑ เป็นแบบสอบถามเพื่อวัดระดับเจตคติของเยาวชนไทยที่มีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ตอนที่ ๒ เป็นการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ และการวิจัยเชิง คุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ครู อาจารย์ ข้าราชการ สื่อมวลชน ภาคธุรกิจ และ ผู้ปกครอง จำนวน ๒๕ คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า ๑) เจตคติต่อการ เรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเยาวชนไทย โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านความรู้ความเข้าใจมีค่าเฉลี่ยสูง ที่สุด ค่าเฉลี่ยรองลงมา คือด้านพฤติกรรม และลำดับสุดท้ายคือ ด้านความรู้สึก ๒) ปัจจัยที่มีผลต่อ การส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ของเยาวชนไทย มี ๕ ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน แหล่งเรียนรู้ ผู้สอน สื่อการเรียนรู้ ๓) แนวทางการส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อ การเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มี ๖ ด้าน ได้แก่ด้านผู้สอน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านหลักสูตร ด้านแหล่งเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนการรู้ ด้านบริบททางสังคม ข้อเสนอแนะจากการวิจัย แนวทาง การส่งเสริมเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ครู อาจารย์เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความรู้ ความเข้าใจ สร้างเสริมความรู้ ความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ขาติไทย ต้องสร้างความเข้าใจถึงการ นำความรู้ไปใช้ ข

abstract:

Title Promoting Attitudes towards Studying History of Thai yout h Fiedld Social-Psychology Name Assistant Professor Dr. Praweena Aiemyeesoon Course NDC Class 65 This research aimed to 1) to study the attitudes of Thai youths towards learning history, 2) to study the factors affecting the promotion of Thai youth's attitude toward history learning and 3) To study ways to promotion good attitudes toward learning of history subject in Thai youths. The target group that will conduct the study consists of youth and stakeholders representing various sectors, including education, government officer, media, business sector and guardians. The researcher used blended learning both quantitative research data were collected from 223 Thai youths aged between 15-25 years old. A questionnaire was used. The questionnaire was divided into 2 parts. Part 1 was a questionnaire to measure the attitudes of Thai youths to the learning of history. Part 2 is a question about the needs of learning history. And qualitative research collects information by interviewing 25 teachers, lecturers, government officer, media, business sector and guardians using structured interviews. The results of the research were as follows: 1) Thai youth's attitude toward history learning the overall is high. When considering each side, it was found that all aspects had a high average level, ranked in descending order as follows the cognitive aspect had the highest average, secondary average is behavioral and the last order is feeling, 2) Factors affecting the promotion of good attitudes towards the study of history among Thai youths consisted of 5 aspects: content, teaching and learning activities; learning resources, teachers, learning materials and 3) Guidelines for promoting good attitudes towards learning history subjects consisted of 6 aspects: the teacher teaching activities, curriculum, learning resources learning media social context. The research recommendations, guidelines for promoting good attitudes towards learning history. Teachers are important factors in creating knowledge and understanding. Pride in Thai history must create an understanding of the application of historical knowledge.ค