เรื่อง: การใช้เทคโนโลยีดิทัลเพื่อเพิ่มโอกาส คุณภาพงานช่าง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม, (วปอ.9877)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายปรเมศวร์ นิสากรเสน, (วปอ.9877)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพผู้ประกอบอาชีพงานช่าง
เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายปรเมศวร์ นิสากรเสน หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพ
งานช่างพื้นฐานภายในบ้าน ทั้งปัจจัยเชิงโครงสร้าง เช่น ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยและปัจจัยเฉพาะ
สายอาชีพ เพื่อศึกษาการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมรายได้ในการ
ประกอบอาชีพของคนไทย และเพื่อเสนอแนวทางในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มโอกาส พัฒนาคุณภาพ
งานและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพงานช่างพื้นฐานภายในบ้านเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
โดย ทำการศึกษาวิเคราะห์จากข้อมูลที่เกี่ยวข้อง จนสามารถสรุปออกมาเป็นแนวทางการใช้เทคโนโลยี
ดิจิทัลเพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพผู้ประกอบอาชีพงานช่างเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้ดังนี้
1. ทำความเข้าใจถึงปัญหาที่ต้องการให้มีการแก้ไขและความต้องการที่อยากได้รับการตอบสนองของ
ทั้งช่างพื้นฐานภายในบ้านและเจ้าของบ้าน 2. นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้สร้างแพลตฟอร์ม และนำเสนอ
คุณค่าที่ช่วยแก้ปัญหาและตอบความต้องการของทั้งช่างพื้นฐานภายในบ้านและเจ้าของบ้าน 3. พัฒนา
ศักยภาพของช่างพื้นฐานภายในบ้านให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสามารถทำงานบนแพลตฟอร์ม
ได้ โดยช่วยพัฒนาความรู้ ทักษะ ทั้งในด้านเทคโนโลยี งานช่าง งานบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ช่างมี
ฝีมือ มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ มีความพร้อมในการร่วมงานกับแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะใน
การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มโอกาสและคุณภาพผู้ประกอบอาชีพงานช่างเพื่อลดความเหลื่อม
ล้ำทางสังคม ดังนี้ 1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1.1 เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัล
มาใช้สร้างแพลตฟอร์ม เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้ผู้ประกอบอาชีพงานช่างพื้นฐานภายในบ้านให้เกิด
ประโยชน์ในวงกว้าง เข้าถึงระดับท้องถิ่น โดยอาจทำได้ 2 แนวทางคือ รัฐบาลเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม
หรือรัฐบาลสนับสนุนให้ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) เป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม 1.2 เสนอให้
ภาครัฐสนับสนุนให้เกิดระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ที่เหมาะสมสำหรับแพลตฟอร์ม ตัวอย่างเช่น รัฐ
อาจช่วยเหลือโดยการสนับสนุนวงเงินหมุนเวียน ซึ่งอาจทำเองโดยอาศัยธนาคารของรัฐเป็นตัวกลาง
หรือ สนับสนุนให้เกิดธุรกิจด้าน financial technology ขึ้นบนแพลตฟอร์ม 1.3 เสนอให้ภาครัฐให้
การสนับสนุนพัฒนาศักยภาพแรงงานผู้ประกอบอาชีพงานช่างพื้นฐานภายในบ้านในท้องถิ่นอย่าง
ต่อเนื่อง 1.4 เมื่อได้ผลดี เสนอให้ภาครัฐพิจารณาขยายผลโดยนำแพลตฟอร์มไปใช้เพิ่มโอกาสสร้างงาน
สร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ เพิ่มเติม 2. ข้อเสนอแนะเชิงปฏิบัติการ
2.1 เสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในแต่ละท้องถิ่น ส่งเสริม สนับสนุนให้ช่างเข้าร่วมงานบน
แพลตฟอร์ม รวมถึงช่วยประชาสัมพันธ์ให้แพลตฟอร์มเป็นที่รู้จักแก่เจ้าของบ้านในชุมชนอย่างทั่วถึง
2.2 เสนอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ในการช่วย
พัฒนาความรู้ ทักษะในด้านที่จำเป็นต่าง ๆ ให้แก่แรงงานที่อยู่บนแพลตฟอร์ม
abstract:
Title Using digital technology to increase opportunities and quality of
mechanic professionals to reduce social inequality.
Field Science and Technology
Name Paramate Nisagornsen Course NDC Class 65
The purpose of this research is to study and analyze factors affecting home
service technician occupation, which are categorized into structural factor such as
inequality in the society and occupational factor related to home service technician
occupation. This research aims to study how can digital technology boost income and
improve quality of life for Thai people and to propose solutions for home service
technician to capitalize on this technology to increase job opportunities, improve
quality of works, and thus quality of life. If succeed, social inequality would
subsequently be reduced.The research is briefly summarized as follows: 1. Identify the
problems to be solved and needs from both home service technicianand homeowner,
2. leverage digital technology to build a platform offering values that satisfy the needs
of both sides, 3 To ensurehome service technicians are familiar with digital technology
and be able to work proficiently on the platform. This can be done by teaching
technological knowledge and developing technical skills, ensuring technicians gain trust
from homeowners who are platform customers.
Moreover, this research proposes strategies that could create impact to
the society by reducing inequality gap. The strategies are structured into 1. policy and
2. operational level. Policy level consists of 1.1 The government should bring in digital
platform to create more job opportunities for home service technicians country-wide,
which can be done in two ways: the government itself owns the platform or the
government encourages social enterprise to owns the platform, 1.2 The government
should not only bring in standalone platform, but also create ecosystem for the
platform. 1.3 The government should put an effort to consistently develop home
service technicians to reach their potential. 1.4 If home service platform succeeds,
platform for other occupations, which face similar problems, should be studied and
explored as well. Operational level consists of 2.1 Local government agency should
promote and encourage home service technicians to join the platform and also help
advertise it to homeowners locally, 2.2 Related government agency should collaborate with private sectors and ask them to take platform partner’s role such as establishing
technicians training program or ask them to use home services on the platform.ค