เรื่อง: การพัฒนาการเสนอขอรับสิทธิกำลังพลด้านสวัสดิการ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, (วปอ.9868)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี บัญชา ขาวงาม, (วปอ.9868)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การพัฒนารูปแบบการเสนอขอรับสิทธิกำลังพลด้านสวัสดิการ โดยใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย พลตรี บัญชา ขาวงาม หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหา ในการเสนอขอรับสิทธิกำลังพล
ด้านสวัสดิการปัจจุบัน 2) เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการพัฒนารูปแบบการเสนอขอรับสิทธิกำลังพล
ด้านสวัสดิการ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และ 3) เพื่อจัดทำแนวทางต้นแบบการเสนอขอรับ
สิทธิกำลังพลที่มีประสิทธิภาพด้านความรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการดำเนินการเสนอขอรับสิทธิกำลังพล
ด้านสวัสดิการ สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview)
โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจ่ายเงินสินไหมทดแทนในการประกันชีวิตของ
กองทัพบก จำนวน 2 นาย, ผู้บังคับบัญชา จำนวน 1 นาย และ ผู้รับสินไหมทดแทน จำนวน 2 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบการเสนอขอรับสิทธิกำลังพลกองทัพบกด้านสวัสดิการผ่านระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศได้ 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำความเข้าใจ การกำหนด การรวมความคิด
การสร้างตัวต้นแบบ และการทดลอง 2. การพัฒนารูปแบบการเสนอขอรับเงินค่าสินไหมทดแทน
ในการประกันชีวิตสำหรับกำลังพลของกองทัพบกที่ปฏิบัติหน้าที่ยามปกติ (พิทักษ์พล) เป็นการ
ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้สั้นลง และใช้เครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาทดแทน
งานเอกสารราชการในรูปแบบเดิม โดยแบ่งองค์ประกอบ ดังนี้(2.1) ด้านเครื่องมือ ปรับเปลี่ยนจาก
ใช้เอกสารราชการในรูปแบบกระดาษ เป็นใช้ระบบสารสนเทศกลางของรัฐบาลที่สนับสนุน
ให้ส่วนราชการใช้ ทำให้ลดต้นทุนในการดูแลรักษาระบบ (2.2) ด้านกระบวนการและขั้นตอนในการ
ทำงาน ได้โดยการปรับให้เหมาะสมกับเครื่องมือที่ใช้ และลดขั้นตอนการทำงาน โดยขั้นตอนที่ พัฒนา
ขึ้นมาใหม่ มีขั้นตอนการปฏิบัติ3. ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมที่มีต่อต่อสภาพการเสนอขอรับ
สิทธิกำลังพลด้านสวัสดิการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (
X
= 4.59, SD = .520) เมื่อพิจารณา
แบบรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงลำดับ ได้แก่ ด้านความรวดเร็วในการเสนอ
ขอรับสิทธิ ด้านคน ด้านการบริหารงาน ด้านความสะดวกในการเสนอขอรับสิทธิ ด้านงาน การรับสิทธิ
ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และความประหยัดเวลา ตามลำดับข
abstract:
Title Development of the model for the promotion of welfare personnel
rights using information technology
Field Science and Technology
Name Major General Buncha Kaongam Course NDC Class 65
The objectives of this research were 1. to study the conditions and problems of
the current welfare claims 2. To analyze guidelines for developing the model for
applying for welfare personnel rights using information technology systems and 3. to
develop a model approach for personnel entitlement proposals that are effective in
speed, shortening the processing time for personnel welfare claims. The tool used to
collect data is an in-depth interview by key contributors, including the Army's life
insurance claims payment specialist. 2 officers, commanding officer 1 officer and 2
indemnifiers. The findings concluded that 1. the proposal model for Army personnel
welfare rights through the information technology system can be completed in 5
stages: understanding, determination, combining ideas, prototyping, and
experimentation 2. The development of a life insurance claim proposal model for
Army personnel on regular guard duty (Armed Forces Guard) is a shortening of the work
process. And use information technology tools to replace traditional government
documents. The components are divided as follows: (2.1) Equipment, changing from
using official documents in paper format to using the central government information
system that encourages government agencies to use, thus reducing the cost of
maintaining the system (2.2) Processes and procedures can be optimized for the tools
used and reduce workflows. The newly developed procedure has a practical step
3. The trainees' satisfaction with the overall welfare entitlement condition was the highest
(
X
= 4.59, SD = .520). When considering each aspect, it was found that all aspects
were at the highest level in order, namely speed of claim, human resource,
administration, ease of application, work, receipt of rights through information
technology system, and time saving, respectively.ค