เรื่อง: แนวทางการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก, (วปอ.9867)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวบรียวรรณ์ สารกิจปรีชา, (วปอ.9867)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และ
ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นางสาวบรียวรรณ์ สารกิจปรีชา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
การวิจัยเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และ
ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับการ
ดำเนินการด้าน Soft Power ของประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับจุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส และความท้าทายในด้าน Soft Power ของไทย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับกลไกการ
ขับเคลื่อนของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยเพื่อส่งเสริม
ภาพลักษณ์และความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่
กำหนด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยขอบเขตของการวิจัย ได้แก่ ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการ
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Soft Power ของไทยและต่างประเทศ และขอบเขต
ด้านประชากร โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและภาคเอกชน
วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบแนวทางและกลไกการขับเคลื่อนของไทยกับต่างประเทศ และ
นำเสนอข้อมูล ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการ
ศึกษาวิจัยพบว่าภาพรวมการดำเนินงานและขับเคลื่อน Soft Power ในการส่งออกเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากลมีทั้งวัฒนธรรม 5F ได้แก่ อาหารไทย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ผ้าไทยและ
การออกแบบแฟชั่น มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัว เทศกาลและประเพณีไทย และ 5F Plus คือ
สินค้าอื่น ๆ ที่ไทยมีศักยภาพ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการส่งเสริมสถานะและเกียรติภูมิ
ของประเทศไทยในประชาคมโลก อย่างไรก็ดี แม้ว่าไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็ง แต่จุดอ่อนคือ
การดำเนินงานผลักดันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ยังไม่บูรณาการกัน ไม่มีการกำหนดเป้าหมายและ
ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบาย Soft Power แบบองค์รวมที่ชัดเจน โดยเฉพาะการขาดหน่วยงาน
เจ้าภาพหลักในการอำนวยการและประสานความร่วมมือ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อน Soft
Power ของไทยในเชิงนโยบาย โดยการจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนระดับชาติที่เป็นระบบและต่อเนื่อง และ
เชิงปฏิบัติการที่ครอบคลุมทั้งเป้าหมาย (Ends) วิธีการ (Ways) และทรัพยากรที่จำเป็น (Means)
รวมทั้งข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้ Soft Power ส่งเสริมบทบาท ภาพลักษณ์ที่ดีของ
ไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และ
ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก
ลักษณะวิชา การเมือง
ผู้วิจัย นางสาวบรียวรรณ์ สารกิจปรีชา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
การวิจัยเรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน Soft Power เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์และ
ความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพรวมเกี่ยวกับการ
ดำเนินการด้าน Soft Power ของประเทศไทยในปัจจุบัน วิเคราะห์สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับจุดแข็ง
จุดอ่อน โอกาส และความท้าทายในด้าน Soft Power ของไทย วิเคราะห์เปรียบเทียบกับกลไกการ
ขับเคลื่อนของต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยเพื่อส่งเสริม
ภาพลักษณ์และความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่
กำหนด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ โดยขอบเขตของการวิจัย ได้แก่ ขอบเขตด้านเนื้อหา เป็นการ
ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ Soft Power ของไทยและต่างประเทศ และขอบเขต
ด้านประชากร โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภาครัฐและภาคเอกชน
วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงพรรณนา โดยการรวบรวมข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลและเปรียบเทียบแนวทางและกลไกการขับเคลื่อนของไทยกับต่างประเทศ และ
นำเสนอข้อมูล ข้อเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อน Soft Power ของไทยอย่างเป็นระบบ ซึ่งผลการ
ศึกษาวิจัยพบว่าภาพรวมการดำเนินงานและขับเคลื่อน Soft Power ในการส่งออกเผยแพร่
ศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากลมีทั้งวัฒนธรรม 5F ได้แก่ อาหารไทย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ผ้าไทยและ
การออกแบบแฟชั่น มวยไทยและศิลปะการป้องกันตัว เทศกาลและประเพณีไทย และ 5F Plus คือ
สินค้าอื่น ๆ ที่ไทยมีศักยภาพ และการดำเนินนโยบายต่างประเทศในการส่งเสริมสถานะและเกียรติภูมิ
ของประเทศไทยในประชาคมโลก อย่างไรก็ดี แม้ว่าไทยมีทุนทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็ง แต่จุดอ่อนคือ
การดำเนินงานผลักดันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ยังไม่บูรณาการกัน ไม่มีการกำหนดเป้าหมายและ
ยุทธศาสตร์การดำเนินนโยบาย Soft Power แบบองค์รวมที่ชัดเจน โดยเฉพาะการขาดหน่วยงาน
เจ้าภาพหลักในการอำนวยการและประสานความร่วมมือ ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการขับเคลื่อน Soft
Power ของไทยในเชิงนโยบาย โดยการจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนระดับชาติที่เป็นระบบและต่อเนื่อง และ
เชิงปฏิบัติการที่ครอบคลุมทั้งเป้าหมาย (Ends) วิธีการ (Ways) และทรัพยากรที่จำเป็น (Means)
รวมทั้งข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป เพื่อให้ Soft Power ส่งเสริมบทบาท ภาพลักษณ์ที่ดีของ
ไทย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในเวทีโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
abstract:
Title Guidelines on driving Soft Power to promote Thailand’s Image and
Competitiveness on the International Stageข
Field Politics
Name Miss Breeyawan Sarakichpricha Course NDC Class 65
The research on “Guidelines on driving Soft Power to promote Thailand’s
image and competitive capacity on the international stage” has the purpose of
studying the overview of Thailand’s current Soft Power actions; analyzing the nature
of advantages, disadvantages, and challenges of Thailand’s Soft Power; analyzing and
comparing the driving forces of foreign countries; and proposing guidelines on driving
Thailand’s Soft Power to promote its image and competitiveness on the international
stage. The scope of research includes literature reviews and researches related to Soft
Power of Thailand and foreign countries, and in- depth interviews of representatives
from relevant agencies. The research method is qualitative descriptive research
through collecting and analyzing data, comparing the methods between Thailand and
foreign countries, and presenting the data and suggestions on driving Thailand’s Soft
Power systematically. The result showed an overview of Thailand’s actions on driving
Soft Power to promote Thai culture on the international stage. Such driving forces
includes“5F”(food, film, fashion, fighting, and festivals),“5F Plus”; and foreign policies
to promote its status and prestige within the international community. However,
despite cultural advantages, weaknesses are the lack of integration between each
sector’s Soft Power actions, the lack of a clear Picture of holistic goals and strategies
on implementing the Soft Power policy, and especially the lack of a primary host unit
to coordinate and facilitate cooperation. Researchers therefore provided guidelines on
driving Thailand’ s Soft Power through policies by establishing systematic and
consistent national driving forces, as well as through operations which cover the ends,
the ways, and the means of Soft Power. Researchers also provided suggestions for the
next research, with the goal of using Soft Power to promote Thailand’s positive role
and image and increase its competitiveness on the world stage efficiently and
sustainably.ค