เรื่อง: แนวทางการพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือประสบภัยแห่งชาติ (National Search and Rescue System) เพื่อรองรับแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่ประสบภัยแห่งชาติ, (วปอ.9840)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาวาอากาศเอก ธนาวัตร วัฒนธำรงค์, (วปอ.9840)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศ เพื่อรองรับ
แผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย นาวาอากาศเอก ธนาวัตร วัฒนธำรงค์ หลักสูตร วปอ. รุ่น ๖๕
การศึกษาวิจัย เรื่อง “แนวทางพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศ
เพื่อรองรับแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ” ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์
สภาวะแวดล้อมของระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย สอดคล้อง
ตามหลักการมาตรฐานสากลขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) พร้อมทั้งศึกษา
แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติ ปีพุทธศักราช ๒๕๖๔ ว่ายังมีข้อบกพร่อง
หรือข้อจำกัดในด้านใดบ้าง โดยดำเนินการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของระบบ
การค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศ และหาแนวทางพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตของ
กองทัพอากาศ เพื่อรองรับแผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติให้เป็นไปตาม
มาตรฐานสากล
จากการวิจัย พบว่าแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัยแห่งชาติ พ.ศ.
๒๕๖๔ ได้ใช้กรอบแนวคิดตามมาตรฐานความปลอดภัยผนวกที่ ๑๒ องค์การการบินพลเรือนระหว่าง
ประเทศ (ICAO) ด้านการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย เป็นแนวทางในการพัฒนา
ระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยของประเทศไทย มีข้อกำหนดการดำเนินงานตาม
ข้อตกลงสนธิสัญญาชิคาโก ค.ศ.๑๙๔๔ (Convention on International Civil Aviation, 1944) ให้
ให้บริการด้านการค้นหาและช่วยชีวิต ให้อำนาจและหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและ
ช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย (สกชย.) ตามกฎหมายในการค้นหาและช่วยชีวิตทางอากาศรองรับ
การปฏิบัติงาน ตลอดจนให้การสนับสนุน ครอบคลุมพื้นที่บนพื้นดิน และทางทะเล ทำหน้าที่เป็นศูนย์
ประสานงานและวางแผนภารกิจค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย และกำหนดให้กองทัพอากาศ
เป็นหน่วยงานหลักในการปฏิบัติภารกิจเป็น หน่วยค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัย (Search
and Rescue Unit) ให้การสนับสนุนงานด้านต่าง ๆ ที่วางกำลังครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ (Search and
กลับ
ลับ
Rescue Region) สำนักงานคณะกรรมการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัยรับผิดชอบ
ภารกิจการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยโดยตรง แต่ทำหน้าที่แค่เพียงรับแจ้งเหตุของ
อากาศยานประสบภัยเท่านั้น ไม่มีศักยภาพในการปฏิบัติการด้วยตนเอง จำเป็นที่จะต้องร้องขอจาก
หน่วยงานที่มียุทโธปกรณ์ และบุคลากร ที่มีความสามารถมาสนับสนุน และพบว่ายังไม่มีหน่วยงาน
ภาคอากาศที่สามารถปฏิบัติการบินค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยได้ตลอด ๒๔ ชม. และ
จากแผนค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยปี ๒๕๖๔ เขียนขั้นตอนการปฏิบัติไว้เพียงกว้างๆ
ยังไม่ได้ระบุหรือกำหนดผู้รับผิดชอบ และอำนาจสั่งการในการปฏิบัติอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม
ทั้งนี้กองทัพอากาศมีความพร้อมที่จะพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยชีวิตกองทัพอากาศเพื่อรองรับ
แผนการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติให้ได้ตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด โดย
ขอเสนอแนวทางพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติให้รัฐบาล
จัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาระบบการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานประสบภัยแห่งชาติให้สามารถ
ปฏิบัติการได้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทั้งทางบก และทางน้ำ ได้ตลอด ๒๔ ชม.ตามมาตรฐานที่
ICAO กำหนด พร้อมทั้งเสนอกระทรวงคมนาคมเป็นเจ้าภาพในการปรับปรุงแผนค้นหาและช่วยเหลือ
อากาศยานประสบภัยแห่งชาติให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติ โดยให้ผู้มีอำนาจที่สามารถสั่งการได้ทุก
หน่วยงานในแผนเป็นผู้ลงนาม ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานเขียนแผนการปฏิบัติของหน่วย
เพื่อรองรับแผนการค้นหาและช่วยอากาศยานประสบภัยแห่งชาติ รวมทั้งจัดทำความตกลงว่าด้วย
ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นรูปธรรมตามแนวทางการพัฒนาระบบการค้นหาและ
ช่วยชีวิตกองทัพอากาศให้มีประสิทธิภาพพร้อมรับรองรับการปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยเหลือ
อากาศยานที่ประสบภัยให้ได้ตลอด ๒๔ ชม. ครอบคลุมทั่วประเทศ
ขลับ
ลับ
abstract:
Title Guidelines for developing the Royal Thai Air Force Search and
Rescue support the National Search and Rescue Plan.
Field Military
Name Gp Capt Thanawat Wathanathumrong Couse NDC Class 65
Research study on “Guidelines for developing the Royal Thai Air Force
Search and Rescue support the National Search and Rescue Plan”. This issue aims to
analyze the environmental of Search and Rescue system. Conforming to the principles
of international standards of the International Civil Aviation Organization (ICAO), along
with studying the national search and rescue plan in 2021 shortcomings or limitations.
By conducting an analysis of the strengths, weaknesses, opportunities, and obstacles
of the RTAF SAR system and finding to develop the Air Force's search and rescue
system to support the national search and rescue international standards.
From the research, it was found that the National Search and Rescue Plan
in 2021 uses a conceptual framework according to the International Civil Aviation
Organization (ICAO) Annex 12 Safety Standards on Search and Rescue. It is a guideline
for developing the search and rescue system for aircraft in distress in Thailand. There
are operational requirements in accordance with the Chicago Treaty of 1944
(Convention on International Civil Aviation, 1944) to provide search and rescue services.
Give powers and duties to the Office of the Search and Rescue Committee (SOC) in
accordance with the law to search and rescue by air to support operations. as well as
providing support covers areas on land and sea. Serves as a coordination and planning
center for search and rescue missions for aircraft in distress. and designated the RTAF
as the main agency to carry out its mission. The Search and Rescue Unit for distressed
คลับ
ลับ
aircraft (Search and Rescue Unit) provides support in various fields covering the area
of responsibility (Search and Rescue Region). The Office of the Search and Rescue
Committee for Disaster Aircraft is responsible for the search and rescue mission for
distressed aircraft. direct danger but it only serves to receive notification of an aircraft
in distress. There is no capacity for autonomous operation. It is necessary to request
from agencies that have equipment and personnel with the ability to support. And it
was found that there is still no air agency that can carry out search and rescue
operations for aircraft in distress 24 hours a day. And from the 2021 search and rescue
plan for aircraft in distress, the procedures for operations are only broad. The
responsible person has not yet been identified or assigned. and the authority to
command action clearly and concretely. The Royal Thai Air Force is ready to develop
the Royal Thai Air Force search and rescue system to support the national search and
rescue plan for aircraft in distress to meet the standards set by ICAO.
We would like to propose Guidelines for developing the national search
and rescue system for aircraft in distress by the government allocate budget to
develop the national search and rescue system for aircraft in distress to be able to
cover areas of responsibility on land and water all 24 hours, in accordance with the
standards set by ICAO, as well as propose the Ministry of Transport to be the host for
improving the plan. Search and rescue aircraft in national disasters to ensure clarity in
operations. By having an authorized person who can command every agency in the
plan be the signatory. Have every relevant agency write a unit action plan to support
the national search and rescue plan. Including making an agreement on cooperation
with relevant agencies to be concrete in accordance with the guidelines for developing
the RTAF SAR to be efficient and ready to support search and rescue missions for
aircraft in distress at all times. 24 hours, covering the entire country.
งลับ
ลับ