Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการภายในส่วนราชการกระทรวงกลาโหม, (วปอ.9835)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลอากาศตรี ธนชัย อากาศวรรธนะ, (วปอ.9835)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการภายในส่วนราชการ กระทรวงกลาโหม ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลอากาศตรี ธนชัย อากาศวรรธนะ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 โครงการวิจัยแนวทางการพัฒนาการจัดการสวัสดิการภายในส่วนราชการ กระทรวงกลาโหมมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและวิเคราะห์สถานการณ์การจัดสวัสดิการของส่วน ราชการภายในกระทรวงกลาโหม วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระบบการบริหารจัดการสวัสดิการของ หน่วยราชการภายในกระทรวงกลาโหมกับหน่วยงานราชการอื่น และสร้างแนวทางการบริหารจัดการ ในการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการที่มีประสิทธิภาพในบริบทของส่วนราชการ ภายในกระทรวงกลาโหม รวมถึงจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาระบบการจัดสวัสดิการ ภายในส่วนราชการของส่วนราชการภายในกระทรวงกลาโหม ดำเนินงานใช้กรณีศึกษาส่วนราชการ กองทัพอากาศ และหน่วยงานกรณีศึกษา 2 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจาย เสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย โดยดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 การศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดสวัสดิการภายในส่วนราชการของหน่วยราชการ กองทัพอากาศดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดำเนินการโดยใช้การสัมภาษณ์กับผู้บริหารด้านการจัด สวัสดิการของหน่วยราชการกองทัพอากาศ ผลการศึกษาพบว่าสภาพปัญหาทั้งในเชิงบริบท ปัญหา ด้านปัจจัยนำเข้าและ ปัญหาด้านกระบวนการ จากการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกับหน่วยงาน กรณีศึกษาพบว่า แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสามารถจำแนกเป็นสองส่วน ได้แก่ ส่วนที่ พัฒนาได้ด้วยระบบการบริหารงานภายในหน่วยงาน และส่วนที่พัฒนาโดยต้องอาศัยกลไกภายนอก ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้หน่วยราชการกลาโหมมีนโยบายมุ่งผลสัมฤทธิ์ด้านการจัด สวัสดิการ และให้หน่วยงานราชการอื่นในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมายพิจารณาพิจารณาปรับปรุง กฎหมายให้มีความทันสมัยขึ้น และมีข้อเสนอแนะระดับปฏิบัติการให้พิจารณาโครงสร้างการ บริหารงานที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานภายในหน่วยงานและใช้ข้อมูลผลลัพธ์พยากรณ์เพื่อวางแผน แนวทางพัฒนาสวัสดิการ และเสนอให้มีการศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดสวัสดิการของหน่วย ราชการอื่น เพื่อรับทราบสภาพปัญหาการจัดสวัสดิการในบริบทปัจจุบันและหาแนวทางการพัฒนาการ จัดสวัสดิการสำหรับหน่วยงานราชการในระดับประเทศข

abstract:

Title The Development Guidelines for Internal Welfare Management in the Ministry of Defense Field Social – Psychology Name AVM Thanachai Argradwatana Course NDC Class 65 This research project aims to study the current state of welfare management within the Ministry of Defense involving comparative analysis of welfare management systems between different government agencies and aims to create effective management for developing an efficient welfare system for Ministry of Defense. The study focuses on two case study organizations: The Office of the National Broadcasting and Telecommunications Commission (NBTC) and Chulalongkorn University. The research was conducted between December 2022 and May 2023. The research study examined the problems related to internal welfare management in the Air Force unit of the Ministry of Defense. It included gathering data on demographics, welfare concepts, evaluating the CIPP model, and analyzing reports on welfare management in public sector organizations as case studies. Additionally, informal interviews were conducted with key personnel responsible for welfare management in the Air Force unit. The research findings identified Context, Input, and Process based on CIPP model analysis.The development guidelines can be categorized into two parts. The first part involves internal development within the organization, while the second part requires external mechanisms. The researcher proposes policy recommendations to ensure the effectiveness of welfare development within the Ministry of Defense. Additionally, recommendations are provided for other government agencies to consider the welfare issues and make necessary improvements. To enhance coordination within the organization and align future plans, the research suggests conducting a practical study on the management structure that will have an impact on both internal unit operations and utilizing result data for analyzing future trends. This study will aid in the development of welfare management for government agencies at the national level.ค