เรื่อง: แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดน เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน, (วปอ.9824)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายดิเรก คชารักษ์, (วปอ.9824)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดน เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์
ของอาเซียน
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายดิเรก คชารักษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ส่งผลต่อปริมาณการค้าชายแดนที่เพิ่มมากขึ้น
จากข้อมูลสถิติมูลค่าการค้าชายแดนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ปี พ.ศ. 2560 – 2565 ไทยได้เปรียบ
ดุลการค้ากับทั้ง 4 ประเทศ (เมียนมา ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย) แต่ผู้ศึกษาพบว่าทิศทางการค้า
ชายแดนเติบโตช้าโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3 ด้วยข้อจำกัดด้านกำลังซื้อ กฎระเบียบและกระแส
โลกใหม่ โดยตลาดการค้าผ่านแดนนับวันยิ่งมีความน่าสนใจมากขึ้น และปัจจัยลบด้านธุรกิจโลจิสติกส์
ของประเทศไทยมีต้นทุนซึ่งมีสัดส่วนที่สูงกว่ามาเลเซียและสิงคโปร์ จากประเด็นปัญหาดังกล่าว
เห็นควรศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาการค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลาง
โลจิสติกส์ของอาเซียน
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการค้าชายแดน ปัญหาอุปสรรค ความต้องการ ข้อเสนอแนะ
เพื่อหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนในการสร้างมาตรฐานด้านโลจิสติกส์ และเสนอแนวทาง
การพัฒนาการค้าชายแดน เพื่อเพิ่มศักยภาพยกระดับสู่มาตรฐานการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของ
อาเซียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง บทความ
รายงานทางวิชาการ รวมถึงสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จากหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องด้านการนำเข้าและส่งออกที่ตั้งอยู่ติดเขตแดนกับประเทศคู่ค้าชายแดนทั้ง 4 ประเทศ นำข้อมูล
ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และผ่านเครื่องมือทางการบริหาร SWOT Analysis และ
TOWS Matrix ได้แนวทางการพัฒนาการค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน
ผลการศึกษาพบว่า การค้าชายแดนในปัจจุบันไม่ได้เป็นแค่การซื้อมาขายไปเพียงสองประเทศ
แต่เป็นเรื่องของการค้าที่เชื่อมต่อไปไกลอีกหลายประเทศ การค้าชายแดนยังรวมถึงการเพิ่มมูลค่า
ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการใช้ประโยชน์จากการผ่านแดนไปยังประเทศที่สามอีกด้วย ปัจจัยเชิงบวก
ที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนมากที่สุดคือ อุปสงค์การพึ่งพาสินค้าจากไทย ความนิยมต่อสินค้าไทย
รองลงมาคือ ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งและการสื่อสารที่มีคุณภาพ และการมีทำเล
ที่ตั้งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค ส่วนปัจจัยเชิงลบที่ส่งผลต่อการค้าชายแดนคือ ปัญหาภายในประเทศ
เพื่อนบ้าน ปัญหาความไม่แน่นอนของกฎระเบียบของเพื่อนบ้าน และเสถียรภาพของสกุลเงินของ
ประเทศเพื่อนบ้านในการชำระหนี้มาตรฐานระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่ต้องเร่งปรับปรุงและ
พัฒนามากที่สุดคือ ด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ล้าช้าและด้านต้นทุนการขนส่งที่สูง แนวทางการพัฒนา
การค้าชายแดนเพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของอาเซียน แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
ระดับองค์กร ระดับระหว่างองค์กร และระดับระหว่างประเทศ แต่ละระดับมีแนวทางย่อยเพื่อให้เกิด
การพัฒนาทุกมิติ 4 แนวทาง คือแนวทางเชิงรุก แนวทางเชิงป้องกัน แนวทางเชิงแก้ไข และแนวทางเชิงรับข
abstract:
ABSTRACT
Title The Approach on Cross-Border Trade Development to Support
ASEAN Logistics Hub
Field Economics
Name Mr. Direk Khacharak Course NDC Class 65
The ASEAN Economic Community (AEC) entry has led to an increase in cross-border
trade volume. Statistical data from 2017 to 2022 shows the highest value of cross-border trade.
Thailand enjoys a trade surplus with all 4 countries: Myanmar, Laos, Cambodia, and Malaysia.
However, the researcher discovered that the growth of cross-border trade has been slow,
expanding by 1.3 percent, due to constraints on purchasing power and new world rules and
trends. And the negative factor of logistics business in Thailand has a higher proportion of cost
than Malaysia and Singapore. Considering these factors, it is important toconduct further study in
preparation for the development of border trade to support ASEAN's logistics hub.
The objective is to study cross-border trade conditions, problems, obstacles,
needs, recommendations, factors affecting cross-border trade in establishing logistics standards.
and propose guidelines for the development of border trade to increase the standard of
ASEAN's logistics hub. The study was conducted from relevant research, articles, academic
papers, as well as in-depth interviews with key informants from agencies involved in import export with the border countries. Analyze data with content analysis SWOT and TOWS Matrix
tools, to the approach on cross-border trade development to support ASEAN logistics hub.
The result found that contemporary cross-border trade extends beyond bilateral
transactions and involves trade connections with multiple countries. Moreover, cross-border trade
involves adding value by leveraging the advantages gained from transiting to third countries. The
most significant positive factor impacting cross-border trade is demand on Thai products. The most
negative factors are problems in neighboring countries, instability of neighboring regulations.
Thailand's logistics system standard that requires the most improvement is infrastructure and
transportation costs.The approach for cross-border trade development to support ASEAN logistics
hub is categorized into 3levels: the organization level, organizational level and international level.
Each of these levels consists of 4 sub-approaches: proactive, preventive, corrective, and defensive