Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของไทยเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์, (วปอ.9821)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายดนุชา พิชยนันท์, (วปอ.9821)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของไทยเพื่อรองรับสังคมสูงวัย อย่างสมบูรณ์ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย นายดนุชา พิชยนันท์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรสู่สังคมสูงวัยเป็นหนึ่งในแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ส าคัญที่เกิดขึ้นทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมสูงวัยมาตั้งแต่ปี 2548 และคาดการณ์ว่าจะ กลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ภายในปี 2566 และสังคมสูงวัยระดับสุดยอดภายในปี 2576 ตามล าดับ การเป็นสังคมสูงวัยส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมของไทย ในหลายมิติ และยังส่งผลต่อเนื่องถึงรูปแบบและแนวทางการจัดระบบความคุ้มครองทางสังคมของ ประเทศ โดยความต้องการในการสนับสนุนดูแลจากภาครัฐจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยส าคัญ อย่างไรก็ตาม ระบบความคุ้มครองทางสังคมของไทยที่มีอยู่ในปัจจุบันยังเป็นการออกแบบที่อยู่บนพื้นฐานของบริบท ทางโครงสร้างประชากร เศรษฐกิจ และสังคมในอดีต อีกทั้งยังมีข้อจ ากัดและความท้าทายในหลายด้าน ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงการพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมของไทยให้มีความสามารถ รองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นสังคมสูงวัยในอนาคต ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ระบบความคุ้มครองทางสังคมของไทยมีความครอบคลุม ในสวัสดิการตามช่วงวัยที่ส าคัญตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยผู้สูงอายุ มีการประยุกต์ใช้สวัสดิการนโยบายความ ช่วยเหลือทางสังคม ร่วมกับนโยบายการประกันสังคม อีกทั้งมีระบบสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่ ผู้สูงอายุสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในระยะ ต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจ ากัดในเรื่องของความเพียงพอเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ของสวัสดิการ ภาระทางการเงินและการคลังในระยะยาวของภาครัฐ รวมถึง ช่องว่างด้านนโยบาย/มาตรการที่เป็นไป ในลักษณะแยกส่วน จึงน ามาสู่ข้อเสนอแนะของการศึกษาเกี่ยวกับการบูรณาการระบบและฐานข้อมูล ความคุ้มครองทางสังคม การปรับปรุงโครงสร้างภาษีการพิจารณาประยุกต์ใช้ระบบการออมภาคบังคับ การพิจารณาปรับปรุงระดับสิทธิประโยชน์ของเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุควบคู่ไปกับการส่งเสริมการมีงานท า ในกลุ่มที่มีศักยภาพ อันจะน าไปสู่การยกระดับระบบความคุ้มครองของไทยให้มีความพร้อมรับต่อบริบท การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรมากยิ่งขึ้นข

abstract:

Title The development of Thailand’s social protection system to serve complete aged society Field Social-Psychology Name Danucha Pichayanan Course NDC Class 65 Demographic change towards aging society has been obviously one of the global megatrends and major challenge nationwide. Thailand has completely been aging society since 2005 and is expected to become a complete-aged society by 2023 and super-aged society by 2033 respectively. The aging society widely affects Thailand’s socio-economic in many dimensions and its effects lead to the challenge of national social protection system as the demand for government support would increase significantly. However, the social protection system in Thailand was set on the demographic, economic and social context of the previous period without the consideration towards the upcoming trend. Furthermore, there are some limitations and challenges leading to the aim of this study. The propose of this study is to analyze the capability of social protection system in order to support Thailand’s demographic changes towards aged society in the future. Overall, the study’s findings reveal that Thailand’s social protection system covers protection of all ages starting from infancy, childhood, labor force, senior citizens and vulnerable groups. The integration of social insurance, and social assistance has been integrated within the system in order to ensure people’s quality of life. For those who are elderly people, there is also pension system to support the income security. This reflects the ability to accommodate the demographic change. Nevertheless, there are still limitations in terms of the adequacy of welfare benefits, fiscal constraint, and the fragmentation of the system. This led to the study’s policy recommendations on the integration of social protection systems and databases, tax reform, the enhancement of the compulsory saving with multi-tier system, the improvement of old age allowance benefit together with the promotion of employment. ค