เรื่อง: การศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ อย่างยั่งยืนของประเทศไทย, (วปอ.9804)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์, (วปอ.9804)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง การศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราจากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำอย่าง
ยั่งยืนของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
การศึกษาและพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราจากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำอย่างยั่งยืนของ
ประเทศไทย จะเป็นการสุ่มเก็บข้อมูลของผู้มีส่วนได้เสียในอุตสาหกรรมยางพาราตลอดทั้งห่วงโซ่
อุปทาน โดยอุตสาหกรรมยางพาราที่เป็นต้นน้ำ คือ เกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนอุตสาหกรรมยางพาราที่เป็น
กลางน้ำและปลายน้ำ คือ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) สำหรับการดำเนินการชี้บ่งผู้มีส่วนได้เสีย
พบว่าอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทานมีผู้มีส่วนได้เสียหลัก ๆ คือ เกษตรกรชาวสวนยาง พ่อค้า
คนกลาง และร้านค้าที่ขายอุปกรณ์การผลิต ส่วนปัญหาที่พบในอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน
ยังคงพบปัญหาที่สำคัญเช่น การจับตัวของยางก้อนถ้วยยังคงมีการใช้กรดซัลฟิวริกในการจับตัว ต้นทุน
ในกระบวนการผลิตที่สูง การจัดจำหน่ายส่วนใหญ่จะจัดจำหน่ายผ่านพ่อค้าคนกลางซึ่งไม่สามารถ
ต่อรองเรื่องราคาได้ และปัจจุบันยังพบว่าวัตถุดิบยางพารามีราคาถูก เมื่อพิจารณาลึกลงไปในส่วนของ
การจัดลำดับความสำคัญของการทบทวนสถานะเริ่มต้นยังคงพบว่า อุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่
อุปทานให้ความสำคัญด้านคุณภาพ ด้านผลผลิต ด้านราคาและการต่อรอง ด้านต้นทุน ด้านสิ่งแวดล้อม
และด้านการจัดจำหน่าย/กระจายสินค้า ตามลำดับ
ดังนั้นจากประเด็นปัญหาดังกล่าวสามารถดำเนินการเพื่อหาแนวทางในการพัฒนา
อุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยอาศัยการวิเคราะห์ SWOT Analysis และดำเนินการ
จัดทำยุทธศาสตร์ในแต่ละประเด็น เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในทุก ๆ มิติ พร้อมทั้งดำเนินการ
ประเมินความเสี่ยงและแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคม
ผู้สูงอายุ แรงงานเข้าสู่ตลาดน้อย เกษตรกรหันไปปลูกพืชชนิดอื่นมากกว่าปลูกต้นยางพารา เทคโนโลยี
ของประเทศไทยล้าสมัย และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ยางมีการใช้งานยางสังเคราะห์แทนยางธรรมชาติเพิ่มมาก
ขึ้น และดำเนินการเพื่อหาแนวคิดในการพัฒนายางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเริ่มต้นจากการส่งเสริมและ
ให้ความรู้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยดำเนินการจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานสู่ความยั่งยืน ซึ่ง
เป็นการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนข
abstract:
Title The sustainable development of Thailand's natural rubber
(NR) industry from the upstream to downstream
Field Economics
Name MR Chuwit Jungtanasomboon Course NDC Class 65
The sustainable development of Thailand's natural rubber (NR) industry,
from the upstream to downstream, involves collecting data from stakeholders
throughout the value chain. The upstream sector comprises rubber farmers, while the
midstream and downstream sectors include companies like North East Rubber Public
Co., Ltd. responsible for capturing data on stakeholders. Key stakeholders in the entire
value chain of the rubber industry include rubber farmers, middlemen traders, and
equipment suppliers. However, significant challenges persist in the industry, such as the
continued use of sulfuric acid in the coagulation of latex, high production costs,
predominant reliance on middlemen for distribution, and the availability of low-cost
raw materials. Upon closer examination of the prioritization of initial conditions, it is
evident that the rubber industry, throughout the entire value chain, prioritizes quality,
productivity, price negotiation, cost, environmental factors, and distribution.
Therefore, addressing these challenges requires conducting a SWOT analysis
and developing strategies for each issue to achieve sustainable development in all
dimensions. Additionally, risk assessment and management strategies need to be
implemented, considering factors such as transitioning to an aging society, a diminishing
labor market, diversification of crops by farmers, outdated technology in Thailand,
increased usage of synthetic rubber by manufacturers, and fostering ideas for the
development of the rubber industry across the entire value chain. The first step is to
promote and educate rubber farmers, implementing projects to promote sustainable
development in the value chain, utilizing economic models for sustainable
development.ค
ค ำน ำ
รายงานการวิจัยเรื่อง “การศึกษาและพัฒนาอุตสากรรมยางพารา จากต้นน้ำ สู่ปลายน้ำ
อย่างยั่งยืนของประเทศไทย” ซึ่งเป็นการสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลในอุตสาหกรรมยางพาราตลอด
ทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยดำเนินการศึกษาผู้มีส่วนได้เสียของอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน
ดำเนินการทบทวนสถานะเริ่มต้นของอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยอุตสาหกรรมยางพารา
ที่เป็นต้นน้ำ คือเกษตรกรชาวสวนยาง ส่วนที่เป็นกลางน้ำและปลายน้ำ คือ บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด
(มหาชน) มีการจัดลำดับความสำคัญในแต่ละด้านตามลำดับดังนี้ ด้านคุณภาพ ด้านผลผลิต ด้านราคาและการ
ต่อรอง ด้านต้นทุน ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการจัดจำหน่าย/การกระจายสินค้า จากนั้นดำเนินการศึกษา
วิเคราะห์ปัญหาในการดำเนินงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพื่อหาแนวทางและ
ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราทั้งห่วงโซ่อุปทาน แล้วดำเนินการประเมินความเสี่ยง
และแนวทางในการจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาต่อยอด โดยใช้หลักคิดตามแนวทางการ
สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กระจายรายได้ โอกาส และความมั่งคั่งแบบทั่วถึง (Inclusive
Growth) ด้วยการใช้โมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่า “BCG Model” ซึ่งเป็นการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ
เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว
(Green Economy) ไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม และ
สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) และสอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจ
พอเพียง (SEP) ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทย
(นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์)
นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
ผู้วิจัยง
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยฉบับนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความช่วยเหลือ ความอนุเคราะห์จากเกษตร
ชาวสวนยางจำนวน 300 ท่าน และบริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) ในการตอบ
แบบสอบถาม และผู้วิจัยขอขอบคุณทุกท่าน ที่ให้ความช่วยเหลือตลอดระยะเวลาของการทำวิจัย
ซึ่งหากไม่ได้ความช่วยเหลือของทุกท่านแล้วงานวิจัยฉบับนี้คงไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ผู้วิจัยจึงขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างสูง
ขอขอบคุณคณาจารย์ลักษณะวิชาการเศรษฐกิจ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรทุกท่าน
ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ อบรมสั่งสอน และให้คำแนะนำผู้วิจัยตลอดระยะเวลาที่ศึกษา
เล่าเรียน ขอขอบคุณ พ.อ.หญิง รัชฎา แดงปุ่น พ.อ.หญิง ฐานีย์ บุญสิลา พล.ท.นักรบ บุญบัวทอง
และ พล.ท.อำนาจ เลิศหิรัณย์ที่ให้คำปรึกษา ตรวจทานวิจัย และอบรมสั่งสอนผู้วิจัยมาตลอด
ผู้วิจัยขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณพี่ ๆ เพื่อน ๆ ภาควิชาการเศรษฐกิจ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรทุกท่าน
ที่คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจโดยตลอดการเรียนและทำงานวิจัย
ขอขอบคุณ คุณพ่อนรินทร์ จึงธนสมบูรณ์คุณแม่ชุม จึงธนสมบูรณ์ที่ให้กำลังใจ
ให้ความรัก เลี้ยงดู อบรมสั่งสอน สนับสนุนส่งเสริม และขอขอบคุณครอบครัวที่ข้าพเจ้ารักยิ่ง
ที่คอยให้กำลังใจและอยู่เคียงข้างผู้วิจัยตลอดมา
ประโยชน์ที่เกิดจากงานวิจัยนี้เป็นผลมาจากบุคลากรที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สามารถ
ทำงานวิจัยไปได้อย่างราบรื่น และลุล่วงไปได้ด้วยดีจึงขอขอบพระคุณอย่างสูง ณ โอกาสนี้
(นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์)
นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
ผู้วิจัยจ
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
Abstract ข