Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: ยุทธศาสตร์การรับกลับสู่สังคมแก่สมาชิกขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ จชต., (วปอ.9795)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย, (วปอ.9795)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง ยุทธศาสตร์การรับกลับสู่สังคมแก่สมาชิกขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย พลตรี ชัยวัฒน์ สาน้อย หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๕ ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา ประมาณ ๒๐ ปี เป็นผลทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐและ ทางราชการ อีกทั้ง งบประมาณจำนวนมหาศาลได้ถูกใช้ไปในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา หน่วยงานภาครัฐได้มีการดำเนินงานในหลายมิติ มุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบโดยเร็ว อย่างไรก็ตามด้วยมิติ ที่มีความซับซ้อน เป็นผลทำให้ขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงประสบความสำเร็จในการท้าทายความชอบธรรมของรัฐ ในการปกครองพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเงื่อนไขที่สำคัญที่สุดของฝ่ายขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงคือมวลชน ทั้งในส่วนของมวลชนที่เป็นสมาชิกเข้าร่วมการปฏิบัติการต่าง ๆ แบบเปิด มวลชนที่เคลื่อนไหวด้านการเมือง และภาคประชาสังคม ตลอดจนมวลชนที่มีแนวความคิดสนับสนุนหรือฝักใฝ่ ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีความพยายาม ในการลดจำนวนมวลชนของขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้วยการปฏิบัติทางยุทธวิธีและ ความพยายามแบบสันติวิธี ฝ่ายความมั่นคงมีพัฒนาการในการปฏิบัติทางยุทธวิธีได้อย่างมีความแม่นยำมากขึ้น ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยรอบและการสูญเสียที่ไม่จำเป็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามความ พยายามในการใช้สันติวิธีในการลดจำนวนสมาชิกขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรงคราวละปริมาณมากยังสามารถ ได้รับการเสริมสร้างให้มีประสิทธิภาพและเป็นไปตามมาตรฐานสากลมากขึ้น รายงานฉบับนี้ได้ทบทวน องค์ความรู้ที่ได้มีการจัดทำไว้แล้วในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการก่อเหตุรุนแรงและทำการศึกษาสภาพภูมิ สังคมและปัญหาในพื้นที่ ด้วยการเก็บข้อมูลแบบปฐมภูมิจากผู้มีประสบการณ์ตรง ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่ รัฐและสมาชิกขบวนการผู้ก่อเหตุรุนแรง เพื่อให้สามารถให้บริบทของสถานการณ์เพื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์ การวางแผนสถานการณ์ เป็นผลทำให้สามารถให้แนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์ อันมีความสอดคล้องกับบริบท ของสภาพปัญหาในพื้นที่มากที่สุด ตลอดจนระบุปัจจัยที่เป็นประโยชน์รัฐบาลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการดำเนินยุทธศาสตร์ได้ต่อไป โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ ปัจจุบันรัฐบาลมีเครื่องมือในการดำเนิน ยุทธศาสตร์ที่จำเป็นให้ครอบคลุมในทุกมิติอย่างไรก็ตามเครื่องมือต่าง ๆ ล้วนกระจายตัวอยู่ในอำนาจหรือ ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่แตกต่างกัน ซึ่งปัญหาเชิงระบบดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยหลักการทรงงาน ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๙ ด้วยการ “บริหารงานแบบองค์รวม” หน่วยงานต่าง ๆ มีการบูรณาการและมีเอกภาพในการดำเนินงาน มีนโยบายที่อยู่บนพื้นฐานของการ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องอยู่บนพื้นฐานของความ “รู้ รัก สามัคคี” ข

abstract:

Title Strategy to reintegrate the members of the insurgents in southern border provinces of Thailand Field Strategy NameMajor General Chaiwat Sanoi Course NDC Class 65 Insurgency in southern border provinces of Thailand is a problematic situation for Thailand for around 20 years, which led to the loss of lives and asset of the people, including the lives of government officials and infrastructure. Moreover, the colossal amount of government spending had been used to finance various attempts to resolve the situation. However, due to the complexity of the situation that the insurgents have been challenging the government legitimacy to govern by using their people utilizing both military and political movement of the insurgents. This created the complex situation. The government have been trying to resolve the situation in different aspect including to reduce the number of members and supporters of the insurgents, with an improvement on tactical operation to be more surgical and precise. However, the peace process still has room for improvement to reduce the number of their members and in a large amount, to be more efficient and to be more coincide with international standards. This study had studied the existing knowledge, which related with insurgency, studied the Geosocial nature of the area, including existing problems, by collecting primary data from Key informants from both the government and insurgents’ side, in order to be able to provide context for this unique situation. The previous efforts led the creation of a strategic level policy to reintegrate the members of the insurgents, which was designed to response with the on-going situation. Moreover, the study also identified concerning factors those can be effectively used to utilize the attempt. There are some suggestions those can be made from the study, such as, the government possess the necessary tools for the reintegration process, however these tools are scattered throughout the government body. This obstacle can be overcome by adopting the guideline given by his majesty the King Rama IX by “integrating” government sectors as a unified effort, crafted policy based on the fundamental framework of “Understanding” “Accessibility” and “Development”, moreover, those concerning authorities must be able to function on the basis of “Knowing” “Loving” and “Cohesion”. ค