Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณของกองบัญชาการกองทัพไทย, (วปอ.9791)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตรี ชัชวาลย์ พยุงวงศ์, (วปอ.9791)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณของกองบัญชาการ กองทัพไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย พลตรี ชัชวาลย์ พยุงวงศ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 งบประมาณคือเครื่องมือสำคัญของหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน หน่วยงานของรัฐจะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติราชการตามพระราชบัญญัติ งบประมาณรายจ่ายประจำปีการบริหารงบประมาณของหน่วยงานของรัฐจะเป็นการเติมเม็ดเงิน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศทำให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัว รัฐบาลจึงกระตุ้นให้หน่วยงาน ของรัฐใช้จ่ายงบประมาณโดยใช้มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายและการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐเป็น เครื่องมือ วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อที่จะศึกษาแนวทางในการบริหารงบประมาณของกองบัญชาการ กองทัพไทย วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารงบประมาณ และนำเสนอ แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบประมาณ โดยการศึกษาข้อมูลผลการเบิกจ่ายและ การใช้จ่ายงบประมาณของกองบัญชาการกองทัพไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2561 - 2565 และสัมภาษณ์ ผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า วงเงินที่กองบัญชาการกองทัพไทยไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายใน ปีงบประมาณ ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการในลักษณะโครงการ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ นาน สรุปปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเบิกจ่ายงบประมาณ ได้แก่ การเตรียมความพร้อม การอนุมัติเงินจัดสรรของสำนักงบประมาณ การบริหารโครงการ การเบิกจ่ายงบประมาณ และการติดตามและเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารงบประมาณ เริ่มจากส่วนราชการในกองบัญชาการกองทัพไทยต้องเตรียมความพร้อม ในการดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ทราบว่า งาน/โครงการ บรรจุอยู่ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ รายจ่ายประจำปี เร่งรัดก่อหนี้ผูกพันในสัญญา บริหารโครงการตามแผนการดำเนินการตามห้วงระยะเวลา (Timeline) และแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ควรจัดการอบรมชี้แจงผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่าย งบประมาณ สร้างเจ้าหน้าที่ที่สามารถทำงานทดแทนกันได้ นอกจากนี้ควรเพิ่มอำนาจหน้าที่ ของคณะกรรมการติดตามเร่งรัดฯ ให้ครอบคลุมการดำเนินงาน/โครงการ ในปีงบประมาณหน้าด้วยรวมทั้ง นำเสนอสำนักงบประมาณอนุมัติเงินจัดสรรให้หน่วยงานของรัฐงวดเดียวหรือตามความจำเป็นโดยไม่ต้อง กำหนดสัดส่วนของวงเงินจัดสรรข

abstract:

Title Guidelines for enhancing efficiency in budget execution for Royal Thai Armed Forces Headquarters Field Economics Name Maj. Gen. Chatchawahn Payoongwong Course NDC Class 65 The budget is a key mechanism for government agencies to implement operations. Government agencies are allocated respective budget enabling them to perform official duties in accordance with the Annual Budget Expenditure Act. Budget execution of government agencies will provide financial capital to the national economic system, allowing the country's economic sectors to expand. As a result, the government encourages its agencies to spend expenditure utilizing budget disbursement acceleration as an instrument. The objectives of the research are to study budget execution guidelines of the Royal Thai Armed Forces Headquarters, analyze problems obstacles and affective factors, and propose guidelines for enhancing the efficiency of budget execution by using the budget disbursement and spending expenditures of RTARF HQ for fiscal years 2018-2022 and related officers interview. The results suggested that most budgets which the RTARF HQ was unable to be disbursed within each fiscal year were projects required considerable amount of time to be completed. Key factors affecting budget disbursement were, respectively, preparation, approval of budget allocations by the Budget Bureau, project management, budget disbursement process, and budget disbursement monitoring. In this regard, the researcher has proposed guidelines for enhancing the efficiency of budget execution. Firstly, the organic units of the RTARF HQ should anticipate the project readiness for the procurement as it is realized which projects are included in the Draft of the Annual Budget Expenditure Act. Consequently, the units should expedite the contractual obligation process, implement project management as the timeline set and promptly address any potential issues. Staff responsible for budget disbursement should continuously be trained and sustained, allowing an individual to fill in for one another if necessary. In addition, the Budget Disbursement Monitoring Committee of ค the RTARF HQ should possess the authority to oversee project preparation for the next fiscal year too. Finally, submission to the Budget Bureau should be conducted for a single approval of budget allocations or as required by the respective agency without limiting the budget allocation proportion. ง