Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก กรณีศึกษาเปรียบเทียบลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา, (วปอ.9786)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายชยันต์ เมืองสง, (วปอ.9786)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก กรณีศึกษาเปรียบเทียบลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(Science and Technology) ผู้วิจัย นายชยันต์ เมืองสง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65 ในปี 2565 มีพายุเข้าสู่ประเทศไทยซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง 1 ลูก คือ พายุโนรูในช่วง วันที่ 28-29 กันยายน 2565 และอีกจำนวน 4 ลูก ซึ่งส่งผลกระทบทางอ้อมในช่วงเดือนสิงหาคม และตุลาคม ทำให้ประเทศไทยพบกับสภาพปัญหาอุทกภัยในพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญของประเทศ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี-มูล และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงฤดูฝนปี 2565 ได้มีการดำเนินการในรูปแบบของ คณะทำงานระดับพื้นที่เพื่อป้องกัน แก้ไข ระงับหรือบรรเทาผลกระทบจากสภาวะน้ำท่วมของพื้นที่ดังกล่าว โดยการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา พร้อมวิเคราะห์เปรียบเทียบอุปสรรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการ บริหารจัดการน้ำที่เกิดขึ้นในฤดูฝนปี 2565 เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขและข้อเสนอแนะสำหรับการพัฒนา และปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการ โดยยึดหลักการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความไว้เนื้อเชื่อใจและการมีส่วนร่วมตามหลักธรรมาภิบาลน้ำ (OECD) การวิจัยครั้งนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร (Document Study)ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจากการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่ครอบคลุมทั้งผู้ทรงคุณวุติ ในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คณะกรรมการลุ่มน้ำ องค์กรผู้ใช้น้ำ หน่วยงานปฏิบัติในภาคส่วน ราชการ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ร่วมให้ความเห็นต่อการบริหารจัดการน้ำหลาก ในช่วงฤดูฝนปี 2565 จากการวิเคราะห์และเปรียบเทียบปัญหาอุปสรรคและปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงน้ำหลากตามหลักธรรมาภิบาลน้ำ พบว่า ด้านลักษณะทางกายภาพ ของทั้ง 2 พื้นที่มีความแตกต่างกัน แต่แนวทางการบริหารจัดการน้ำใช้กลไกที่เหมือนกัน ส่งผลให้การวิเคราะห์สภาพปัญหาตามหลัก ธรรมาภิบาลน้ำ ไม่มีความแตกต่างกัน โดยปัญหาข้อค้นพบส่วนใหญ่อยู่ในด้านประสิทธิผลการกำกับดูแลน้ำ ร้อยละ 46 ที่เกี่ยวข้องกับการมีเป้าหมายในระดับนโยบายที่ชัดเจน นำไปสู่การปฏิบัติได้จริง โดยการวิจัยครั้งนี้ ได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในแต่ละข้อค้นพบ โดยได้ให้ความสำคัญถึงสาเหตุที่แท้จริง ของปัญหาและอุปสรรคเพื่อนำมากำหนดแนวทางแก้ไขให้ครอบคลุมทุกมิติตามหลักธรรมาภิบาลน้ำ และ คำนึงถึงการใช้หลักทางวิศวกรรม โดยเน้นนวัตกรรม เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ แนวคิดหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่ได้จากการศึกษา เพื่อผลักดันการบริหารจัดการน้ำ ในช่วงน้ำหลากให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลน้ำ อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ประกอบด้วย แนวคิด หรือข้อเสนอแนะที่สนับสนุนแนวทางแก้ไขตามหลักธรรมาภิบาลน้ำที่เสนอไว้แล้ว และแนวคิดหรือ ข้อเสนอแนะตามหลักวิศวกรรม/การบริหารจัดการน้ำ ที่สอดคล้องกับหลัก ธรรมาภิบาลน้ำข

abstract:

Title Water Management in Rainy Season: Comparison of Chi – Mun River Basin and Chao Phraya River Basin Field Science and Technology Name Mr. Chayan Muangsong Course NDC Class 65 In 2022, Thailand was affected by Typhoon Noru on 28 – 29 September and other consecutive 4 storms from August - October. At that time, Thailand experienced floods in major economic areas, especially in the Chi – Mun and the Chao Phraya River Basins. The Government established the Working Team to work and coordinate at the local level in order to prevent and lessen the impacts from flood. This study thus aims to analyze the management practices, covering limitations and relevant factors relating to water management during rainy season in 2022. The analysis will provide recommendations and policy guidance for improvement and enhancement of water management according to the Water Governance Principles suggested by OECD, including efficiency, effectiveness, and trust and engagement. The data was collected using technique of focus groups interview. Based on the content analysis., it was found that the Chi – Mun River Basin and Chao Phraya River Basin share an identical issue in its effectiveness of water governance. Their effectiveness relates to the credible contribution of government to implementing and defining clear sustainable water policy goals and targets at different governing levels. The results of this study can lead to practice recommendations on potential mechanism and tools to enhance and strengthen flood water management.ค