เรื่อง: การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลสารสนเทศ้พื่อขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงอาหารในระดับจังหวัดของประเทศไทย, (วปอ.9784)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายฉันทานนท์ วรรณเขจร, (วปอ.9784)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงอาหาร
ในระดับจังหวัดของประเทศไทย
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายฉันทานนท์ วรรณเขจร หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
การศึกษาวิจัยเรื่องแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความ
มั่นคงอาหารในระดับจังหวัดของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความมั่นคงทาง
อาหาร ในระดับโลก ประเทศไทย และจังหวัด รวมถึงวิเคราะห์ความพอเพียงของสารอาหารระดับ
จังหวัด และเสนอแนะแนวทางการขับเคลื่อนความมั่นคงอาหารในระดับจังหวัด ซึ่งการศึกษาวิจัยเป็น
การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์ระดับปฐมภูมิ ได้แก่ ข้อมูลจากระบบนำเข้าข้อมูลผลผลิตสินค้า
เกษตรรายเดือนในระดับพื้นที่ และระดับทุติยภูมิ คือ ข้อมูลได้จากการรวบรวมเอกสารทางวิชาการทั้ง
ในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ และระดับโลก โดยผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความมั่นคงอาหารและ
โภชนาการทั้งในระดับโลก ระดับประเทศ และระดับจังหวัด ยังมีความเปราะบาง สะท้อนจากตัวเลขของ
จำนวนผู้ขาดสารอาหาร และผลการประเมินความมั่นคงอาหารของไทยโดยหน่วยงานระดับโลก อย่างไรก็ดี
หากมองในมิติของอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร ไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ในหมู่โภชนาการหลัก
ยกเว้นไขมัน ในส่วนของมิติในระดับจังหวัด แม้ว่าทุกจังหวัดต้องจัดทำแผนเตรียมความพร้อมอาหารใน
กรณีวิกฤตเป็นประจำทุกปี แต่ในแผนเตรียมความพร้อมด้านอาหาร ยังไม่มีการคำนวณความพอเพียง
ของอาหารในแต่ละจังหวัดที่มีแนวทางแน่นอน สำหรับการวิเคราะห์ความพอเพียงของสารอาหาร
พบว่าจังหวัดที่มีความพอเพียงของคาร์โบไฮเดรต คิดเป็น ร้อยละ 71.43 ไขมัน คิดเป็นร้อยละ 92.21
และเกือบทุกจังหวัดมีความพอเพียงของโปรตีน ในส่วนของเกลือแร่ ได้แก่ แคลเซียม โพทัสเซียม และ
เหล็ก จังหวัดที่มีความพอเพียง คิดเป็น 33.77, 42.86 และ 88.38 ตามลำดับ สำหรับวิตามิน เอ ซี
และอี ไม่มีจังหวัดใดมีความพอเพียง ส่วนวิตามิน ซี จังหวัดที่มีความพอเพียง คิดเป็น ร้อยละ 42.85
โดยผู้วิจัยเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงอาหารในระดับ
จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ การแสดงผลข้อมูลบน Dashboard ในระดับจังหวัด ในประเด็น
ความพอเพียงของสารอาหารในแต่ละจังหวัด สถานประกอบการจำหน่ายสินค้าเกษตร ราคาสินค้า
เกษตรและอาหาร และรายได้ของประชากร นอกจากนี้ การเผยแพร่ข้อมูลด้านคุณค่าทางโภชนาการ
จะเป็นประโยชน์สำหรับประชากร ทั้งนี้ การเชื่อมโยงข้อมูลแนวปฏฺบัติที่ดีจากหน่วยงานตรวจสอบ
รับรองจะช่วยลดภาระของเจ้าหน้าที่เกษตรในพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ จะทำให้จังหวัด
สามารถรับทราบสถานการณ์การผลิตของจังหวัดตนเอง และจังหวัดใกล้เคียง เพื่อการบูรณาการข้อมูล
สำหรับการเสริมสร้างความมั่นคงอาหารได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นข
abstract:
Title The approach on the adoption of the information technology to
enhance food security at the provincial level of Thailand.
Field Science and Technology
Name Mr. Chantanon Wannakejohn Course NDC Class 65
A research study on the approach on the adoption of the information
technology to enhance food security at the provincial level of Thailand aims to study
the food security situation in global, national and provincial level, including the analysis
of nutrition sufficiency of provinces and provide recommendation to enhance food
security at the provincial level. This study is the qualitative research utilizing the primary
level data from provincial crop calendar database and the secondary data from the
literature review of the academic documents. The study found that situations of food
security and nutrition at the global, national and provincial levels are still vulnerable as
reflected by the numbers of the undernourishment people and the assessment of food
security by international institution. The self-sufficiency ratio of food availability
categorized by nutrition are mostly adequate except fat. Although each province needs
to conduct the food emergency preparedness plan but there are no certain guidelines
to calculation food sufficiency. For the analysis of nutrition sufficiency at provincial level,
carbohydrate account for 71.43 percent, fats account for 92.21 percent. almost all
provinces have protein sufficiency. In term of minerals sufficiency; calcium, potassium,
and iron represent for 33.77, 42.86 and 88.32 precent. For vitamin; vitamin A, C, and E,
no provinces havevitamin A and E sufficiency and vitamin C sufficiency account for 42.85
percent. Theresearcher gives recommendations that the provincial crop calendar should
include the visualization of nutrition sufficiency, agricultural and food establishments,
average income of population and price of agricultural products and food of each
province. It is also useful to publicize the nutrition information in the provincial crop
calendar system. The data linkage of Good Agricultural Practices or GAP of plant, livestock
and fisheries products would alleviate the burden of local agricultural officers. The
adoption of information technology would provide opportunity for provinces to
acknowledge the situation of their production including nearby provinces which will
enhance capabilities for food production management with a more effective way.ค