Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงานในอาคาร, (วปอ.9774)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายโกมล บัวเกตุ, (วปอ.9774)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2565
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เรื่อง แนวทางการพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้วิจัย นายโกมล บัวเกตุ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65 ประเทศไทยมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและพลังงานเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ ในการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน และเป็นปัจจัยพื้นฐานการผลิตในภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม การใช้พลังงานขั้นสุดท้ายของประเทศไทยในปี พ.ศ.2560 มีปริมาณ 80,752 ktoe โดยเรียงลำดับจากภาคขนส่งมากที่สุด ภาคอุตสาหกรรม ภาคบ้านอยู่อาศัยร้อยละ ภาคธุรกิจการค้า และ ภาคเกษตรกรรม งานวิจัยนี้มุ้งเน้นศึกษาและเสนอแนวคิดหรือแนวทางการพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงาน ในอาคารที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย ในการบังคับใช้เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ในอาคาร โดยศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพในการดำเนินงานด้านอนุรักษ์พลังงานในอาคารตามแผนอนุรักษ์ พลังงาน 20 ปี แนวทางการพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงานในอาคารควรใช้กลยุทธ์ภาคบังคับและภาคการ ส่งเสริมการผลักดันการออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงานบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่ หรือดัดแปลง โดยมีแนวทางการพัฒนางานด้านอนุรักษ์พลังงานในอาคาร ได้แก่ การบังคับใช้กฎกระทรวงฯ การออกแบบอาคารเพื่ออนุรักษ์พลังงาน โดยประสานงานกับกรมโยธาธิการและผังเมือง วางแผนยกระดับ เกณฑ์มาตรฐานให้มีการพัฒนาการแต่ละระดับให้สูงขึ้นในแต่ปี และส่งเสริมให้มีการสร้างอาคารที่ใช้พลังงาน จากภายนอกในระดับใกล้ศูนย์ Zero Energy Building การส่งเสริมพัฒนาต่อยอดการวิจัยที่เกี่ยวกับวัสดุ อนุรักษ์พลังงาน และส่งเสริมการก่อสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงานโดยการติดฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้ พลังงานของอาคาร สนับสนุนด้วยมาตรการการเงินให้กับการสร้างอาคารอนุรักษ์พลังงานด้วยเงินทุน ดอกเบี้ยต่ำ และสนับสนุนให้อาคารใหม่ได้รับการประเมินมาตรฐานอาคารเขียวทั้งในระดับชาติและ นานาชาติ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมายให้ขยายวงกว้างขึ้น ร่วมมือกันในการ พัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้ในด้านการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน สนับสนุน ผลักดัน และ จัดกิจกรรมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การส่งเสริมการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ร่วมมือใน การให้ข้อมูลของสินค้าวัสดุก่อสร้างที่อนุรักษ์พลังงานข

abstract:

Title Development Guidelines for Energy Conservation in Buildings Field Science and Technology Name Mr.Komol Buaket Course NDC Class 65 Thailand's demand for energy has steadily increased, with energy acting as a critical aspect in meeting the basic requirements of the people as well as a foundational component in corporate and industrial production processes. Thailand's final energy consumption in 2 0 1 7 was 8 0 ,7 5 2 ktoe, divided by region. The transportation industry contributed the most, followed by the industrial sector. Residential, commercial, and agricultural sectors were all represented. This study looks at and proposes principles or guidelines for developing energy conservation in buildings that are appropriate for Thailand. In accordance with the 2 0 -year Energy Efficient Plan, the goal is to enforce building energy efficiency requirements by examining the potential for energy conservation in buildings. Building energy conservation guidelines should include required solutions as well as promotional activities to encourage energy-efficient building design. This comprises providing authorization for new constructions or alterations based on energy conservation requirements for buildings. Ministerial Regulation should be strictly implemented, ensuring that buildings are planned with energy saving in mind in partnership with the Departments of Public Works and Town and Country Planning. Furthermore, there should be strategies in place to gradually enhance development requirements at all levels each year, while encouraging the construction of buildings with near-zero external energy usage. Moreover, promote further research and development in energy conservation materials and encourage the construction of energy-efficient buildings, the following measures should be implemented: labeling buildings based on their energy efficiency, providing financial support through low-interest capital for energy conservation building projects, conducting assessments of new constructions according to national and international green building standards, establishing a network for cooperation in law enforcement to ensure widespread compliance, collaborating on personnel development to enhance knowledge in designing energy-efficient buildings, actively supporting and organizing public relations activities to promote energy conservation in building design, and cooperating in the dissemination of information on energy-saving construction materials.ค