เรื่อง: แนวทางการแก้ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ ศึกษากรณี ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์, (วปอ.9767)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการทหาร/Military
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พันเอก กิดากร จันทรา, (วปอ.9767)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2565
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
เรื่อง แนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ภูทับเบิกอำเภอหล่มเก่าจังหวัดเพชรบูรณ์
ลักษณะวิชา การทหาร
ผู้วิจัย พันเอก กิดากร จันทรา หลักสูตร วปอ. รุ่นที่65
การศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาปัญหาการบุกรุกพื้นที่ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
และเพื่อเสนอแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่มีความถูกต้องเหมาะสมกับสภาพของปัญหาที่เกิดขึ้น
และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติได้อย่างสอดคล้องเป็นรูปธรรม และมีประสิทธิภาพ พื้นที่ภูทับเบิกเป็นพื้นที่ป่าไม้
ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ที่อยู่ในพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้น 1A ชั้น 1B และชั้น 2 ซึ่งเป็นต้น
น้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำป่าสัก ถูกบุกรุก ถือครอง โดยฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และ
นำไปก่อสร้างโรงแรม สถานที่พักตากอากาศ และร้านค้าที่มีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจ อีกทั้งสิ่งก่อสร้าง
ยังมีความไม่มั่นคงแข็งแรง ตามหลักวิศวกรรมหรือมาตรฐาน ความปลอดภัยด้านวิศวกรรม ปิดกั้นทางไหลของ
น้ำ และเสี่ยงต่อการพังทลายของดิน อันอาจก่อให้เกิดอุบัติภัย และความเสียหายแก่ชีวิต และทรัพย์สิน
ของนักท่องเที่ยว และประชาชนในพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นมาตรการในการระงับ
ปราบปราม และป้องกันการกระทำที่มีผลกระทบในพื้นที่ดังกล่าว ทางจังหวัดเพชรบูรณ์ และส่วนราชการที่
เ กี่ ย ว ข้ อ ง
ได้ดำเนินการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ดังกล่าว ตามคำสั่ง คสช. ที่ 35/2559 ลง 5 กรกฎาคม 2559
มาโดยตลอด ซึ่งในการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก
ดังนั้น จังหวัดเพชรบูรณ์จึงได้จัดให้มีแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการใช้แผนแม่บทเฉพาะด้าน 6 แผนขึ้น
เพื่อแก้ไขปัญหา กับส่วนราชการ และประชาชนในพื้นที่ ดังนี้
1.1 แผนบริหาร และจัดการพื้นที่ภูทับเบิก
1.2 แผนการจัดการพื้นที่ผ่อนปรน
1.3 แผนการจัดการพื้นที่อยู่อาศัย
1.4 แผนการจัดการพื้นที่ที่ดินทำกิน
1.5 แผนการจัดการพื้นที่ป่าไม้
1.6 แผนการจัดการพื้นที่ส่วนกลาง
หน่วยงานของรัฐควรเร่งรัดดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายโดยเร็วและจะต้องมีการประชาสัมพันธ์
ให้เกิดความรู้ ความเข้าใจแก่ราษฎร เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประชาชนโดยทั่ว ๆ ไป และผู้ประกอบการบ้านพัก
ตากอากาศหรือรีสอร์ท ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสํานึกให้เกิดความรักและหวงแหนในที่ดินทำกิน ตลอดจน
ควรที่จะมีการวางแผนพัฒนาพื้นที่ ภูทับเบิก อย่างต่อเนื่อง ต่อไป โดยจะต้องมีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง
เป็นเจ้าภาพหลักและหน่วยงานที่เหลือเป็นหน่วยงานให้การสนับสนุนข
abstract:
Title The solution for encroachment problem solving in
Phu thap boek, Lom Kao District, Phetchabun.
Field Military
Author Col. Gidargorn Jantra Course NDC class 65
This study, “The solution for encroachment problems solving
in Phu thap boek, Lom Kao District, Phetchabun” have objective to study
the problem and to propose suitable and practical guidelines for solving this problem.
According to the Forest Act, B.E.1941, Phu Thap Boek considered
to be watershed forest class 1A, 1B and 2. Phu thap boek area is an important
watershed of the Pa Sak River. Unfortunately, there were many encroached and
illegally owned, mostly for business buildings such as hotels, resorts and shops
.In addition, these illegal buildings were substandard constructed, risk to collapse,
blocking the flow of nature river and high risk to make landslide. These may cause
an accident and damage to life and property of tourists and people in the area
and also affect the ecosystem.
Therefore, as a regulation to prevent these illegal actions,
the Phechabun provincial administration and related government agencies have
demolished many buildings that illegally encroached in this area according to NCPO
Order No. 35/2559, dated 5 July 2016.
The Phechabun provincial administration has proposed a solution
to solve this problem in cooperation with others government organizations and
local people using 6 plans as follows.
1. Phu thap boek area management plan
2. Temporarily permitted area management plan
3. Residential area management plan
4. Workplace area management plan
5. Forest area management plan
6. public area management plan
Governmentorganization should immediately and lawfully implement
these plans. Also have public relations to create the understanding of the people,
both local and entrepreneur. Along with creating awareness people to love there land and also have plans to continually develop Phu Thap Boek area.
With the one agency as the main responsibility and others as support agencies.ค
คํานํา
รายงานการวิจัยฉบับนี้เป็นการศึกษา “ แนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ : ศึกษากรณี
ภูทับเบิก อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์” ตามหลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 65
ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ โดยผู้วิจัยมุ่งศึกษาเพื่อค้นหาสาเหตุ
ของปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ภูทับเบิก ซึ่งเกิดขึ้นมานานแล้วและยังไม่มีหน่วยงานใด
เข้าไปรับผิดชอบโดยตรง ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยนี้คือรูปแบบ (Model) ในการดำเนินการเพื่อใช้เป็น
แนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ดังกล่าว ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
เหมาะสมและมีความต่อเนื่อง เป็นผลดีต่อส่วนรวมในพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
ของประเทศ
ผู้วิจัยหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานวิจัยฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หรือองค์กรต่างๆ รวมทั้งผู้ที่สนใจ นําไปใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ภูทับเบิก หรือ
โครงการพัฒนาพื้นที่อื่นๆที่มีสภาพของปัญหาหรือเงื่อนไขที่ใกล้เคียงกัน ตลอดจนใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน
ในการวางแผนพัฒนาพื้นที่หรือเพื่อการศึกษาวิจัยต่อไป
พันเอก
( กิดากร จันทรา )
นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
ผู้วิจัยง
กิตติกรรมประกาศ
เอกสารวิจัยฉบับนี้ ผู้วิจัยได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ก่อนที่จะเข้ารับการศึกษา และเดินทาง
กลับไปเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง จึงสำเร็จลุล่วงด้วยดี เพราะได้รับความกรุณาจาก
ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้ทรงวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญทุกท่านที่ได้กรุณาให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ
อันมีคุณค่ายิ่ง รวมถึงผู้ที่เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม ทั้ง 9 ครั้ง ทำให้ผู้วิจัยได้รับข้อมูลเชิงประจักษ์ ในพื้นที่
จริงอย่างครบถ้วน ผู้วิจัยขอขอบพระคุณคณาจารย์ของวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการ
ป้องกันประเทศทุกท่าน และผู้บังคับบัญชาที่กรุณาให้แนวความคิดในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ ตลอดจน
ให้โอกาสผู้วิจัยได้เข้ารับการศึกษาในสถาบันอันทรงเกียรติแห่งนี้
ผู้วิจัยขอขอบคุณคณะกรรมการผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านที่ได้กรุณาให้การสนับสนุนการดำเนินการ
ดังกล่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎรในพื้นที่ภูทับเบิก ซึ่งผลของการวิจัยนี้
จะมีส่วนช่วยเหลือ และผลักดันให้มีการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ให้ราษฎรมีความมั่นคงในชีวิต และมีคุณภาพชีวิต
ที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป ผู้วิจัยขอขอบคุณเพื่อนนักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 65 ทุกท่าน
ที่ได้ให้ความร่วมมือให้ข้อคิดเห็นตลอดจนให้คำแนะนำ อีกทั้งผู้วิจัยต้องขอบคุณเจ้าหน้าที่ของ
กองพลทหารม้าที่ 1 ทุกท่านที่ให้ข้อมูล และสนับสนุนการจัดทำเอกสารวิจัยครั้งนี้
พันเอก
( กิดากร จันทรา )
นักศึกษาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 65
ผู้วิจัยจ
สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อ ก
Abstract ข