Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส ด้วยวิธีการจัดการ เรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒Development of Calculus Learning Activity by Using Brain-based Learning for Pre-cadets 2nd Year

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
นาวาอากาศโทหญิง องค์ลออ ทีมหาญ
หน่วยงานเจ้าของ:
โรงเรียนเตรียมทหาร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
211
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้ สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ๓) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ ๒ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) ของนักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ซึ่งเป็นการวิจัยแบบเชิงกึ่งทดลอง (Quasi- Experimental Research) โดยใช้แผนแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว (One Group Pretest - Posttest Design) โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ โรงเรียนเตรียมทหาร อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก จำนวน ๑ ตอนเรียน รวม ๓๓ นาย ได้มาโดยใช้การสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) โดยใช้ตอนเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส สำหรับนักเรียน เตรียมทหารชั้นปีที่ ๒ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) จำนวน ๑๗ แผนการจัดการเรียนรู้ ๒) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส แบ่งเป็น ๒ ชุด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส (ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน) และชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส (อนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์อนุพันธ์ ของฟังก์ชัน) ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส จำนวน ๓๐ ข้อ เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ ๔ ตัวเลือก แบ่งเป็นเรื่อง ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน จำนวน ๑๐ ข้อ และเรื่องอนุพันธ์ของฟังก์ชันและการประยุกต์อนุพันธ์ของฟังก์ชัน จำนวน ๒๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน ๕ ระดับ จำนวน ๑๕ ข้อ ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยนำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส ที่ทดลองใช้ ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียน เตรียมทหาร ชั้นปีที่ ๒ ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๓ จำนวน ๓๓ นาย ดำเนินการ จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) พร้อมทั้ง นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แคลคูลัส ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain-based Learning) ที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ดำเนินการจัดการเรียนรู้ ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งนำคะแนนของนักเรียนที่ร่วมกิจกรรมและทำใบกิจกรรม ระหว่างเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรม และคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบย่อยหลังเรียน หาค่าเฉลี่ยร้อยละ เพื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๗๕/๒๕ โดยให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง แคลคูลัส เพื่อเปรียบเทียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และให้นักเรียนตอบแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ ๒ ที่มีต่อ การจัดการเรียนรู้

abstract:

Development of calculus learning activity by using Brain-based Learning for pre-cadets 2nd year of academic year 2020 consists of three objectives: 1) to develop calculus learning activity for pre-cadets 2nd year; 2) to compare learning achievement of before and after learning of pre - cadets 2nd year; and 3) to investigate the pre-cadets’ satisfaction with calculus learning activity by using Brain-based Learning. The study is quasi-experimental research conducted using One Group Pretest - Posttest design. A total of one class consisting of 33 pre - cadets 2nd year in the second semester of academic year 2020 of Armed Forces Academies Preparatory School - situated in Ban Na district, Nakhon Nayok - were selected randomly as the sample by Cluster Sampling method. The tools which were used for the study consisted of the followings: 1) 17 calculus lesson plans with Brain-based Learning for pre-cadets 2nd year, 2) Math learning activities for teaching calculus which were divided into two topics: Limits and continuity of functions, and Function derivative and applications of derivative, 3) Achievement tests on calculus with 30 questions in multiple-choice type which the tests were split into two parts: part one with 10 questions on Limits and continuity of functions, and part two with 20 questions on Function derivative and applications of derivative; and 4) a questionnaire entailed 15 items on students’ satisfactions with Brain-based Learning which was measured by Likert scale (1-5 rating scale). The researcher collected the data by using the modified-version pretest on the sample, which were 33 pre - cadets 2nd year in the second semester of academic year 2020, before they learn math on calculus. The researcher conducted teaching using Brain-based Learning and the calculus lesson plans on the sample, then collected scores from class participation, worksheets, and the posttest to findthe average percentage of their achievements after learning calculus. The ensuing result was compared with the predefined standard: performance criterion by 75/75. The researcher assigned the students answered the questionnaire and analyzed their satisfactions by using the Brain-based Learning.