Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1 เรื่องการปฏิบัติงานกลึง ของนักเรียนระดับ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 ช่างกลโรงงาน ภาคปกติ โดยวิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
ไม่ระบุ/not specified
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
ร.ต. สุรศักดิ์ โพธิ์สุวรรณวัฒนา
หน่วยงานเจ้าของ:
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
35
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

บทคัดย่อ งานวิจัยในชั้นเรียนฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาผลิตชิ้นส่วนด้วย เครื่องมือกล 1 รหัส 20100-2008 เรื่อง การปฏิบัติงานกลึง นักเรียน ชั้นปวช.1 วิชาชีพช่างกลโรงงาน แผนกช่างกลโลหะ โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน 2)เพื่อศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน หลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)นวัตกรรมที่ใช้ใน งานวิจัย คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการจับคู่ฝึกแบบเพื่อนช่วยเพื่อน พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชา ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1 เรื่องการปฏิบัติงานกลึง 2)แบบประเมินใบงานการให้คะแนน โดยแบบประเมิน จะมีคะแนนเต็ม 25 คะแนน 3)แบบสำรวจความพึงพอใจของเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทางผู้วิจัยได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจขึ้นเพื่อให้ทราบถึงความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบต่อการใช้กิจกรรม แบบเพื่อนช่วยเพื่อนผลการวิจัยพบว่า 1)จากผลการศึกษาที่พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาผลิตชิ้นส่วน ด้วยเครื่องมือกล 1 รหัส 20100-2008 เรื่อง การปฏิบัติงานกลึง ของนักเรียนระดับชั้นปวช.1 ที่ลงทะเบียน เรียนผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1 จำนวน 17 คน วิชาชีพช่างกลโรงงาน โรงเรียนช่างฝีมือทหารภายหลังจัด กิจกรรมมีคะแนนสูงกว่าก่อนจัดกิจกรรมด้วยวิธีการแบบเพื่อนช่วยเพื่อน โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงขึ้นจาก 15.5 เป็น 22.6 ซึ่งคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7.09 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจาก 2.61 เป็น 1.32 ซึ่ง ลดลง 1.29 และมีผู้เรียนที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์เพิ่มขึ้นจาก 7 คนเป็น 11 คน 2) 5.2.2 ผลการวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเพื่อนช่วยเพื่อนนักเรียนระดับชั้นปวช. 1 วิชาชีพช่างกลโรงงาน ในรายวิชาผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1 รหัส 20100-2008 เรื่อง การปฏิบัติงานกลึง โดยรวมมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ถือว่าสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้ นั่นเพราะผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิดและหลักการสร้าง ทฤษฎีการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน

abstract:

-