สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute
NDSI- RASS
ระบบสืบค้นงานวิจัยและวิชาการ
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
คู่มือใช้งาน
Logout
Search
ค้นหา
Category
แสดงตามประเภท
แสดงทั้งหมด
งานวิจัย
งานวิชาการ
งานนวัตกรรม
เอกสารประกอบการศึกษาตามหลักสูตร
อื่น ๆ
แสดงตามปี
ปี พ.ศ. 2567
ปี พ.ศ. 2566
ปี พ.ศ. 2565
ปี พ.ศ. 2564
ปี พ.ศ. 2563
ปี พ.ศ. 2562
ปี พ.ศ. 2561
ปี พ.ศ. 2560
ปี พ.ศ. 2559
ปี พ.ศ. 2558
ปี พ.ศ. 2557
ปี พ.ศ. 2556
ปี พ.ศ. 2555
ปี พ.ศ. 2554
ปี พ.ศ. 2553
ปี พ.ศ. 2552
ปี พ.ศ. 2551
ปี พ.ศ. 2550
ปี พ.ศ. 2549
ปี พ.ศ. 2548
ปี พ.ศ. 2547
ปี พ.ศ. 2546
แสดงตามหน่วยงาน
แสดงทั้งหมด
สปท.
วปอ.สปท.
วสท.สปท.
สจว.สปท.
ศศย.สปท.
รร.ตท.สปท.
รร.ชท.สปท.
สศท.สปท.
แสดงตามสภาวะแวดล้อมทางยุทธศาสตร์
แสดงทั้งหมด
Social-Psychology
Science and Technology
Economics
Strategy
Politics
Military
Education
Diplomacy
Information
Environment
not specified
แสดงตามหลักสูตรต่าง ๆ
แสดงทั้งหมด
หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร
หลักสูตรผู้นำพอเพียงด้านความมั่นคง
หลักสูตรเสนาธิการทหาร
หลักสูตรเสนาธิการร่วม
หลักสูตรนายทหารอาวุโส บก.ทท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่นคง
หลักสูตรพัฒนาสัมพันธ์ผู้บริหาร
หลักสูตรนักยุทธศาสตร์
หลักสูตร รร.ตท.สปท.
หลักสูตร รร.ชท.สปท.
หลักสูตรจิตวิทยาความมั่งคง สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานิ (สจว.สพฐ.
อื่น ๆ
Readed :
008469
Today :
000155
Total :
047595
Download :
000053
เรื่อง:
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่างฝีมือทหาร ชั้นปีที่ 2
Download
Open PDF
E-Book
หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
ร้อยเอกหญิง มนธวัล สาทักรัมย์
หน่วยงานเจ้าของ:
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
15
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ
บทคัดย่อ:
ความเป็นมาและความส าคัญ การจัดการศึกษาของประเทศไทย มีวิวัฒนาการจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันด้วยความเชื่อที่ว่า การศึกษา จะเป็นตัวช่วยก าหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นก าลังส าคัญส าหรับการพัฒนา ประเทศให้เจริญก้าวหน้า ปัญหาส าคัญประการหนึ่งของระบบการศึกษาไทย คือ ขาดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี แต่เดิมสภาพการเรียนการสอนโดยทั่วไป เป็นการศึกษาที่เอาวิชาเป็นที่ตั้ง ครูถ่ายทอดเนื้อหา นักเรียนท่องจ า การเรียนที่เน้นการถ่ายทอดและการท่องจ าเนื้อหาวิชาดังกล่าว ก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ดังเช่น ผู้เรียนคิดไม่เป็น ท าไม่เป็น และไม่เป็นบุคคลที่จะสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต อีกทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ท าให้การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถท าได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นมากมายทุกวินาที ท าให้เนื้อหาวิชามีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้จากในห้องเรียน ได้หมด ดังนั้นผู้สอนจึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ จากผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และ ประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ สร้างความเข้าใจด้วยตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ด้วยผลกระทบจาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ส่งผลให้ผู้เรียนจ าเป็นจะต้อง มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบความคิดและการลงมือปฏิบัติ ของผู้เรียน และความเปลี่ยนแปลงของสังคมเทคโนโลยี จากปัญหาดังกล่าวประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มน ากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนช่างฝีมือทหารได้เริ่มน ากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งคือกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลัก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning และเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติมากกว่า การฟังเพียงอย่างเดียว โดยมีกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้น าไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา ส่งผลให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน ท าให้ ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด และยังเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ท าให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน (Life-Long Learning) ได้อีกด้วย ตัวอย่างรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรียนรู้จากการ สืบค้น (Inquiry-Based Learning) และ การเรียนรู้จากการท ากิจกรรม (Activity-Based Learning) เป็นต้น 2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการ เรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยผู้สอนน าผู้เรียนไปเผชิญปัญหาจริง และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา ร่วมกันเป็นกลุ่ม ระดมความคิดร่วมกลั่นกรองความรู้ที่แสวงหาจนเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัญหาจริงที่ผู้เรียนต้องเผชิญในอนาคต จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเรื่องแรงและประเภทของแรงในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมส าหรับนักเรียนช่างฝีมือทหาร ชั้นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และ ประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ ตลอดจนสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอก ห้องเรียนอีกด้วย
abstract:
-