Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานในวิชาวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนช่างฝีมือทหาร ชั้นปีที่ 2

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
ร้อยเอกหญิง มนธวัล สาทักรัมย์
หน่วยงานเจ้าของ:
โรงเรียนช่างฝีมือทหาร
ปีที่พิมพ์:
2567
จำนวนหน้า:
15
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ความเป็นมาและความส าคัญ การจัดการศึกษาของประเทศไทย มีวิวัฒนาการจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันด้วยความเชื่อที่ว่า การศึกษา จะเป็นตัวช่วยก าหนดทิศทางของชาติ เพื่อพัฒนาคนไทยให้มีความพร้อมที่จะเป็นก าลังส าคัญส าหรับการพัฒนา ประเทศให้เจริญก้าวหน้า ปัญหาส าคัญประการหนึ่งของระบบการศึกษาไทย คือ ขาดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี แต่เดิมสภาพการเรียนการสอนโดยทั่วไป เป็นการศึกษาที่เอาวิชาเป็นที่ตั้ง ครูถ่ายทอดเนื้อหา นักเรียนท่องจ า การเรียนที่เน้นการถ่ายทอดและการท่องจ าเนื้อหาวิชาดังกล่าว ก่อให้เกิดผลเสียหายหลายประการ ดังเช่น ผู้เรียนคิดไม่เป็น ท าไม่เป็น และไม่เป็นบุคคลที่จะสามารถเรียนรู้อย่างต่อเนื่องได้ตลอดชีวิต อีกทั้ง ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ท าให้การเข้าถึงแหล่งข้อมูลสามารถท าได้ทุกที่ทุกเวลา ส่งผลให้เกิดองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นมากมายทุกวินาที ท าให้เนื้อหาวิชามีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้จากในห้องเรียน ได้หมด ดังนั้นผู้สอนจึงจ าเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนรู้ จากผู้สอนที่มีบทบาทเป็นผู้ถ่ายทอด ปรับเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ชี้แนะวิธีการค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และ ประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ สร้างความเข้าใจด้วยตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีเป้าหมาย ด้วยผลกระทบจาก ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศนี้ส่งผลให้ผู้เรียนจ าเป็นจะต้อง มีความสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตอบสนองต่อระบบความคิดและการลงมือปฏิบัติ ของผู้เรียน และความเปลี่ยนแปลงของสังคมเทคโนโลยี จากปัญหาดังกล่าวประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มน ากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และโรงเรียนช่างฝีมือทหารได้เริ่มน ากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ซึ่งคือกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลัก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning และเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติมากกว่า การฟังเพียงอย่างเดียว โดยมีกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้น าไปปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหา ผ่านกระบวนการเรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการวิเคราะห์ปัญหา ส่งผลให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับผู้เรียน ท าให้ ผู้เรียนมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นด้านการรู้คิด และยังเป็นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ท าให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอกห้องเรียน (Life-Long Learning) ได้อีกด้วย ตัวอย่างรูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ได้แก่ การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery Learning) การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรียนรู้จากการ สืบค้น (Inquiry-Based Learning) และ การเรียนรู้จากการท ากิจกรรม (Activity-Based Learning) เป็นต้น 2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นการจัดสภาพการณ์ของการ เรียนรู้ที่ใช้ปัญหาเป็นเครื่องมือในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ โดยผู้สอนน าผู้เรียนไปเผชิญปัญหาจริง และฝึกกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหา ร่วมกันเป็นกลุ่ม ระดมความคิดร่วมกลั่นกรองความรู้ที่แสวงหาจนเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมจนเกิดเป็นทักษะ ที่สามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัญหาจริงที่ผู้เรียนต้องเผชิญในอนาคต จากที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีการ จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบปัญหาเป็นฐานเรื่องแรงและประเภทของแรงในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาอาชีพ ช่างอุตสาหกรรมส าหรับนักเรียนช่างฝีมือทหาร ชั้นปีที่ 2 เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแสวงหาความรู้ และ ประยุกต์ใช้ทักษะต่างๆ ตลอดจนสร้างความเข้าใจด้วยตนเอง และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องนอก ห้องเรียนอีกด้วย

abstract:

-