Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: เยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

หมวดหมู่:
งานวิชาการ
มิติ:
มิติการศึกษา/Education
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง, พสบ.บก.ทท. รุ่นที่ 15
หน่วยงานเจ้าของ:
สถาบันจิตวิทยาความมั่นคง
ปีที่พิมพ์:
2566
จำนวนหน้า:
205
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

เอกสารวิชาการ เรื่อง เยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการมีส่วนร่วมของเยาวชนไทยกับการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งการสร้าง เครือข่ายการมีส่วนร่วมของเยาวชน โดยกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาคือ กลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๕- ๒๕ ปี ตามคำนิยาม “เยาวชน” ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations) และกลุ่มผู้แทนจาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน วิธีการดำเนินการวิจัยได้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณและเชิง คุณภาพ จากการศึกษาปัญหาการวิจัย ค้นคว้าทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการ วางแผนสำรวจพื้นที่ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามและจากการลงพื้นที่ สัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของ ๓ มิติ โดยมุ่งประเด็นศึกษา ๓ มิติ คือ (๑) มิติการศึกษา กรณีศึกษาเยาวชนกับการมีส่วนร่วมในการจัดการ เรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (๒) มิติสังคม กรณีศึกษายุทธศาสตร์ ๔ ป: แนวทางแก้ไข ปัญหาการพนันออนไลน์ ในเยาวชน และ (๓) มิติทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาการ สร้างความตระหนักรู้ในการลดผลกระทบของความเสียหายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ เยาวชน จากผลการศึกษาทั้ง ๓ มิติ สรุปข้อค้นพบที่สำคัญและมีลักษณะร่วมกันทั้ง ๓ ประการ คือ ๑) การสร้างความความตระหนักให้เกิดขึ้นกับเยาวชน (Awareness) โดยส่งเสริมการสร้างความรู้ ความ เข้าใจอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิต ปัญหาพนันออนไลน์ และปัญหาสิ่งแวดล้อม ผ่าน กิจกรรมที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๒) การมีส่วนร่วม ทั้งกระบวนการ (Collaboration) โดยทุกภาคส่วนต้องเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีส่วนร่วม ในการ กำหนดแผนและนโยบายในระดับชาติและภาครัฐหรือแหล่งทุนควรส่งเสริมสนับสนุนให้เยาวชนรวม พลังกันทำกิจกรรมแก้ไขปัญหาด้วยประสบการณ์ตรง ๓) การสร้างเครือข่ายเยาวชน (Cooperative Network) โดยเริ่มจากกลุ่มเครือข่ายเยาวชนเล็กๆ ระดับชุมชนท้องถิ่นแล้วขยายไปสู่ระดับจังหวัด รวมทั้งเครือข่ายความมือจากองค์กรภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ เกิดพลังในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมในสถานศึกษาและชุมชน

abstract:

“Thai Youth Participation for Sustainable Developments” academic paper aims to gain understanding guideline of Thai youth’s participation for sustainable developments including youth’s participation networking. Focus groups are youths between the ages of 15 – 25 years according to the definition of youth by United Nations, and selected representatives from organization related to youth. The research execution used quantitative and qualitative research methods. This includes understanding the research problems, reviewing the relevant literary works and studies, planning on area research, selecting the informants, accumulating the information from questionnaires and in-depth interviews according to participation in sustainable developments. Aim to understand 3 dimensions, (1) Quality Education (Case study: Youth participation in lifelong learning management for sustainable development), (2) Peace Justice and Strong Institute (Case study: 4 Por Strategy, Guideline to resolve online gambling in youth, (3) Climate Action (Case study: Raise awareness in mitigating the effects of climate change damages by youth). From the results of the study of these 3 dimensions, there are important findings that have three common characteristics: 1. Build awareness among youths by promoting knowledge and understanding creation continuously regarding lifelong learning, online gambling problems and environmental problems through interesting activities to raise awareness and lead to behavior change. 2. Collaborate in the whole process, all sectors must provide opportunities for youth to participate in setting plans and policies at the national level, and the government or funding sources should promote and support youth to join forces in problem solving activities with direct experiences. 3. Create the youth cooperative network starts with a small youth network group at the local community level and then expanded to the provincial level, including a network of hands from related government, private and civil society organizations, to synergize power steering policy into concrete practice in educational institutions and communities.