Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุขรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายแพทย์ ณรงค์ อภิกุลวณิช
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2557
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการแพทย์และสาธารณสุขรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ในประเทศไทย ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ชื่อ นายแพทย์ ณรงค์อภิกุลวณิช หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 57 การศึกษาวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557ถึง 30 เมษายน 2558 มีวัตถุประสงค์ ประการแรก คือศึกษาสภาพทั่วไปและปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขในการรองรับผู้ป่วย โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาในประเทศไทย ประการที่สอง ศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบฯให้มีความพร้อม ประการ ที่สาม เสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบฯ ศึกษาติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศกินี ไลบีเรีย เซียราลีโอน มาลี ไนจีเรีย เซเนกัล สเปน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ทบทวนองค์ความรู้ เอกสาร วิชาการด้านไวรัสวิทยา ระบาดวิทยา มาตรการขององค์การอนามัยโลก ประเทศที่มีการแพร่ระบาด มาตรการ ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ นโยบายและยุทธศาสตร์ของคณะกรรมการโรคอุบัติใหม่ แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค และการน าไปสู่การปฏิบัติระดับเขตสุขภาพ จังหวัด หน่วย บริการ โรงพยาบาล ผลการศึกษาวิจัย พบว่าระบบการแพทย์และสาธารณสุขของประเทศไทยค่อนข้างมีความพร้อม รองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ทั้งนี้พบปัญหา 5 ประการ ประการแรก กฏหมายและการบังคับใช้กฏหมาย ขาดประสิทธิภาพในการควบคุมหรือกักกันผู้ป่วยหรือผู้เข้าข่ายสอบสวนโรค ประการที่สอง ระบบการสั่งการยัง ไม่เป็นเอกภาพที่แท้จริง ประการที่สาม การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฎิบัติยังขาดประสิทธิภาพ ประการที่สี่ ข้อจ ากัดของระบบการเงินการคลัง กฏหมาย ระเบียบและการสนับสนุนทรัพยากรที่ทันต่อสถานการณ์ประการ ที่ห้า ระบบการสื่อสารความเสี่ยง การสื่อสารสาธารณะ การให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขขาดประสิทธิภาพ จากการศึกษา สรุปแนวทางการพัฒนาความพร้อมของ ระบบการแพทย์และสาธารณสุข ดังนี้ ประการแรก ปรับปรุงกฎหมายและการมอบอ านาจหน้าที่ ในการควบคุม ผู้ป่วยคัดกรองและติดตามผู้ที่เข้าข่ายสอบสวนโรค ประการที่สอง ก าหนดให้มีระบบการสั่งการที่มีเอกภาพโดย ผู้สั่งการเดียว ประการที่สาม ก าหนดกลไกและหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างบูรณา การพร้อมระบบติดตามก ากับและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ประการที่สี่ พัฒนาระบบการเงินการคลังและ การสนับสนุนทรัพยากรที่ทันต่อสถานการณ์ประการที่ห้า พัฒนาระบบข้อมูลและระบบการสื่อสารการให้ ความรู้และการสร้างความเข้าใจของประชาชนและบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จากการศึกษาวิจัย มีข้อเสนอแนะดังนี้ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาตลอดจนโรคอุบัติใหม่อุบัติซ้ าเป็น ภัยคุกคามต่อโลก ความมั่นคงของชาติและผลประโยชน์แห่งชาติจ าเป็นที่ต้องก าหนดให้เป็นวาระแห่งชาติและ ระดับนานาชาติ ส าหรับประเทศไทยการพัฒนาความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณ ภัย กระทรวงมหาดไทย กองทัพ และกระทรวงสาธารณสุข ความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก นานาประเทศใน มิติการศึกษาวิจัย การพัฒนายาวัคซีนตลอดจนระบบการแพทย์และสาธารณสุขและการจ าลองฉากทัศน์ต่าง ๆ การออกแบบระบบการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมรองรับแต่ละสถานการณ์ก็จะท าให้ระบบฯ มีความ พร้อมได้เป็นอย่างดี

abstract:

Abstract Title Health care system development for Ebola patients in Thailand Field Social & Psychology Name Dr. Narong Aphikulvanich Course NDC Class 57 This study is a qualitative research from November 1,2014 to April 30,2015. The first purpose is the current situation and problems of health care system for Ebola patients in Thailand, Readiness. The second purpose is the protocols including policies, law, mechanisms that can fix the problems.The third purpose is the necessary suggestions for system development that can contain the situation and reduce the impact on national interest.Situations in Guinea, Liberia, Sierra Leone, Mali, Nigeria, Senegal, Spain, United Kingdom and United State of America were studied. Literatures review about Ebola virus, epidemiology,WHO protocols, Public health Emergency of International Concern (PHIEIC), protocols of above countries.Policies and strategies of Thailand national emerging infectious disease committee, Ministry of Public Health, Department of disease control were studied and reviewed. Implementation,health service regions, provincesand hospitals were studied. This study reveals that health care system wasquite ready. There were 5 problems, the first, law enforcement, that could not effectively control the patients and suspected persons . The second, ineffectiveness of incident commanding system. The third, implementation, real action to achieve the policies were not met. The fourth, readiness of logistic and financial supports. The fifth, people, medical and health care staffs were not understood and panic . This study proposes the first, improving laws and law enforcement, delegating authority to personals to control and quarantine suspected persons or patients. The second, improving commanding system, only single commander to align all network. The third, mechanism development that drives policies to action integrated and effectively, and also monitoring and evaluation .The fourth, improving logistics and financial systemto support readiness. The fifth, improving public information and communication in all channels. Ebola, andother Emerging Infectious Diseases, would threat the world, national security and interest, this study suggestedthat these would be national and international issues. In Thailand, closely cooperation, Department of Disaster Prevention and Mitigation from Ministry of Interior, Armies and Ministry of Public health were necessary. WHO and International cooperation, health care systems, researches, information etc. would be applied to the context of Thailand, and also research in vaccines and drugs. The scenario simulation of events and health care models would be studied and prepare for the readiness of health care systems.