Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: แนวทางการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามฟอกเงินของไทย ต่อสถาบันการเงิน, (วปอ.9227)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติการเมือง/Politics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ชำนาญ ชาดิษฐ์, (วปอ.9227)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง แนวทางการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของไทย ต่อสถาบันการเงิน ลักษณะวิชา การเมือง ผู้วิจัย นายช านาญ ชาดิษฐ์ หลักสูตร วปอ.รุ่นที่ 63 การศึกษาเรื่อง แนวทางการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของไทยต่อ สถาบันการเงิน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาปัญหาอันเกิดจากมาตรการของกฎหมายป้องกันและปราบปราม การฟอกเงินของประเทศไทยและต่างประเทศ2.วิเคราะห์ปัญหาผลกระทบการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินของไทย และ 3. เสนอแนะแนวทางการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินของไทยต่อสถาบันการเงิน โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ จากงานวิจัย เอกสารทาง วิชาการและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นเอกสารจากประมวลกฎหมาย และบทความของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ และสังเคราะห์ข้อมูลทฤษฎี หลักการ ต่างๆ สรุปผลการศึกษาได้ ดังนี้ ผลการวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลใช้ บังคับตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2542 จากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ที่ใช้บังคับอยู่มีสิ่งที่เป็นปัญหาในหลายประเด็น ดังนี้ 1) ปัญหาการจ ากัดสิทธิเสรีภาพ 2) บทบาทของสถาบัน การเงิน ธุรกิจและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน 3) การปฏิบัติตามมาตรฐานสากล และ 4) ปัญหา การแก้ไขกฎหมายที่ไม่ทันต่อสถานการณ์ ส าหรับปัญหาผลกระทบการบังคับใช้กฎหมายป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินของไทย มีดังนี้1) บทบัญญัติเกี่ยวกับการกระท าความผิดทางอาญาฐานฟอกเงิน 2) บทก าหนดโทษ 3)การก าหนดหน้าที่และการก าหนดบทลงโทษของการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ของสถาบันการเงิน ส่วนแนวทางการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินของไทย ต่อสถาบันการเงิน มีดังนี้1)ต้องพิจารณาจากศักยภาพในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการฟอกเงินของสถาบันการเงินแต่ละประเภทธุรกิจเป็นส าคัญ 2)ต้องพิจารณาจากขนาดทุนของ สถาบันการเงินแต่ละประเภทธุรกิจ 3)ต้องพิจารณาจากจ านวนผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สถาบันการเงินนั้น มีอยู่ 4)ต้องจัดกลุ่มสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินขึ้นใหม่ 5)แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ได้แก่ การนิยามสถาบัน การเงิน การก าหนดหน้าที่ของสถาบันการเงิน และการก าหนดบทลงโทษและมาตรการลงโทษต่อสถาบัน การเงิน ข้อเสนอแนะ หน่วยงานทุกภาคส่วนได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปควร ร่วมมือกันในการสร้างจิตส านึกด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้แก่ประชาชนทั่วไป เช่น การแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับการฟอกเงิน การป้องกัน และวิธีการตัดวงจรการฟอกเงินกรณีถูกหลอกลวง หรือ ถูกจ้างวานให้เปิดบัญชีธนาคาร เป็นต้น

abstract:

Abstract Title Guidelines for Enforcement of Thai Anti-Money Laundering Laws against Financial Institutions Field Politics Name Mr.Chamnan Chadit Couse NDC Class 63 The study of guidelines for enforcement of Thai anti-money laundering laws against financial institutions aimed to 1. Study the problems arising from the measures of anti-money laundering laws in Thailand and abroad, 2. Analyze the impact of the enforcement of anti-money laundering laws in Thailand and 3. Recommend guidelines for the development of Thai anti-money laundering laws to financial institutions by collecting secondary data from research papers, academic documents and related literature both from the codes of law and articles of relevant experts including primary information based on interviews with the samples used in the research. Data were analyzed by using content analysis then the analysis, comparison and synthesis of various theories and principles as well. The results of the study were summarized as follows: The results showed that the Anti-Money Laundering Act of B.E. 2542 (1999), which came into force on August 19, 1999, from the provisions of the act that were in force, there were several issues as follows: 1) the problem of restriction of rights and freedoms, 2) the role of financial institutions, non-financial businesses and professionals, 3) compliance with international standards and 4) problems of amending laws that were not keeping up with the situation. As for the problems that affected the enforcement of anti-money laundering laws in Thailand, they were as follows: 1) provisions relating to criminal offenses against money laundering, 2) penalties and 3) determination of duties and penalties for violations or non￾compliance with the laws of financial institutions. The guidelines for the development of Thai anti-money laundering laws against financial institutions were as follows: 1) consideration must be given to the potential for compliance with the anti￾money laundering law of each type of financial institution, 2) must consider the capital size of each type of financial institution, 3) must consider the number of financial products that the financial institution had, 4) financial institutions must be reclassified under the Anti-Money Laundering Act and 5 ) amendment of the Anti￾Money Laundering Act, B.E. 2542 (1999), including the definition of financial institutions, determination of duties of financial institutions and the determination of penalties and sanctions against financial institutions. Recommendations, all sectors of the government, the private sector, and the general public should work together in raising awareness about money laundering prevention and suppression among the general public, such as whistle￾blowing about money laundering, prevention and how to break the money laundering cycle in case of fraud or being hired to open a bank account, etc.