Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน, (วปอ.9226)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ชานน, (วปอ.9226)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบ “นโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน” ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์ ผู้วิจัย นายชานน วาสิกศิริ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 63 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน และ วิเคราะห์ผลของนโยบายที่ท าให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาอย่าง ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร เพื่อก าหนดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบายขับเคลื่อนไทย ไปด้วยกัน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ประกอบกับข้อมูลที่ได้จากการ สัมภาษณ์เชิงลึกของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงมาประกอบการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาผ่านกรอบแนวคิด เรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน แนวความคิดเศรษฐกิจใหม่ รวมถึงแนวความคิดการมีส่วนร่วมของ ประชาชน ผลการวิจัยพบว่า กรอบนโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน เกิดจากแนวคิดเพื่อแก้ปัญหา ความเดือดร้อนของประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และการ เสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID – 19 โดยจะมี คณะกรรมการที่รับผิดชอบทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด ประสานการปฏิบัติและติดตาม ประเมินผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เกิดการ สนองตอบความต้องการของประชาชน ปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบาย ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร พบว่ามี 4 ประเด็นคือ 1) การขาดการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบาย ฯ 2) การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนภายใน จังหวัดยังไม่ชัดเจน 3) ระยะเวลาในการเตรียมการด าเนินนโยบายมีจ ากัด 4) การด าเนินนโยบาย ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันของจังหวัดสกลนคร ยังไม่ชัดเจนในบางมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน การ ก าหนดแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้นโยบายขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ควรมีแนวทางคือ จังหวัดสกลนครควรเร่งสนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ ขับเคลื่อนนโยบายที่เกิดขึ้นในจังหวัด เพื่อเป็นการให้โอกาสประชาชนเป็นฝ่ายตัดสินใจ ควรผลักดันให้ เกิดการบูรณาการทุกภาคส่วนของจังหวัดในการขับเคลื่อนนโยบายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ควร เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน (Local Economy) ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy รวมถึงควรกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นย้ าให้ทุนมนุษย์ในจังหวัดตระหนัก ถึงการพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในจังหวัดสกลนคร ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายว่า ควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ในการก าหนดนโยบาย และต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าประเด็นสาธารณะที่น ามาก าหนดเป็นตัว ปัญหานั้นเป็นเรื่องเดือดร้อนของคนในจังหวัดจนกลายเป็นสิ่งที่ควรน ามาระบุเป็นปัญหาสาธารณะ ของจังหวัด (Public Problem) ที่ควรได้รับการแก้ไขหรือไม่ ควรมีการก าหนดวัตถุประสงค์ของ นโยบายก่อนที่จะมีการก าหนดนโยบาย ในการก าหนดนโยบายต้องค านึงถึงการตอบสนอง (Responsiveness) นั่นคือความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชาชนกลุ่มต่าง ๆ และ ความเหมาะสม (Appropriateness) คือการพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมถึงในการก าหนดนโยบายควรมีการประเมินก่อนการก าหนดนโยบาย (Formative Evaluation) เพื่อ ประเมินความต้องการและความเป็นไปได้ของนโยบาย และควรมุ่งเน้นไปที่ประสิทธิผลของนโยบาย (Effectiveness) ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก ประสิทธิภาพ (Efficiency) ความสามารถในการผลิตผลผลิต โดยเปรียบเทียบจากต้นทุน ความพอเพียง (Adequacy) ความสามารถของการด าเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ รวมถึงความ เป็นธรรม (Equity) การกระจายตัวของผลการด าเนินการตามนโยบายต่อประชาชนในจังหวัด

abstract:

Abstract Title Sustainable Development under “Drive Thailand Together Policy” Field Strategy Name Mr. Chanon Vasiksiri Course NDC Class 63 This research’s objective is to study the framework of the “Driving Thailand Together” policy and analyze the policy’s outcomes which result in sustainable development, as well as to set up the guideline for sustainable development in Sakon Nakhon Province. The primary and secondary data, together with the data from in-depth interview of directly involved people, were used for content analysis through conceptual framework of sustainable development, new economy concept, and people’s participation concept. The result showed that “Driving Thailand Together” Policy Framework which was originated from the idea to relief people’s sufferings, elevate their quality of lives, and promote their potential to develop the country due to COVID-19. The responsible committees were set in national and provincial level. The committee shall coordinate, progress, and follow up the solutions to the problems and drive the country’s development according to people’s needs. There were 4 main problems and obstacles for sustainable development under the “Driving Thailand Together” Policy in Sakon Nakhon Province which were 1) Lack of people’s participation to drive the policy 2) Integration and collaboration from all divisions in the province were not clear yet 3) Limited policy preparation time 4) Proceeding the “Driving Thailand Together” in Sakon Nakhon province was not clear yet in some perspective of sustainable development. Guideline for sustainable development under “Driving Thailand Together” Policy in Sakon Nakhon Province shall be set. The province shall accelerate to promote more participations among people to have decisions made by people themselves. Integrations of all divisions in the province shall be pushed to drive the policy, concretely. Local economy development according to creative economy shall be focused as well as encouragement for sustainable development. The environmental development within Sakon Nakhon province shall be emphasized to all people. The researcher’s proposed policy is to let the people participate in the policy establishment. The public problem raised by the people shall be carefully considered whether it shall be elevated as province’s public problem to be solved or not. The objective needs to be established before the policy. The policy shall consider: Responsiveness (the ability to fulfill the needs of people), Appropriateness (considering the practical value and possibility), Formative Evaluation (evaluation prior to the policy establishment to estimate the policy’s needs and possibility), Effectiveness (ability to achieve the choice’s goal), Efficiency (ability to produce the products, compared to the cost), Adequacy (ability to achieve the goal under available resources), and Equity (the distribution of the results to people in the province according to the policy).