Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การจัดการความรู้ และการสร้างแรงจูงใจในการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตในภาคเกษตรไทยอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาการใช้ปุ๋ยของพืชเศรษฐกิจไทย , (วปอ.9222)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติเศรษฐกิจ/Economics
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นาย ชนินทร์ รุ่งแสง, (วปอ.9222)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2563
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การพัฒนาการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืช เศรษฐกิจไทย ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ ผู้วิจัย นายชนินทร์ รุ่งแสง หลักสูตร วปอ. รุ่นที่63 ภาคการเกษตรมีความสําคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยมายาวนาน เนื่องจากประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตมรสุมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีสภาพภูมิประเทศ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และภูมิอากาศ เอื้ออำนวยต่อการทำการเกษตร ทำให้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตรหรือเกี่ยวข้อง มาโดยตลอด ทำให้ ประเทศไทยมีความมั่นคงทางด้านอาหารและมีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตร เข้าสู่ประเทศอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ผลิตภาพของภาคเกษตรอยู่ในระดับต่ำและโตช้า เมื่อเปรียบเทียบกับภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของการเกษตร ข้าว มันสำปะหลัง และผลไม้ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำนครนายก และวิเคราะห์การแก้ปัญหาภาคเกษตรด้วยการจัดการความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการใช้ปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการผลิตพืชเศรษฐกิจ จากการศึกษา วิจัย ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการใช้ Action Learning เพื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ร่วมกัน คือ การที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้นำ เกษตรกร บุคลากรภาครัฐ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และเกษตรกรผู้ปลูกข้าว มันสำปะหลัง และผลไม้ ของชุมชนในลุ่มแม่น้ำนครนายก รวมถึงการตรวจสอบข้อมูลสามเส้า (Triangulation) พบว่าในพื้นที่ ศึกษาประสบปัญหา ต้นทุนการผลิตสูงและมีผลิตภาพที่ต่ำกว่าศักยภาพที่แท้จริง ตลอดจนการ เสื่อมโทรมของดินเพราะการใช้สารเคมีในปริมาณมาก อันทำเกิดผลลัพธ์ที่ตามมา คือ สถาบัน เกษตรกรขาดความเข้มแข็ง อุปสงค์-อุปทานไม่สมดุลย์ จนนำมาสู่ปัญหาราคาตกต่ำ ทำให้เกิดสภาพหนี้ การถูกเอารัดเอาเปรียบและการกึ่งผูกขาด ขาดแคลนแรงงานและการเข้าถึงเทคโนโลยี ขาดการ เชื่อมโยงในลักษณะคลัสเตอร์ เกษตรกรขาดความมุ่งมั่น และแรงจูงใจในการแสวงหาความรู้ และ ท้ายที่สุดจึงนำมาสู่การลดลงของแรงงานในภาคเกษตร ด้วยเหตุนี้ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงสามารถทำได้โดยการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้ ที่ครอบคลุมด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการจัดเก็บความรู้ และด้านการ ถ่ายทอดความรู้ในประเด็นการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการใช้ ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์กดิน และการลดราคาปัจจัยการผลิตปุ๋ยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศด้วยการจัดทำ ข้อเสนอต่อภาครัฐบางในการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่โพแทชในประเทศซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการ ผลิตปุ๋ย โดยทั้งหมดนี้จะสามารถทำให้ปัญหาภาคเกษตรขั้นมูลฐานได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน

abstract:

Abstract Title The development of appropriate use of inputs in the agricultural sector reduces the cost of production of Thai economic crops. Field Economics Name Mr. Chanin Roongsang Course NDC Class 63 The agricultural sector has long been essential to the Thai economy and society as Thailand is located in the southeast Asian monsoon region where the topography, resources, environment and climate are highly favourable for farming. As a result, most of the population has been engaged in agricultural or related occupations, resulting in Thailand's food security and steady income from agricultural exports into the country. However, agricultural productivity is low and growing. Slow compared to other economic sectors. This research aimed to study the problems of agriculture, rice, cassava and fruit in the Nakhon Nayok River Basin and to analyze for solving agricultural problems through knowledge management to develop the use of appropriate inputs to reduce the cost of production of economic crops. The study with qualitative research methodology was the use of in-depth interviews by using action learning for collective analytical learning, i.e., the stakeholders included community leaders, farmers leaders, government personnel, academics, experts, and growers. Rice, cassava and fruits of communities in the Nakhon Nayok River Basin, including using the Triangulation method, found that the problem was high production cost and lower productivity than the true potential and soil degradation in the study area due to the use of large amounts of chemicals. As a consequence, the farmers' institutions lacked strength, supply and demand imbalance leading to the problem of falling prices cause debt, being exploited and semi-monopoly, shortage of labour and access to technology, the lack of cluster linkage, and the most important thing is the lack of commitment and motivation for farmers to seek knowledge and ultimately leading to a reduction in the labour force in the agricultural sector. Therefore, such problems can be solved by developing the capacity of learning resources that cover knowledge acquisition. , the creation of knowledge, knowledge storage and knowledge transfer on the issue of using fertilizers efficiently without damaging the environment, especially the use of fertilizers according to soil analysis and reducing the price of fertilizer inputs using domestic raw materials by making proposals to some governments to develop the potash industry, which is an important raw material for fertilizer production. All of this will enable the fundamental agricultural problem to be solved sustainably.