เรื่อง: แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่, (วปอ.9508)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลโท ชนะ ลิมิตเลาหพันธุ์, (วปอ.9508)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย พล.ท. ชนะ ลิมิตเลาหพันธุ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๔
งานวิจัยเรื่อง“แนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่”
เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ร่วมกับใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative
Research) มีวัตถุประสงค์ ของการวิจัยเพื่อศึกษา วิเคราะห์ พฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
อุบัติใหม่ในปัจจุบัน ของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย และเสนอแนวทางการปรับเปลี่ยน
พฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ของข้าราชการกองบัญชาการกองทัพไทย ดำเนินการ
วิจัยโดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นข้าราชการสังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย
จำนวน ๑๕ คน เพื่อเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมต่อโรคติดต่ออุบัติใหม่ในปัจจุบัน ๓ ด้าน ได้แก่ พฤติกรรม
การสวมใส่ หน้ากากอนามัย พฤติกรรมการรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล และพฤติกรรมการรับวัคซีน
ป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ในปัจจุบัน และศึกษาข้อมูลงานวิจัย บทความ และวารสารในต่างประเทศที่
เกี่ยวข้อง แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพรูปแบบปัญญาสังคม ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อ
ป้องกันโรค แนวคิดและทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับเจตคติ
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการสร้างการรับรู้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับแรงสนับสนุนทางสังคม และมาตรการป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่ของ ศคร.
COVID-19 ศบท. ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของข้าราชการต่อโรคติดต่ออุบัติใหม่
ในปัจจุบัน จำแนกเป็น ปัจจัยภายใน (ปัจเจกบุคคล) ปัจจัยภายนอก (ด้านสังคมวัฒนธรรม รวมถึง
วัฒนธรรมองค์กร) และสหปัจจัย ซึ่งผลการวิจัยพบว่าในอดีตกำลังพลส่วนใหญ่มีพฤติกรรมไม่ใส่ใจใน
สุขภาพของตน ไม่ว่าสืบเนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ในปัจจุบัน
พบว่า เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองให้เป็นไปตามแนวทางที่สอดคล้องกับการป้องกันโรคฯ
ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังมีความกระตือรือร้นในการเผยแพร่ข้อมูลความรู้ของตนให้กับบุคคลในครอบครัว
และคนรอบข้าง ทั้งนี้ ทฤษฎีที่สนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากที่สุดคือ ทฤษฎีการรับรู้ ซึ่งแสดง
ให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์แรกที่ผู้บริหารพึงตระหนักในการกำหนดนโยบายให้ข้าราชการปฏิบัติตาม คือ
การสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญและมีศักยภาพให้เกิดผลสัมฤทธิ์
ตามเป้าประสงค์ได้เป็นอย่างดี
abstract:
Abstract
Title Strategy of health behavior changes related to Emerging Infectious
Disease prevention
Field Social - Psychology
Name Lieutenant general Chana Limithlaohapunth Course NDC Class 64
Health behavior is one of the key factors determining people’s wellbeing especially during the circumstance of COVID-19 pandemic, worldwide spreading
of the newly emerging infectious disease. The objectives of the research were to
explore health behaviors related to protect against COVID-19 pandemic in 3 mains
area, which are facial mask coverage, social distancing, and COVID-19 vaccination, and
to identify the impact factors influencing on the changing of health behaviors among
officers and non-commission officers of Royal Thai Armed Forces Head Quarter.
Scope of the research was focused on health behaviors and determinants of health
behaviors justified according to the evidence-based theories of health promotion
models such as health belief model, protection motivation theory, attitude,
perception, motive, including the COVID-19 restriction protocols applied from the
COVID-19 Management Center of Military Command Center. The methodology was a
descriptive and qualitative study by means of in-depth interview of 15 officers and
non-commission officers, variety in ranks and positions, of Royal Thai Armed Forces
Head Quarter then classification and analysis of the factors associated with health
behaviors change related to COVID-19 pandemic. The results showed that most of
the population included in the study were neglecting on taking care of their own
health prior to the pandemic, however, health behaviors were changed toward the
correct ways of protecting themselves against the current emerging infectious
disease. The key factor related to these successful health behaviors change was
found to be resulting from perception theory. These results can be implied that
properly providing the precise knowledge to the officers is first essential step of
whole strategic plans for the yield of efficacy and effectiveness outcome for
successfully creating “RTARF Personal Culture”.