Girl in a jacket
สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ
National Defence Studies Institute

เรื่อง: การสร้างเครือข่ายภาครัฐเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ, (วปอ.9505)

หมวดหมู่:
งานวิจัย
มิติ:
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
พื้นที่/ขอบเขต:
ภายในประเทศ/Domestic/Local
ผู้เขียน:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, พลตำรวจตรี ฉัตรชัย สุรเชษฐพงษ์, (วปอ.9505)
หน่วยงานเจ้าของ:
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
ปีที่พิมพ์:
2564
จำนวนหน้า:
การเปิดเผยข้อมูล:
สาธารณะ

บทคัดย่อ:

ก บทคัดย่อ เรื่อง การสร้างเครือข่ายภาครัฐเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา ผู้วิจัย พลตำรวจตรี ฉัตรชัย สุรเชษฐพงษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๔ ความเสียหายจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ทำให้เกิดการสูญเสียทางทรัพยากร ดังนั้นเป้าหมายสำคัญของการสร้างเครือข่ายภาครัฐเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบคือ การสร้างภาครัฐที่มีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ มีวัฒนธรรมแยกแยะประโยชน์ส่วนบุคคล และประโยชน์ส่วนรวมของบุคลากรภาครัฐให้เกิดขึ้น รวมทั้งสร้างจิตสำนึกและค่านิยมให้ทุกภาคส่วน ละอายต่อการทุจริตประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาข้อขัดข้องการสร้างเครือข่าย ภาครัฐด้านการต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบ การพัฒนาเครือข่ายภาครัฐด้านการต่อต้านทุจริตและ ประพฤติมิชอบ การส่งเสริมและการสนับสนุนเครือข่ายภาครัฐด้านการต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อผลักดันการแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบและส่งเสริมการสร้างแนวทางใหม่ในการสร้าง เครือข่ายภาครัฐด้านการต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยเอกสารวิจัยฉบับนี้นำเสนอข้อมูล แบบเอกสารวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลแบบการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะนักศึกษาหลักสูตร การป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ ๖๔ ที่ปฏิบัติงานในส่วนของหน่วยงานราชการภายในประเทศไทย จำนวน ๑๐ คน เพื่อให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเครือข่ายภาครัฐเพื่อต่อต้านการทุจริตและประพฤติ มิชอบ ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาแนวทางการสร้างเครือข่ายภาครัฐด้านการต่อต้านการทุจริตและ ประพฤติมิชอบที่ควรปฏิบัติ คือ การสนับสนุนให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ โดยให้ประชาชนเข้ามาช่วยกันตรวจสอบ เฝ้าระวัง สอดส่อง และติดตามการกระทำการ ทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยการกำหนดมาตรการส่งเสริมเครือข่ายภาครัฐด้านการต่อต้านการทุจริตและ ประพฤติมิชอบ ประกอบด้วย การสร้างประชาธิปไตยแบบหนาหรือเข้มข้น การลดการผูกขาด และ ลดการใช้ดุลพินิจ ทั้งนี้ การสร้างสังคมให้เกิดความโปร่งใสสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง หากแต่วิธีการขึ้นอยู่ กับบริบทแต่ละประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม การสร้างวัฒนธรรมต่อต้าน การทุจริต การปลูกฝังความพอเพียง มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ จิตอาสา ความเสียสละ เพื่อส่วนรวม ปลูกฝังความคิดแบบดิจิทัลให้สามารถคิดแยกแยะระหว่างประโยชน์ส่วนตัวและประโยชน์ ส่วนรวมได้

abstract:

Abstract Title Government Network Against Corruption and Misconduct Field Social-Psychology Name Police Major General Chatchai Surachettapong Course NDC Class 64 Damage from corruption and misconduct causing waste of resources. Therefore, the important goal of building a government network to combat corruption and misconduct is Creating a government that is transparent and verifiable There is a culture that distinguishes personal benefits and collective interests of government personnel to occur. as well as create awareness and values for all sectors ashamed of all forms of corruption. Therefore, the researcher is interested in studying and analyzing the condition, problems, and building a government network against corruption and misconduct. Developing government networks against corruption and misconduct Promoting and supporting government networks against corruption and misconduct To drive the solution of corruption and misconduct and to promote the creation of new approaches in building a government network against corruption and misconduct. This research paper presents information. Qualitative Research Document Form The method of collecting data by in-depth interview from 10 students of the National Defense Course, Class 64 working in government agencies in Thailand. To provide opinions and suggestions about the government network to combat corruption and misconduct. The development of guidelines for building a public sector network against corruption and misconduct that should be practiced is to encourage people to participate in the prevention of corruption and misconduct. by allowing the public to help inspect, monitor, monitor and monitor corruption and misconduct. By establishing measures to promote the government network against corruption and misconduct, consisting of thick or intense democratization , Reducing monopoly and reducing discretion. However, building a transparent society can actually make it happen. But the method depends on the context of each country. starting from the process of socializing Creating an anti-corruption culture, cultivating self-sufficiency, discipline, honesty, honesty, public-mindedness, volunteerism, sacrifice for the public, instilling a digital mindset to be able to distinguish between personal and collective interests.