เรื่อง: แนวทางการพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางให้มีความยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2570, (วปอ.9493)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติการเมือง/Politics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล, (วปอ.9493)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนาสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางให้มีความยั่งยืนภายในปี
พ.ศ. 2570
ลักษณะวิชา ด้านการเมือง
ผู้วิจัย นายขจรจักษณ์ นวลพรหมสกุล หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความยั่งยืนของเกษตรกร
ชาวสวนยางในมุมมองของปัจเจกบุคคลและคณะกรรมการของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง การวิจัย
นี้ได้รับแรงบัลดาลใจจากข้อเท็จจริงที่ว่าเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทยยังคงด้อยโอกาสและ
ขาดความรู้ด้านการตลาด การเงิน เทคโนโลยี ธุรกิจ และโอกาสทางเศรษฐกิจ การวิจัยได้นำ
แบบจำลองที่ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรการศึกษาโดยมุ่งเน้นที่ผลกระทบต่อความยั่งยืน
ซึ่งใช้วิธีการเชิงปริมาณ โดยรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรชาวสวนยางในประเทศไทยจำนวน 840 ราย
แบบจำลองที่เสนอและโครงสร้างที่เสนอได้รับการประเมินโดยใช้การทดสอบความน่าเชื่อถือและ
ความถูกต้อง และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ข้อมูลได้นำแบบจำลองสมการ
โครงสร้างมาประยุกต์ใช้ ผลการวิจัยระบุว่าความยั่งยืนได้รับอิทธิพลโดยตรงและอย่างมีนัยสำคัญจาก
ภาพลักษณ์ของแบรนด์และปัจจัยความภักดี นอกจากนี้ ความยั่งยืนยังพบว่าได้รับอิทธิพลทางอ้อม
จากความพึงพอใจและความไว้วางใจ การวิจัยยังระบุด้วยว่าความภักดีได้รับอิทธิพลอย่างมากจาก
ความไว้วางใจและความพึงพอใจ นอกจากนี้ยังพบว่าภาพลักษณ์ของแบรนด์มีอิทธิพลอย่างมากต่อคุณ
ค่าที่รับรู้ การวิจัยแนะนำว่าการปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์เกษตรกรชาวสวนยางทั้งในประเทศ
และต่างประเทศจะส่งผลให้ธุรกิจมีความยั่งยืนเพิ่มขึ้น ด้านความพึงพอใจในด้านเศรษฐกิจ ความรู้
ความมั่นคง และการมีส่วนร่วม สามารถปรับปรุงเพื่อพัฒนาความยั่งยืนในการทำสวนยาง
abstract:
Abstract
Title Guidelines for Sustainable Development of Rubber Farmers' Stitutions
On 2027
Field Political
Name Mr. Kajohnjak Nuanphromsakul Course NDC Class 64
This research was geared towards analyzing the factors that influence the
sustainability of rubbers farmers from the individual perspective and Policy maker. The
research was driven by the fact that in Thailand, rubber farmers are still
underprivileged, and the lack of knowledge of marketing, finance, technology, business,
and economic opportunities. The research adopted a model that evaluated the
relationship between study variables, with a focus to their effect on sustainability.
Quantitative methodology was adopted, where the data was collected from 840
individual rubber farmers in Thailand, proposed model and proposed constructs were
evaluated using reliability and validity tests, and CFA fitness. The structural equation
modeling was applied in analysis of the data. The findings indicated that sustainability
was directly and significantly influenced by brand image and loyalty factors.
Additionally, sustainability was found to be indirectly influenced by satisfaction and
trust. The research also indicated that loyalty was significantly influenced by trust and
satisfaction. Brand image was found to significantly influence perceived value. The
research recommended that improvement in the brand image of the rubber farmers
instates both locally and internationally would result to increased business
sustainability. The aspects of satisfaction such as economics, knowledge, stability, and
participation could be enhanced to improve sustainability in rubber farming.