เรื่อง: การศึกษาแนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่และซับซ้อนสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยที่พึงประสงค์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม, (วปอ.9491)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติสังคม/สังคมจิตวิทยา/Social-Psychology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกิตติศักดิ์ อักษรวงศ์, (วปอ.9491)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาแนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่และซับซ้อนสำหรับรองรับ
ผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยที่พึงประสงค์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม
ลักษณะวิชา สังคมจิตวิทยา
ผู้วิจัย นายกิตติศักดิ์ อักษรวงศ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่และ
ซับซ้อนสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ในประเทศไทยที่พึงประสงค์ กรณีศึกษาโรงพยาบาลบุษราคัม
เพื่อให้สามารถนำไปเป็นข้อมูลได้จริงและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีขอบเขตในด้าน
เนื้อหา ด้านประชากร ด้านเอกสารหลักฐาน ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์กระบวนการ
รูปแบบ ประชุม รวมถึงการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้เกี่ยวข้องที่มีความรู้มีบทบาท ประสบการณ์การ
ทำงาน ในโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่ในประเทศไทย แบบเฉพาะเจาะจง เพื่อวิเคราะห์และหาแนว
ทางการการพัฒนาดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขนาดใหญ่และซับซ้อน สำหรับรองรับผู้ป่วย
โควิด-19 ในประเทศไทยในปัจจุบันและอนาคต ในช่วง 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2565
ผลการวิจัยพบว่า การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในประเทศไทยสำหรับการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 นั้นมี
หลักการจัดระบบบริหารตามโครงสร้างระบบบริหารเป็น 2 ส่วนใหญ่คือ ส่วนบัญชาการ (Command
staff) โดยมีผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนาม (Field hospital director) เป็น Incident commander
โดยมีเจ้าหน้าที่ประสานงาน (Liaison officer : LO) ในการช่วยเหลือผู้อำนวยการโดยส่วนใหญ่การ
บริหารงานจะเป็นแบบการสั่งการเนื่องจากเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินเร่งด่วน ทำให้ต้องการการตัดสินใจ
ที่รวดเร็วทันต่อเหตุการณ์ ส่วนอำนวยการ (General Staff) เช่น หัวหน้าส่วนปฏิบัติการด้าน
การแพทย์โรงพยาบาลสนาม (Field hospital-operation section chief : FH-OSC) โดยกรณีศึกษา
ของโรงพยาบาลบุษราคัม การบริหารจัดการโรงพยาบาลสนามนั้น ควรมีการแบ่งโรงพยาบาลสนาม
เป็นลักษณะการดูแลเฉพาะ เช่น โรงพยาบาลสนามที่เป็น หอผู้ป่วยหนักเป็นการเฉพาะ หรือ
โรงพยาบาลสนามที่ผู้ป่วยต้องใช้ออกซิเจนอัตราการไหลสูงเป็นการเฉพาะ เพื่อทำให้การจัดสรร
ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าเป็นสถานที่ ครุภัณฑ์และบุคลากรในการทำงานทีมีความเชี่ยวชาญได้ดีกว่า
ระบบการสั่งงาน ไม่ซับซ้อนเนื่องจากเป็นการดูแลผู้ป่วยแบบเดียวกัน ทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องข
แบ่งกลุ่มการทำงานต่าง ๆ ที่ซับซ้อน บุคลากรที่มาปฏิบัติการควรมีความต่อเนื่องเป็นระยะยาวนาน
พอสมควร เช่น 1 เดือนเป็นต้น โดยเพิ่มแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น ค่าตอบแทน ความดีความชอบเป็น
กรณีพิเศษ เพราะการหมุนเวียนปฏิบัติงานบ่อยและมีระยะเวลาอันสั้นทำให้มีการผิดพลาดในเรื่องเดิม
เกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องจากอาจไม่ได้มีการส่งต่อการปฏิบัติงานหรือการทดลองการปฏิบัติงานที่เพียงพอ
ก่อนการทำงาน เมื่อปฏิบัติงานได้คล่องก็ถึงกำหนดกลับอีกการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ในการทำ
Telemedicine ให้มากขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่เสถียรและสามารถสั่งการรักษาทางไกลได้
การใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ต่าง ๆ มาช่วยในการทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น
หุ่นยนต์ส่งยา ส่งอาหาร ในด้านกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ควรมีกฎหมายและกฎระเบียบเป็น
ลักษณะแบบบูรณาการทำให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องสามาารถทำงานประสานสอดคล้องได้รวดเร็วทัน
ต่อเหตุการณ์
abstract:
Abstract
Title A study of the guidelines for setting up a large and complex field hospital for
COVID-19 patients in Thailand. Case Study of Busarakham Hospital
Field Sociology - Psychology
Name Kittisak Agsornwong MD. Couse NDC Class 64
The objective of this research is to study the guidelines for setting up a
large and desirablecomplex field hospital for COVID-19 patients in Thailand, case study
of Busarakham Hospital. In order to utilize data and operate effectively with scope in
terms of content, population, documentary evidence by using qualitative research
methods, process analysis, meeting formats, and including in-depth interviews with
knowledgeable stakeholders work experience in a large field hospital in Thailand that
specific to analyze and find development guidelines for the establishment of large and
complex field hospitals for supporting COVID-19 patients in Thailand at present and in
the future.
Between October 1st 2021 to April 30th 2022. The results showed that
establishment of a field hospital in Thailand for the care of COVID-19 patients. There
is a principle of organizing management system according to the management system
structure into 2 main parts: command staff with field hospital director as Incident
commander and Liaison officer (LO) in assisting the director. Most of the administration
will be in the form of orders as it is an urgent emergency situation. This makes it
necessary to make decisions that are prompt and timely, General staff such as Field
hospital-operation section chief (FH-OSC) by case studies of Busarakham hospital. The
management of the field hospital field hospitals should be divided into specific care
characteristics, such as the special intensive care unit or where patients need high flow
oxygen to make the better allocation of resources. Personnel who come to work
should not work less than 1 month to reduce the turnover rate of personnel. Adding
various incentives such as money or the better career opportunity. The use of various ง
technologies to make telemedicine more, such as the use of stable communication
technology and the ability to direct treatments from a distance. use of various robotic
technologies for reduce infection, such as drug delivery robots, food delivery. In law
and governance aspect, there should be laws and regulations as an integrated manner
so that relevant government agencies can work together in a timely manner.