เรื่อง: แนวทางการเสริมสร้าง Soft Power ของไทย, (วปอ.9485)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติยุทธศาสตร์/Strategy
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ศาสตราจารย์ ดร. กิตติ ประเสริฐสุข, (วปอ.9485)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการเสริมสร้าง Soft Power ของไทยสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์
ลักษณะวิชา ยุทธศาสตร์
ผู้วิจัย ศาสตราจารย์ ดร. กิตติ ประเสริฐสุข หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ 64
งานวิจัยนี้ มุ่งหาแนวทางและวิธีการในการเสริมสร้าง soft power ของไทยให้เข้มแข็ง
มากขึ้น อันจะเป็นการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โควิด ขอบเขตการวิจัยเริ่มจากการศึกษา
ศักยภาพและนโยบายด้าน soft power ของไทยที่ผ่านมา และวิเคราะห์แนวทางและวิธีการของ
เกาหลีและญี่ปุ่นที่ได้รับการจัดอันดับ soft power ในระดับสูง และสร้างรายได้เข้าประเทศได้มากด้วย
สินค้าทางวัฒนธรรม การด าเนินการวิจัยเป็นในเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารปฐมภูมิ
และทุติยภูมิ ตลอดจนการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่าไทยมีทรัพยากรด้านวัฒนธรรมอยู่ไม่น้อย ไม่ว่า
จะเป็นภาพยนตร์ ละครทีวี ดารานักร้อง ที่ไปได้รับความนิยมในหลายประเทศ อีกทั้งยังมีมวยไทย
อาหารไทย เป็นต้น จึงควรพัฒนาต่อยอด ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างจริงจังและเป็นระบบ ใน
กรณีเกาหลี พบว่ามีนโยบายและยุทธศาสตร์ที่ชัดเจน โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรม
เกาหลีอย่างต่อเนื่อง เริ่มจากการสร้างความนิยมในระดับภูมิภาค ขยายไปสู่ระดับโลก การสนับสนุน
ด้านเงินทุนผ่านการสนับสนุนด้านการถ่ายท า และการพัฒนาบทภาพยนตร์บทละคร ตลอดจนสตอรี่
ด้านการท่องเที่ยว โดยมีการสอดแทรก (tie in) ผลิตภัณฑ์และสถานที่่ท่องเที่ยว โดยนักแสดงจะใช้
สินค้าเกาหลี เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องส าอาง เสื้อผ้าแฟชั่น อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า และรถยนต์
รวมทั้งสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเป็นการส่งเสริมสินค้าเกาหลีอย่างบูรณาการ ในกรณีของญี่ปุ่น มีการตั้งธีม
“Cool Japan” (ญี่ปุ่นเท่ห์) และมีนวัตกรรมในอุตสาหกรรมบันเทิงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีการจัด
กลไกขับเคลื่อนอย่างชัดเจน จากข้อค้นพบดังกล่าวข้างต้น น าไปสู่ข้อเสนอแนะว่าไทยควรจัดท า “แผน
แม่บท Soft Power” ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ soft
power ที่มีความต่อเนื่อง ให้ความส าคัญกับการพัฒนาเนื้อหาสาระ หรือ คอนเทนต์ อย่างบท
ภาพยนตร์ บทละคร และสตอรี่เกี่ยวกับอาหารและการท่องเที่ยว ด้วยการปรับหรือตั้งหน่วยงานขึ้นมา
ดูแลโดยตรง โดยมีงบประมาณที่เหมาะสม ตั้งกลไกขับเคลื่อนร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง มอง
วัฒนธรรมในมุมที่กว้างขึ้น ทั้งอนุรักษ์และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรมและคอนเทนต์โดย
คนทุกวัย โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่
abstract:
Abstract
Title The Ways to Strengthen Thai Soft Power toward Creative
Economy
Field Strategy
Name Professor Dr. Kitti Prasirtsuk Course NDC Class 64
This research seeks the ways and means to strengthen Thai soft power,
which can help economic recovery amid the pandemics. The scope of study includes
the potentials and Thai policy on soft power, while analyzing the ways and means of
Korea and Japan in their promotion of soft power, which helps earn substantial
incomes through cultural exports. This qualitative research employs both primary and
secondary data, supplemented by interviews. It found that Thailand has high soft
power potentials in terms of movies TV/online series, music, celebrities, which have
gained considerable reputation. In Korean case, the government has clear policy and
strategy, in addition to close cooperation with the private sector in promoting Korean
culture continually. They promoted K-Wave in neighboring countries first and then
extended to the global level eventually. The Korean government offered
movies/drama shooting facilities at cheaper prices or free of charge and has given
priority to contents development. Moreover, Korea tactically ties in products and
services into their movies/drama, for example, smart phones, cosmetics, fashion,
food, and tourism. Meanwhile, Japan set a powerful theme “Cool Japan” to promote
its soft power and always comes up with cultural innovation, apart from clear
promotion mechanisms. Thailand, thus, should develop a master plan for soft power
strategy, allocate appropriate budget, and give priority to contents development,
particularly plots of movies/series and stories about food and tourist attraction. The
government should promote cultural innovation by all generations, especially the
new ones, with a broader definition and perspective on culture.