เรื่อง: แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย, (วปอ.9481)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเศรษฐกิจ/Economics
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นางสาวกัลยาภา เลขวณิชธรรมวิทักษ์, (วปอ.9481)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย
ลักษณะวิชา การเศรษฐกิจ
ผู้วิจัย นางสาวกัลยาภา เลขวณิชธรรมวิทักษ์ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่ ๖๔
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการท่องเที่ยว
เชิงสุขภาพของประเทศไทย วิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคในการบริหารจัดการการท่องเที่ยว
เชิงสุขภาพของประเทศไทย เพื่อเสนอแนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของ
ประเทศไทย โดยทำการศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์
ชาติประเด็นการท่องเที่ยว แนวคิด ทฤษฎีการบริหารจัดการ สถานการณ์ แนวโน้ม ทิศทาง
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การจัดมาตรฐานการบริการในสถานประกอบการ และปัญหาอุปสรรค
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับการวิจัยเชิงพรรณนา รวบรวมข้อมูลนำมา
วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลแบบรายงานเชิงพรรณนา เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการ
การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย
ผลการวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์และสภาพปัญหาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศ
ไทยพบว่า ในปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นภาคธุรกิจที่สร้างรายได้แก่ประเทศไทย
ถือเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ รัฐบาลได้ให้ความสำคัญ
และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อให้บรรลุผลตามยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็น
ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) โดยใช้จุดแข็งของประเทศไทยมาเป็นส่วนหนึ่งในการ
ช่วยผลักดันเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบหลายประการ อีกทั้งแนวโน้มโลกกำลัง
กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุกลุ่มนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุจึงเป็นตลาดเป้าหมายใหม่ที่มีคุณภาพ และมีกำลัง
ซื้อสูงกว่าตลาดทั่วไป ส่วนสภาพปัญหา เนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีแนวโน้มการ
แข่งขันรุนแรงขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความอ่อนไหวง่ายจากปัจจัยลบทั้งภายใน
และภายนอกประเทศ ได้แก่ ปัญหาการระบาดของ โรคอุบัติใหม่ ปัญหาด้านแผนและงบประมาณ
ปัญหาด้านการบริหารจัดการพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และปัญหากฎหมาย แนวทางการ
บริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย ต้องมีการบริหารจัดการในส่วนของภาครัฐ
ผู้ประกอบการ และมีความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รัฐบาลต้องดำเนินการสร้างภาพลักษณ์
ของประเทศไทยให้มีความน่าอยู่ มีความปลอดภัย เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว
เพื่อเป้าหมายสุดท้ายคือการพัฒนาอย่างยั่งยืน
abstract:
Abstract
Title Guidelines for the management of Health Tourism in Thailand
Field Economics
Name Ms. Galayapha Lekvanijthamvitak Course NDC Class 64
This research aims to study the situation and problems of health tourism in
Thailand, analysis of opportunities and threats in the management of health tourism in
Thailand to propose guidelines for such management. By studying the National
Economic and Social Development Plan, National Master plan of tourism strategy issues,
concepts, theories, management, situations, trends, directions of health tourism,
organizing of service standards in the workplace and problems & obstacles in health
tourism. Conducting qualitative research in conjunction with descriptive research.
Collecting data for analysis and present the result in a descriptive report form as a
guideline for the management of health tourism in Thailand.
The results of the research on the situation and problems of health
tourism in Thailand found that, at present, health tourism is a business sector that
generates income for Thailand. It is considered as one of the top 5 industries that
have potential to generate revenue into the country. The government has given
importance and promoted health tourism so as to achieve the results according to
the strategy of developing Thailand into an international health center (Medical Hub),
by using Thailand's strengths to drive the economy as Thailand has many
competitive advantages. Moreover, the world trend is becoming an aging society.
Elderly tourists are, therefore, a new target market that has higher purchasing power
than the general market. For the problems, health tourism industry tends to be more
competitive, has changed rapidly and are susceptible to negative factors both inside
and outside the country. For instance, the outbreak of emerging disease, planning
and budget issues, management problem of health tourism sites and legal issues.
Guidelines for the management of health tourism in Thailand, there must be
management in the public sector, entrepreneurs, and cooperation between the
public and private sectors. The government must undertake to create an image of
Thailand to be livable and safe, in order to build tourists’ confidence for the final
goal in sustainable development.