เรื่อง: แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะด้านคาร์บอนเครดิต, (วปอ.9476)
|
หมวดหมู่:
|
งานวิจัย
|
มิติ:
|
มิติเทคโนโลยี/วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/Science and Technology
|
พื้นที่/ขอบเขต:
|
ภายในประเทศ/Domestic/Local
|
ผู้เขียน:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, นายกฤษดา กวีญาณ, (วปอ.9476)
|
หน่วยงานเจ้าของ:
|
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
|
ปีที่พิมพ์:
|
2564
|
จำนวนหน้า:
|
|
การเปิดเผยข้อมูล:
|
สาธารณะ
|
|
บทคัดย่อ:
ก
บทคัดย่อ
เรื่อง แนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะด้านคาร์บอนเครดิต
ลักษณะวิชา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย นายกฤษดา กวีญาณ หลักสูตร วปอ. รุ่นที่64
มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาแนวคิดและรูปแบบการพัฒนา
เมืองอัจฉริยะด้านคาร์บอนเครดิต 2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ
กรุงเทพมหานครกับต่างประเทศ 3. เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมือง
อัจฉริยะด้านคาร์บอนเครดิต การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 13 ราย
ด้วยการอธิบายข้อมูลในเชิงพรรณนาความ
ผลการวิจัย
1. ผลการศึกษาแนวคิดและรูปแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะด้านคาร์บอนเครดิต พบว่า
แนวคิดของเมืองอัจฉริยะเกิดจากยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ
มีตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับด้านคาร์บอนเครดิต คือการสร้างพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดังนั้น
การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีมิติที่สำคัญคือด้านสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ ดังนั้นรูปแบบการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
ด้านคาร์บอนเครดิตในเขตกรุงเทพมหานคร จึงมุ่งเน้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยรูปแบบ
ต่างๆ ที่หน่วยงานนำมาใช้มี 6 ประการ คือ 1. แผนความร่วมมือเพื่อผลักดันในการพัฒนาโครงการ
พลังงานหมุนเวียน 2. มีการจัดทำแพลตฟอร์มซื้อ-ขาย คาร์บอนเครดิต เพื่อสร้างสมดุลในการปล่อย
ก๊าซคาร์บอนเครดิต 3. ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น 4. เพิ่มปริมาณพื้นที่สีเขียว 5. ลดการ
ขนส่งและการเดินทาง 6. การพัฒนาคนให้เป็น Smart User เพื่อนำไปสู่การเป็น Smart Community
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบสภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกรุงเทพมหานครกับ
ต่างประเทศ พบว่า ในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ทั้งกรุงเทพมหานครและประเทศจีนมี
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอยู่ในระดับที่สูง แต่ในช่วงที่มีสถานการณ์โควิด-19 ระบาดหนักในปี 2562-
2563 สภาพการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลงอย่างมาก ทั้งนี้เป็นผลมาจากสภาพการล็อคดาวน์ของ
แต่ละประเทศ และมีการระบุว่าในปี 2564 จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น ซึ่งการเพิ่มขึ้นที่
ผิดปกติเกิดการคาดการณ์คือประเทศจีนและอินเดีย ขณะที่กรุงเทพมหานคร ไม่ได้สูงเกินกว่าที่คาดการณ์
ขณะที่ช่วงไตรมาสที่ 3 ในปี 2564 ประเทศจีนมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ทั้งนี้เป็นผลมาจาก
การหยุดชะงักของภาคอุตสาหกรรมเนื่องจากการขาดแคลนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสอดคล้องกับผลการ
ศึกษาของกรุงเทพมหานครว่า การเพิ่มขึ้นของการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2564 มา
จากภาคพลังงานซึ่งรวมถึงภาคอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่
3. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองอัจฉริยะด้านคาร์บอน
เครดิต มี 3 ประเด็น คือ 1. การสานพลัง 2. การสร้างนวัตกรรม และ 3. การปรับเข้าสู่ความเป็นดิจิทัลข
ด้วยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการดำเนินการควบคุม ตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
abstract:
Abstract
Title : Guidelines for developing Bangkok as a Smart City on Carbon Credits
Field : Science and Technology
Name : Mr. Krissada Kaveeyan Course : NDC Class : 64
The three objectives of this research were 1. to study the concept and model
of smart city development on carbon credit; 2. to study and compare the greenhouse
gas emissions of Bangkok and other countries; 3. to propose guidelines for developing
Bangkok as a smart city on carbon credits. The research methodology used was qualitative
research by analyzing the information obtained from the relevant documents. The research
tool used was an in-depth interview with 13 key informants, with descriptive explanations
of the data.
Research results
1. The results of the study on the concept and model of smart city development
on carbon credits revealed that the concept of smart cities stems from the national
strategy of building growth based on the environmentally friendly quality of life. There
are important development aims to achieve Sustainable Development Goals in all
dimensions. The indicator related to carbon credit is the creation of green spaces that
are environmentally friendly. Hence, in the development of smart cities, the important
dimension is the intelligent environment. Therefore, the carbon credit smart city development
model in Bangkok, consequently, focuses on reducing greenhouse gas emissions. The
agency has adopted various formats in six aspects, namely 1. a cooperation plan to
push forward in the development of renewable energy projects; 2. a trading platform
has been established on carbon credits to balance carbon credit emissions; 3. to increase
electricity from solar energy; 4. to increase the number of green spaces; 5. to reduce
transportation and travel; 6. people development to be Smart Users leading up to
Smart Community.
2. In The results of comparing Bangkok's greenhouse gas emissions with
foreign countries, it was found that before the COVID-19 pandemic, both Bangkok and
China had high levels of greenhouse gas emissions. However, during the Covid-19 situation,
a substantial epidemic in 2019-2020, the greenhouse gas emissions were greatly reduced.
This is a result of the lockdown conditions of each country. It was also found that by
2021 there would be an increase in greenhouse gas emissions. The unusual increase
was forecasted for China and India, while Bangkok would not be higher than expected,
and during the third quarter of 2021, China's greenhouse gas emissions would decline.ง
This was a result of industry disruption due to coal power shortages, which is consistent
with the results of the Bangkok study that the increase in greenhouse gas emissions
in 2021 would come mainly from the energy sector, including the industry sector.
3. The results of the study on the development of Bangkok as a smart city
on carbon credits consisted of 3 issues: 1. empowerment; 2. innovation; and 3. digital
transformation with the introduction of modern technology in the operation of the
control and monitoring greenhouse gas emissions into the Earth's atmosphere more
efficiently.